LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567

เทคนิคการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบแข่งขัน ตอนที่ 1

  • 13 ส.ค. 2559 เวลา 09:05 น.
  • 129,977
เทคนิคการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบแข่งขัน ตอนที่ 1

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เทคนิคการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบแข่งขัน ตอนที่ 1

ท่านได้หยิบหนังสือมาอ่านเพื่อเตรียมสอบ(ครูผู้ช่วย) หรือยัง? หากยัง !! เริ่มได้เลย เริ่มแต่เดี๋ยวนี้ เริ่มได้เลยครับ
 
เสียงระฆังแห่งการสอบประจำปีนี้ เริ่มขึ้นแล้ว สนามใหญ่เป็นการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ครั้งที่ 1/2559 ซึ่งเข้าใจง่าย ๆ คือ “การสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ.” กำหนดวันเวลารับสมัครสอบวันที่ 15-21 ส.ค.59 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแข่งขัน วันที่ 1 ก.ย.59 สอบข้อเขียนภาค ก วันที่ 17 ก.ย.59 สอบภาค ข วันที่ 18 ก.ย.59 สอบสัมภาษณ์ ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ วันที่ 19 ก.ย.59 และประกาศผลสอบ วันที่ 29 ก.ย. 59 นี้
 
สัญญาณการสอบตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค(2) ตามมาติด ๆ  ซึ่งน่าจะภายในปลายปีนี้ ดังจะเห็นได้จาก ที่ประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา สพฐ. และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สิ่งที่ช่วยยืนยัน คือ การที่ สพฐ. แจ้งสำรวจตำแหน่งว่างของข้าราชการครูฯทั้งสองกลุ่ม ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายันยันไป
 
จึงเชื่อแน่ว่า ปีนี้จะเป็นปีแห่งการสอบอีกปีหนึ่ง สำหรับตำแหน่งสอบ  “ครูผู้ช่วย สพฐ.” นั้น น่าจะมีความเข็มข้นมากกว่าทุกปี เพราะนอกจากผู้สมัครสอบจะมีจำนวนมากสะสมแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงกติกาบางประการ เช่น ให้ กศจ.เป็นผู้ดำเนินการสอบ และกำหนดให้ขึ้นบัญชีแค่หนึ่งปี  ดังนั้น ผู้เข้าสอบต้องสอบให้ได้ลำดับต้น ๆ จึงจะมีโอกาสได้รับบรรจุแต่งตั้งเป็น “ครูผู้ช่วย”   !! มาถึงเวลานี้ ท่านพร้อมหรือยัง
 
ข้อเขียน “เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบแข่งขัน” เป็นข้อเขียนเก่า ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน แต่เนื้อหาสาระยังมีประโยชน์ จึงนำมาเล่าใหม่ โดยปรับปรุงบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะกับการณ์ แต่สาระในประเด็นหลัก ๆ คงคงอยู่  !!  ลองติดตามดู
 
เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมสำหรับการสอบแข่งขัน?
การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือก เป็นวิธีการสรรหาบุคคลเข้าทำงานทั้งในภาคเอกชนและภาคราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคราชการ มีระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการด้วยระบบคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
 
การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เป็นวิธีการที่ส่วนราชการใช้สรรหาบุคคลทั่วไปเข้ารับราชการ หลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานนั้นๆ กำหนด เช่น การสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็น “ครูผู้ช่วย สพฐ.”กระทรวงศึกษาธิการ   ก.ค.ศ.ได้กำหนดให้มีสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ โดยหลักสูตรสอบข้อเขียนประกอบด้วย ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยการสอบสัมภาษณ์ โดยในแต่ละภาคได้กำหนดเนื้อหาเป็นหัวข้อที่จะวัดเอาไว้ เกณฑ์การผ่านและรายละเอียดอื่นๆ หรือการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการของ ก.พ. หรือส่วนราชการอื่นก็ทำนองเดียวกัน  ทั้งนี้ เป้าหมายของการสอบแข่งขัน ก็เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดี เข้ามาทำงานราชการ นั่นเอง
 
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสอบ นั่นคือ เป็นผู้ที่สามารถ “สอบได้หรือสอบผ่าน” มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ หรือผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ดังนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ
 
