นร.เตรียมตัวรับระบบใหม่เข้ามหา’ลัย
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
นร.เตรียมตัวรับระบบใหม่เข้ามหา’ลัยพอเริ่มต้นเดือนกันยายน ข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาไทย คงไม่พ้นเรื่องที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้หารือถึงการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2561 ด้วยระบบรับตรงกลางร่วมกัน โดยใช้ข้อสอบกลาง ให้เด็กสอบเพียงครั้งเดียว คล้ายกับการเอนทรานซ์แต่รู้คะแนนก่อน จากนั้นให้นำคะแนนมายื่นในระบบเคลียริงเฮาส์ 2 ครั้ง เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบหลายแห่งและช่วยลดค่าใช้จ่ายของเด็ก ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ และมีมติร่วมกันว่า การรับนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2561 จะมีการปรับระบบการรับให้เหลือเพียง 3 ระบบ สรุปได้คือ1.การรับเด็กเข้าเรียนในระบบโควตา ที่แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถรับดำเนินการรับได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องไม่มีการสอบ เช่น โควตานักกีฬา โควตาเด็กโอลิมปิกวิชาการ เป็นต้น 2.ระบบเคลียริงเฮาส์ (Clearing House) ปีละ 2 ครั้ง คัดเลือกโดยใช้ ข้อสอบกลาง(ข้อสอบ GAT/PAT 9 วิชาสามัญ ) และจัดสอบเพียงครั้งเดียว ช่วง 2 เดือน คือ มีนาคม- เมษายนเมื่อมีการประกาศผลคะแนน ข้อสอบกลางแล้ว นักเรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ต้องการได้ ผ่านระบบเคลียริงเฮาส์ และ 3 ระบบรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการได้เอง เพื่อให้ได้เด็กตามที่ต้องการ แต่จะดำเนินการได้หลังการรับผ่านระบบเคลียริงเฮาส์แล้วซึ่งในส่วนของหลักเกณฑ์การคัดเลือกเด็กนั้นจะให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปกำหนดเอง
สำหรับระบบใหม่จะไม่มีการ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือแอดมิชชัน (Admissions) เนื่องจากไม่ต้องการให้เด็กสอบหลายครั้ง แต่ทั้งนี้คงต้องรอผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 กันยายนนี้ เพราะ ทปอ. จะเข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสรุปผลอีกครั้ง
ย้อนหลัง ไปหลายปีก่อนระบบ แอดมิชชั่น ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้แทนการสอบเอนทรานซ์ ซึ่งเป็นการสอบวัดผลครั้งเดียว จากนั้นได้ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมวิธีการเรื่อยมา แต่ปัญหาติดอยู่ตรงที่เด็กนักเรียนต้องวิ่งรอกสอบหลายครั้ง หลายวิชาเพื่อนำคะแนนที่ดีที่สุดมายื่นเข้าศึกษาต่อ ซึ่งในระบบแอดมิชชั่น ต้องสอบ 1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้น คือการวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐาน2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือ การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้านการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือการสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ เมื่อสอบเสร็จแล้วก็นำคะแนนที่ได้มา ไปยื่นเลือกคณะ รวมกับเกรดเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมปลาย (GPAX)
การปรับระบบใหม่ ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีความซับซ้อนมากนัก และดูเหมือนวิธีการจะง่ายขึ้น ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนต้องปรับตัวกันอีกรอบ แต่ก็คงจะไม่หนักหนาสาหัสกับการทำความเข้าใจ ซึ่งขณะนี้ทุกคนก็คงต้องเตรียมความพร้อมให้เร็วที่สุด
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันเสาร์ ที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2559, 13.55 น.