LASTEST NEWS

07 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 ม.ค. 2568“ธนุ” เล็งให้ ผอ.โรงเรียน ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างแทนครู 07 ม.ค. 2568สารนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 07 ม.ค. 2568“ศธ.ย้ำ!”ระบบTRSยื่นขอย้ายเน้นเหตุผลไม่เน้นผลงานเริ่ม16ม.ค.นี้เป็นต้นไป การันตีว่ามีระบบ TRS ความยุติธรรม โปร่งใส แก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 100% 07 ม.ค. 2568สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รับสมัครคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน จำนวน 32 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2568 05 ม.ค. 2568โรงเรียนบ้านป่าเลา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 10 มกราคม 2568 05 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดลาดหวาย รับสมัครครูอัตราจ้าง จำนวน 2 อัตรา 05 ม.ค. 2568สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญสถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดสรรรางวัล "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม" ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 7-31 มกราคม 2568 04 ม.ค. 2568โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 13-19 ม.ค.2568

ตั้งกระทรวงใหม่ฯ ต้องรื้อทั้งระบบ!!

  • 24 ต.ค. 2559 เวลา 16:06 น.
  • 10,121
ตั้งกระทรวงใหม่ฯ ต้องรื้อทั้งระบบ!!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ตั้งกระทรวงใหม่ฯ ต้องรื้อทั้งระบบ!!

“กระทรวงใหม่แก้ปัญหาคุณภาพบัณฑิต และธรรมาภิบาลอุดมศึกษาไม่ได้ ถ้าไม่ทำทั้งระบบ” แนะรื้อทั้งระบบ ทำให้เสร็จในรัฐบาลยุค"บิ๊กตู่"

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย(ทปสท.) กล่าวถึง กรณี ที่พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ยังติดใจประเด็นหากแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ไปตั้งกระทรวงใหม่จะช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพบัณฑิต และปัญหาธรรมาภิบาลได้ดีขึ้นกว่าตอนอยู่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)หรือไม่นั้น ตนมีเห็นว่า หากเพียงแค่ปรับโครงสร้างโดยการแยกสกอ. ออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ คงไม่สามารถแก้ไขปัญหา 2 ประเด็นดังกล่าวและปัญหาอื่น ๆ ได้ เพราะแต่ละปัญหาและสาเหตุมีล้วนความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งโครงสร้าง และการดำเนินงานของสกอ. ที่ผ่านก็มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งสองประการ


          นับตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษาในปี 2542 และยุบทบวงมหาวิทยาลัยไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี 2546 อุดมศึกษาไทยกลับตกต่ำลงอย่างมากทั้งอันดับโลก และคุณภาพโดยรวม ปรากฎแต่ข่าวการบริหารที่ไม่โปร่งใส ปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาผู้บริหาร การทุจริตคอรัปชั่น การเปิดหลักสูตรที่มุ่งแต่เชิงธุรกิจเป็นหลัก ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ประเทศชาติ การบริหารงานที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง จนก่อให้เกิดวิกฤตกระจายไปทั่ว

          ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ และมหาวิทยาลัยในกำกับ(ม.นอกระบบ) รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชน แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะพยายามดำเนินการแก้ไขแต่ก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายต้องใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 เข้ามาแก้ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น เพราะการให้อำนาจคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ซึ่งกรรมการหลายคนมีส่วนพัวพันกับปัญหา เป็นทั้งผู้ก่อและผู้แก้ จากการที่หลายคนไปนั่งเป็นนายกสภาและกรรมการสภาสถาบัน

          ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของสกอ.เอง ก็มีปัญหาในการปฏิบัติงานที่ล่าช้า ไม่กล้าตัดสินใจตามอำนาจหน้าที่มี่มีอยู่ ซ้ำผู้บริหารในสกอ. ก็ไปนั่งเป็นกรรมการชุดต่าง ๆ ในสถาบันต่าง ๆ เมื่อมีปัญหาข้อร้องเรียนเกิดขึ้นในสถาบันที่ตัวเองไปนั่งอยู่ก็ไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างเที่ยงธรรม เพราะตัวเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ หลายปัญหาจึงไม่สามารถแก้ไขและแยกออกจากกันได้ระหว่างผู้ก่อให้เกิดปัญหากับผู้ทำหน้าที่แก้ปัญหา เพราะกลับกลายเป็นคนกลุ่มเดียวกัน

         ดังนั้น ลำพังแค่การแยกตัวออกไปตั้งกระทรวงใหม่โดยไม่ปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภายในของหน่วยงานต้นสังกัดสถาบันอุดมศึกษา และออกกฎหมายมาใช้กำกำกับควบคุมการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา และแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารงานบุคคลไปพร้อมกัน คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องคุณภาพบัณฑิต และธรรมาภิบาลอุดมศึกษาได้ ดังนั้น ควรดำเนินการพร้อมกันใน 3 ประเด็นดังนี้

         1. จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา พร้อมปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ของหน่วยงานต้นสังกัด ของสถาบันอุดมศึกษาใหม่ทั้งระบบ