1. การจัดหาเอกสารหรือหนังสือสำหรับเตรียมสอบ
         หนังสือหรือเอกสารที่ใช้ในการอ่านเตรียมสอบเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะหากมีหนังสือ แต่เป็นหนังสือที่เก่า ล้าสมัย เนื้อหาไม่ตรงตามหลักสูตร ก็จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้อ่านแล้วเกิดความสับสน ส่งผลต่อการสอบอย่างแน่นอน วิธีการหาหนังสือ หรือ เอกสารเตรียมสอบ มีดังนี้
1) หนังสือหรือเอกสารมีเนื้อหาที่ตรงตามหลักสูตรสอบแข่งขันฯ
2) เป็นหนังสือที่ใหม่ มีเนื้อหาสาระใหม่ ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือ สาระในปัจจุบัน
3) ควรเลือกหนังสือทั้งที่เป็นนื้อหาโดยละเอียด เนื้อหาสรุปและหรือหนังสือที่เป็นแบบฝึก
4) ควรเลือกหนังสือหลายๆ เล่ม เจ้าของหรือผู้แต่งที่เชื่อถือได้
5) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรเลือกหนังสือประเภทนี้โดยเฉพาะ เช่น หนังสือความสามารถภาษาอังกฤษ หนังสือวัดความถนัดทางการเรียน หนังสือความสามารถทั่วไป หรือหนังสือประเภท Aptitude test ที่มีแบบฝึก หรือ ข้อสอบด้วย
6) ภาควิชาการศึกษา ควรเลือกหนังสือเฉพาะเรื่อง เช่น คุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานวิชาชีพ จิตวิทยาการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรและการสอน เป็นต้น ส่วนมากจะมีในห้องสมุดของสถาบันการศึกษา และหนังสือเตรียมสอบทั่วไปซึ่งส่วนมากจะเป็นเนื้อหาโดยสรุป
7) ภาคกฎหมายการศึกษหรือกฎหมายปฏิบัติราชการ หนังสือที่เหมาะ คือ หนังสือรวมกฎหมาย (ทุกวันนี้โหลดไฟล์กฎหมายทั้งฉบับจากอินเตอร์เน็ตได้) หนังสือเตรียมสอบโดยทั่วไปเพราะมีทั้งเนื้อหาโดยละเอียดและสรุปไว้แล้ว มีตัวอย่างแบบทดสอบให้ทำด้วย
8) ภาควิชาเฉพาะวุฒิหรือวิชาเอก ควรเลือกหนังสือ ตำราเรียน หนังสือสรุปเนื้อหา หรือหนังสือเตรียมสอบเข้าเรียนระดับชั้นต่างๆ ไม่ควรยึดหนังสือเตรียมสอบฯเป็นหลัก เพราะเนื้อหามีน้อย หรือข้อสอบที่นำมาเป็นตัวอย่างจะเป็นข้อสอบเก่าล้าสมัย
9) หนังสือรวมข้อสอบฯ หรือหนังสือที่มีตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นควรมีไว้เพื่อฝึกทักษะการทำข้อสอบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้
 
2. วิธีการอ่านหนังสืออย่างไรให้จำได้เร็ว ?
     มีเอกสารหรือหนังสือสำหรับใช้เตรียมสอบที่มีคุณภาพและจำนวนมาก จะไม่ก่อประโยชน์อะไรในการสอบเลย หากไม่อ่านหนังสือนั้น ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ คือ การอ่าน การเขียน การฟัง การพูดหรือการฝึกทำ เพราะคนเราจะจำหรือเข้าใจในเนื้อหาต้องใช้เรียนรู้หลายๆ วิธี เทคนิคการอ่านหนังสือ มีดังนี้
 
