LASTEST NEWS

29 ธ.ค. 2567สพป.นราธิวาส เขต 1 เปิดสอบพนักงานราชการครู จำนวน 3 อัตรา วุฒิปริญญาตรี 18,000.-บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 13 - 17 มกราคม 2568 29 ธ.ค. 2567โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอบพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ - 3 มกราคม 2568  (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  29 ธ.ค. 2567สพม.สระบุรี เปิดสอบพนักงานราชการครู และพนักงานราชการนักวิชาการเงินและบัญชี จำนวน 2 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 6-10 มกราคม 2568 27 ธ.ค. 2567คำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 “ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 27 ธ.ค. 2567สพป.ระยอง เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 18 อัตรา - รายงานตัว 6 มกราคม 2568 27 ธ.ค. 2567สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงาน 7 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 - 22,840 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ม.ค.2568 26 ธ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัคร สอบ ก.พ. ภาค ก e-Exam ประจำปี 2568 จำนวน 181,170 ที่นั่งสอบ เปิดระบบรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป - 28 มกราคม 2568 26 ธ.ค. 2567ก.ค.ศ.อนุมัติเลื่อนวิทยฐานะ "เชี่ยวชาญ" ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 8 ราย 26 ธ.ค. 2567สพม.ฉะเชิงเทรา ให้เขตอื่นขอใช้บัญชีฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 24 อัตรา เช็กรายละเอียดที่นี่ 25 ธ.ค. 2567ประกาศ สพฐ. เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 และมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (ครั้งที่ 2) เพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (ส่วนกลาง)

ปรับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

  • 26 ส.ค. 2559 เวลา 09:51 น.
  • 6,749
ปรับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 348/2559
ศธ.เตรียมปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561  เป็น "ระบบสอบกลาง"


ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมหารือกับผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รวมทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุม MOC




ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมในครั้งนี้ว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากระบบการสอบคัดเลือกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบและมีการสอบหลายครั้ง ทำให้เด็กต้องวิ่งรอกสอบและเป็นภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จึงได้หารือครั้งนี้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าเดิม ภายใต้หลักการการสร้างความเท่าเทียมให้กับเด็กทุกคนไม่ว่ารวยหรือจน การสอบต้องไม่เป็นภาระกับเด็กและผู้ปกครองมากเกินไป รวมทั้งเด็กจะต้องเรียนชั้น ม.6 ครบตามหลักสูตร ในขณะเดียวกันสถาบันอุดมศึกษาก็ต้องได้ผู้เรียนที่ตรงกับความต้องการและความถนัด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการย้ายคณะได้

หลักการดังกล่าว สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาระบบการสอบคัดเลือกของ ทปอ.ที่ผ่านมา และสอดคล้องกับข้อเสนอเชิงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ได้จากการเสวนาสภาการศึกษาเสวนา OEC Forum เรื่อง ระบบการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กล่าวคือเสนอให้มีระบบการคัดเลือกที่ต้องเอื้อให้นักเรียนได้ใช้เวลาในห้องเรียนครบตามหลักสูตร ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาต้องนำผลการสอบของส่วนกลาง เช่น GAT/PAT, วิชาสามัญ, O-NET, GPAX มาใช้ในระบบคัดเลือกทุกระบบ ทั้งระบบกลาง (Admission) ระบบรับตรง และระบบโควตา โดยสถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องจัดสอบเอง เพื่อลดการวิ่งรอกสอบ ส่วนสถาบันใดต้องการรับตรง ก็จะต้องรับแบบมีเงื่อนไข เช่น การรับเด็กในพื้นที่/เด็กดีเด่นพิเศษ เป็นต้น

ดังนั้น ภายหลังได้มีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการวิ่งรอกสอบและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า จะต้องปรับระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2561 ซึ่งระบบใหม่นี้จะเป็น “ระบบสอบกลาง” ที่จะจัดให้มีช่วงเวลาของการสอบเพื่อนำคะแนนสอบไปใช้เข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งการทดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test : GAT) การทดสอบวิชาการทางวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test : PAT) และการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา โดยจะจัดสอบช่วงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นเวลาที่นักเรียนเรียนจบชั้น ม.6 แล้ว โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ - 2 เดือน ทั้งนี้จะไม่ให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกช่วงเวลานี้ เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของเด็ก

 ระบบสอบกลางนี้ อาจมีรูปแบบคล้ายการสอบ Entrance แต่จะมีความแตกต่างตรงที่เด็กรู้คะแนนก่อน ทำให้ประมาณตนได้ว่าจะไปแข่งกับใครหรือหลักสูตรใด ซึ่งสามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ต้องการได้ 4 อันดับ ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็จะประกาศกติกาการรับนักเรียน ตลอดจนจำนวนที่นั่งในแต่ละหลักสูตรเพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจ โดยจะส่งข้อมูลนี้ยืนยันไว้กับ สกอ. เพื่อช่วยลดปัญหาการรับเด็กเกินจำนวนได้อีกทางหนึ่ง

จากนั้นมหาวิทยาลัยจะเลือกเด็กตามลำดับคะแนนและกติกาที่แจ้งไว้ พร้อมส่งข้อมูลกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ (Clearing House) ซึ่งจะมีอย่างน้อยสองรอบ กล่าวคือ รอบแรก เมื่อเด็กยื่นคะแนนสอบไปที่มหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยก็จะส่งชื่อเด็กที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ และแจ้งให้เด็กทราบว่าสอบคัดเลือกได้กี่แห่ง พร้อมให้เลือกว่าจะเรียนตามลำดับหรือไม่ หากเด็กเลือกที่จะเรียน รายชื่อจะถูกตัดออกจากระบบเคลียริงเฮาส์รอบสองทันที แต่หากยังไม่เลือกเรียนที่ใด ก็สามารถยื่นคะแนนสอบเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ในรอบสองได้

หลังจากนี้ ทปอ.จะรวบรวมแนวคิดจากการหารือครั้งนี้ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบสอบกลางให้สามารถใช้งานได้จริง จากนั้นจะหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันด้วย โดยระบบสอบกลางใหม่นี้จะมีการสอบรอบเดียว และมีระบบเคลียริงเฮาส์อย่างน้อยสองรอบ จะยังคงโอกาสในการเข้าศึกษาต่อของเด็กไว้ และคาดว่าจะรับเด็กเข้าเรียนได้ถึง 90% ส่วนเด็กที่เหลืออีก 10% สามารถสมัครเรียนโดยตรงกับมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่นั่งว่างได้โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ ในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องมี Admission อีกต่อไป และในขณะเดียวกันเมื่อใช้ระบบใหม่แล้ว จะไม่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเปิดรับตรงเองอีก ทุกการทดสอบต้องอยู่ในห้วงเวลาที่กำหนด แต่หากมหาวิทยาลัยใดมีความจำเป็นต้องเปิดรับตรง ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อรัฐมนตรี


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เว็บไซต์กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 25 สิงหาคม 2559
  • 26 ส.ค. 2559 เวลา 09:51 น.
  • 6,749

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^