LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

ครูผู้ช่วยสอบได้จิ๊บๆ8.9%

  • 01 พ.ย. 2559 เวลา 23:15 น.
  • 30,471
ครูผู้ช่วยสอบได้จิ๊บๆ8.9%

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครูผู้ช่วยสอบได้จิ๊บๆ8.9%

สพฐ.ปวดหัวสั่งสาวลึกหาสาเหตุดูภูมิหลังผลการเรียนผู้สมัคร

สอบครูผู้ช่วยสอบได้เพียง 11,333 คน หรือเฉลี่ย 8.97% โดยสนาม ม.ขอนแก่นออกข้อสอบได้เพียง 1.9% เท่านั้น สพฐ.เร่งหาสาเหตุ พุ่งเป้าผู้เข้าสอบ สั่งตรวจภูมิหลัง อายุ ผลการเรียน หวังปรับปรุงข้อสอบครั้งต่อไป

นายพะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สพฐ. ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการวิเคราะห์ข้อสอบที่ใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ครั้งที่ 1/2559 ว่าจากจำนวนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวม 61 แห่งที่เปิดสอบในครั้งนี้ ผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 126,328 คน สอบได้ 11,333 คน คิดเป็นผู้สอบได้ร้อยละ 8.97 ข้อสอบที่ใช้สอบสามารถจำแนกคุณภาพผู้เข้าสอบได้หรือไม่ มีความยากง่ายของข้อสอบเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการออกข้อสอบคัดเลือกครู รวมถึงให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการผลิตบัณฑิตครูต่อไป

นายพะโยมกล่าวต่อว่า ข้อสอบที่ใช้ในการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1/2559 มี 56 กศจ./สศศ. ที่จ้าง 11 มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบ ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) ใช้สอบใน 43 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 93,567 คน สอบได้ 6,935 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี ใช้สอบใน 3 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 3,950 คน สอบได้ 1.048 คน คิดเป็นร้อยละ 26.53 3.มหาวิทยาลัยทักษิณ ใช้สอบใน 2 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 1,907 คน สอบได้ 177 คน คิดเป็นร้อยละ 9.28 4.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 143 คน สอบได้ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.10 5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 1,480 คน สอบได้ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 1.76 6.มรภ.เชียงราย ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 1,668 คน สอบได้ 160 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 7.มรภ.เพชรบูรณ์ ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 1,574 คน สอบได้ 49 คน คิดเป็นร้อยละ 3.11 8.มรภ.เลย ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 3,240 คน สอบได้ 164 คน คิดเป็นร้อยละ 5.06 9.มรภ.บุรีรัมย์ ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 6,868 คน สอบได้ 230 คน คิดเป็นร้อยละ 3.35 10.มรภ.ราชนครินทร์ ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 1,649 คน สอบได้ 110 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 11.มรภ.สกลนคร ใช้สอบใน 1 แห่ง มีผู้เข้าสอบ 674 คน สอบได้ 59 คน คิดเป็นร้อยละ 8.75 ทั้งนี้ สำหรับข้อสอบที่ กศจ.เป็นผู้ออกเองมีทั้งหมด 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ยะลา หนองคาย บึงกาฬ และศรีสะเกษ มีผู้เข้าสอบ 9,608 คน สอบได้ 2,372 คน คิดเป็นร้อยละ 24.69

"อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุที่มีผู้ทำข้อสอบผ่านได้น้อย ตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ว่ามีปัญหามาจากผู้ข้อสอบ ตัวข้อสอบ หรือการออกข้อสอบ ดังนั้น สพฐ.จึงมอบให้สำนักทดสอบทางการศึกษาและ สพฐ.ร่วมกันวิเคราะห์ข้อสอบเชิงลึก โดยขอข้อมูลไปยังผู้ออกข้อสอบ ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างข้อสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานวิชาการหรือไม่ สัดส่วนความยากง่ายของข้อสอบมีความเหมาะสมหรือไม่ และวิเคราะห์ไปถึงภูมิหลังของผู้เข้าสอบ ทั้งอายุ เพศ ระดับผลการเรียน และมหาวิทยาลัยที่จบออกมา ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร โดยจะวิเคราะห์ให้เร็วที่สุด เพื่อรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าทำไมนักศึกษาครูทำข้อสอบได้ลดลง" รองเลขาฯ กพฐ.กล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559
  • 01 พ.ย. 2559 เวลา 23:15 น.
  • 30,471

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^