1) ศึกษาหลักสูตรการสอบแข่งขันฯ ให้เข้าใจและจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา หนังสือ และวิธีการศึกษา
2) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรศึกษาโดยวิธีฝึกทำข้อสอบ ดูเฉลยและทำความเข้าใจ เรื่องไหนที่ยาก ควรทำจุดสังเกตไว้ในหนังสือหรือบันทึกสรุปวิธีการหรือหลักการหาคำตอบไว้ในสมุดบันทึก เพื่อใช้ทบทวนในคราวต่อไป
3) วิชาการศึกษา วิชาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ของความเป็นครู มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และความรู้อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ วรศึกษาเป็นเรื่องๆ ตามกรอบหลักสูตรสอบฯ โดยใช้หนังสือหรือเอกสารหลายๆเล่มประกอบกัน (ไม่ควรอ่านหนังสือที่ละเล่มแต่ควรอ่านที่ละเรื่อง) ทำจุดสังเกต (เน้นความสำคัญ) ไว้ในหนังสือหรือสรุปเนื้อหาไว้ในสมุดบันทึก เพื่อใช้ทบทวนในคราวต่อไป
4) วิชากฎหมายการศึกษา ควรศึกษาเฉพาะกฎหมายที่ระบุในหลักสูตรฯ ในประเด็นสำคัญและเรื่องที่ใช้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ตน บันทึกเรื่องหรือประเด็นสำคัญเอาไว้ทบทวนในคราวต่อไป ควรฝึกทำข้อสอบจะทำให้จดจำได้ (แต่อย่าท่องข้อสอบ)
5) วิชาเอกหรือวิชาเฉพาะวุฒิ ควรศึกษาในสองลักษณะ คือ ลักษณะการจัดการเรียนการสอนวิชานั้นและเนื้อหาสาระของวิชานั้นๆ ในประเด็นสำคัญ สรุปและบันทึกสาระสำคัญเอาไว้ ฝึกทำข้อสอบวิชานั้นๆ
6) ควรวางแผนในการศึกษาหรืออ่านหนังสือทั้งในเรื่องสถานที่ เวลา เนื้อหาวิชาตามความถนัดและความสะดวกของตนเอง เช่น สถานที่เหมาะหากเป็นเวลากลางวัน ควรเป็นที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา เพราะเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ไม่ทำให้เสียสมาธิ มีหนังสือให้ค้นคว้า มีบริการอินเตอร์เน็ตหรือสื่ออย่างอื่น หาเวลาที่เหมาะสำหรับตนเองในการอ่านหนังสือ เช่น ควรจะเป็นตอนเช้าประมาณ 04.00 -06.00นาฬิกา เพราะเป็นเวลาที่สงบเงียบ สมองได้พักผ่อนมาแล้ว ความจดจำและความเข้าใจจะมีสูง การแบ่งเนื้อหาในการศึกษาก็เป็นเรื่องที่สำคัญและคนส่วนมากมักละเลยและให้ความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกินไป (อ่านเรื่องเดิมซ้ำๆ ทั้งที่ตนเข้าใจแล้ว) เรื่องยากข้ามไปผลัดไปอ่านตอนหลัง จนพบปัญหาว่าดูหนังสือไม่ทัน ไม่ครอบคลุมหลักสูตรฯ
7) นอกจากการศึกษาเอกสารแล้ว สื่อเอกสารอย่างอื่นก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การสอบถามหรือปรึกษากับครู อาจารย์ หรือผู้รู้ฯ การเข้ารับการอบรมสัมมนา (ติวสอบฯ) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอบเพราะจะได้รู้ความเคลื่อนไหว เทคนิควิธีการต่างๆ หรือ การศึกษาโดยสื่อวีดีทัศน์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ ไฟล์เสียงบรรยาย เป็นต้น
8) การติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เพราะเนื้อหาเหล่านี้จะกำหนดในหลักสูตรสอบฯ และออกข้อสอบทุกครั้ง เรื่องเหล่านี้จะไม่ค่อยมีในหนังสือ เพราะเป็นเรื่องเกิดขึ้นใหม่ เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน วิธีการศึกษาที่ดีที่สุด คือ ติดตามข่าวสารทางสื่อโทรทัศน์  สื่ออิเลคทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต  Facebook Line เป็นต้น
 
เชื่อว่า หากได้เตรียมการอย่างเป็นระบบทั้งเรื่องสื่อ เอกสาร และการอ่านหนังสือ เช่นที่กล่าวมานี้ ประกอบกับการมีวินัย ขยัน มานะ อดทน  มีจิตใจที่มุ่งมั่นจะทำให้เกิดองค์ความรู้ และทักษะ พร้อมสำหรับการสอบอย่างแน่นอน
 

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีความรู้ ทักษะแต่หากขาดการวางแผนการสอบ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำข้อสอบได้ ดังนั้น ผู้เข้าสอบจึงควรวางแผนการสอบให้ดี ตั้งแต่ก่อนเข้าห้องสอบ ระหว่างกำลังสอบ และหลังจากสอบเสร็จด้วย  ซึ่งเรื่องนี้ ขอให้ติดตาม จะกล่าวในตอนต่อไป
 
 
ด้วยความปรารถนาดี
Drborworn
 
ข้อมูลอ้างอิง
คู่มือเตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย (ฉบับพร้อมสอบ) คลิกโหลด
 
ข้อเขียนที่เกี่ยวกัน
เทคนิคการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบแข่งขัน 2
  • 13 ส.ค. 2559 เวลา 09:05 น.
  • 129,977

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^