          2. ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานและธรรมาภิบาลการอุดมศึกษา เพื่อใช้แก้ปัญหาและควบคุมคุณภาพการเปิดหลักสูตร ที่เป็นธุรกิจการศึกษา การบริหารแบบไร้ธรรมาภิบาล การทุจริต คอรัปชั่น การสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา ที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในสถาบัน

          3. แก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจาก “คุณภาพของอุดมศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพของอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ขึ้นอยู่กับความมั่นคงในอาชีพและเสรีภาพทางวิชาการ”

          ปัจจุบันบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษามี 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน คือข้าราชการและพนักงาน ดังนั้นโจทก์ใหญ่คือ จะทำอย่างไรถึงแก้ไขปัญหาคนสองกลุ่มนี้ไปพร้อม ๆ กันได้ซึ่งแนวทางที่สภาคณาจารย์และพนักงานส่วนใหญ่ต้องการคือ การแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ 2547 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2559 เป็นฉบับที่ 4 ซึ่งทำได้ง่ายกว่า เร็วกว่า ไม่กระทบกับข้าราชการ เป็นผลดีกับพนักงาน และการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา


          โดยมุ่งแก้ไขปัญหาโครงสร้างและบัญชีเงินเดือนข้าราชการ ลดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการครู กำหนดให้มีมาตรการให้สถาบันจ่ายเงินเดือนพนักงาน 1.5 และ 1.7 เท่าของข้าราชการ ให้เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี(ครม.( กำหนดระบบสัญญาจ้างและระบบประเมินพนักงานให้เป็นธรรม จัดสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และให้สามารถสมัครเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ได้เหมือนข้าราชการ

         อนึ่งร่าง พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารงานบุคคล ซึ่งอนุกรรมการฯ ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ ผลการสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ และการประชุมร่วมของที่ประชุมสภาคณาจารย์และพนักงานทั่วประเทศ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากในภาพรวมเป็นการบั่นทอนสิทธิและความมั่นคงของข้าราชการ แต่ก็ไม่ได้สร้างความมั่นคงและสวัสดิการให้กับพนักงานแต่อย่างใด แต่จะก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการ ดังนี้

          1. การยกเลิก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด จะเกิดผลกระทบกับการเบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารจากงบแผ่นดิน(รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีและรอง ผอ.และรอง) รวมทั้งทำให้สถาบันต้องออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับใหม่อีกเป็นจำนวนมาก

          2. ข้าราชการและพนักงานสายสนับสนุน รวมถึงลูกจ้างประจำ จะขาดความก้าวหน้าในวิชาชีพ เพราะร่างฉบับนี้ กำหนดไว้เพียงให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบัน ซึ่งหลายสถาบันมีปัญหาการดำเนินการเรื่องเส้นทางความก้าวหน้าอยู่ในขณะนี้

          3. การให้นายกสภาเป็นผู้บังคับบัญชาอธิการบดีจะก่อให้เกิดปัญหาธรรมาภิบาล เพราะไม่มีใครคานอำนาจนายกสภา เนื่องจากเป็นคนนอก ไม่สามารถเอาผิดทางวินัยได้ 4. การให้มีการจ้างพนักงานแบบไม่เต็มเวลา ไม่น่าจะมีผลดีกับสถาบันอุดมศึกษา ในเมื่อมาตรฐานหลักสูตรกำหนดไว้ว่า ถ้าจะจ้างอาจารย์เป็นศักยภาพของหลักสูตรบุคคลผู้นั้นต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มเวลาเท่านั้น

          5. การไม่กำหนดการออกจากงานของพนักงานด้วยการเกษียณอายุ 60 ปี นั่นคือไม่จำกัดอายุพนักงาน ก็จะก่อให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมายเหมือนกรณีผู้บริหารที่เกษียณอายุ ซึ่งกำลังมีปัญาการตีความในเรื่องสถานะอยู่ในตอนนี้ 6. การให้สภาสถาบันยกเลิกสัญญาจ้างพนักงานได้ตลอดเวลาโดยไม่ระบุเงื่อนไขไว้ เป็นเปิดทางให้สถาบันอุดมศึกษาเอาพนักออกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปิดช่องทางการต่อสู้ของพนักงาน

          7. การให้อาจารย์ รวมถึงครูสาธิต ต้องได้ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ภายในเวลาที่กำหนด อันนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่ฝ่ายบริหารจะเอาทั้งข้าราชการและพนักงานออก โดยการกลั่นแกล้งได้ด้วยการเจตนาถ่วงเวลาไม่ให้ได้ตำแหน่งทางวิชาการ ตามเวลาที่กฎหมายกำหนด

          เหนืออื่นใด สิ่งที่ทั้งข้าราชการและพนักงานเรียกร้อง ทั้งเรื่องความมั่นคงในอาชีพ เสรีภาพทางวิชาการ เงินเดือน สัญญาจ้าง สิทธิการรักษาพยาบาล ความมั่นคงหลังเกษียณ ฯลฯ ยังไม่ได้มีกำหนดไว้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมภายใต้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้

         ดังนัน จึงอยากเรียกร้องให้ "พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ"พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี  เร่งดำเนินการพร้อมกันใน 3 ประเด็นดังกล่าว ให้เสร็จสิ้นภายในรัฐบาลนี้

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559
  • 24 ต.ค. 2559 เวลา 16:06 น.
  • 10,121

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^