LASTEST NEWS

27 ธ.ค. 2567คำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 “ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 27 ธ.ค. 2567สพป.ระยอง เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 18 อัตรา - รายงานตัว 6 มกราคม 2568 27 ธ.ค. 2567สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงาน 7 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 - 22,840 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ม.ค.2568 26 ธ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัคร สอบ ก.พ. ภาค ก e-Exam ประจำปี 2568 จำนวน 181,170 ที่นั่งสอบ เปิดระบบรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป - 28 มกราคม 2568 26 ธ.ค. 2567ก.ค.ศ.อนุมัติเลื่อนวิทยฐานะ "เชี่ยวชาญ" ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 8 ราย 26 ธ.ค. 2567สพม.ฉะเชิงเทรา ให้เขตอื่นขอใช้บัญชีฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 24 อัตรา เช็กรายละเอียดที่นี่ 25 ธ.ค. 2567ประกาศ สพฐ. เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 และมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (ครั้งที่ 2) เพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (ส่วนกลาง) 25 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 25 ธ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.เชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 10 อัตรา รายงานตัว 6 มกราคม 2568 25 ธ.ค. 2567โรงเรียนพรตพิทยพยัต เปิดสอบครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 27 ธันวาคม 2567

คุณครูมาเตรียมตัวประเมินการคงอยู่วิทยฐานะกันเถอะ

  • 09 ก.ค. 2559 เวลา 12:45 น.
  • 41,583
คุณครูมาเตรียมตัวประเมินการคงอยู่วิทยฐานะกันเถอะ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คุณครูมาเตรียมตัวประเมินการคงอยู่วิทยฐานะกันเถอะ

การประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


วันก่อนมีข่าวผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีประเด็นสำคัญคือจะมีการปรับปรุงระบบการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ประเมินเพื่อมีและเลื่อน) ที่ใช้อยู่ และจัดทำเกณฑ์การประเมินเพื่อคงรักษาไว้ซึ่งเงินวิทยฐานะฯ โดยประธาน ก.ค.ศ.ให้หลักการว่าจะประเมินอะไรครูให้ฟังครูผู้รับการประเมินด้วย และให้เป็นไปเพื่อตอบโจทย์คุณภาพการศึกษา และตอบข้อกังขาของชาวบ้านว่า เมื่อครูรับเงินวิทยฐานะไปแล้ว จะไม่ละทิ้งห้องเรียน คุณภาพผู้เรียนจะไม่ลดลง ทำระบบการประเมินและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และวางเป้าหมายจะเริ่มใช้ในปี 2560 ซึ่งก็ย้ำว่าไม่มีการยกเลิกเงินวิทยฐานะแต่อย่างใด

 

การประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ปัจจุบันให้ครูสามารถเลือกทำได้สองหลักเกณฑ์ คือ หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ(ตาม ว.17/2552) เรียกย่อว่า “หลักเกณฑ์ทำผลงานทางวิชาการ”  และหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญทุกตำแหน่ง (ตาม ว13/2556) เรียกตามที่เข้าใจว่า “เกณฑ์ผลงานเชิงประจักษ์” ส่วนเกณฑ์ที่คลอดใหม่ล่าสุดแต่แท้งไปแล้วคือ หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือ เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (ตาม ว.7/2558) เรียกย่อว่า “เกณฑ์ข้อตกลงพัฒนางาน”

 

ส่วนการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง หรือ “การประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ” ตามมาตรา 55 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น สำนักงานก.ค.ศ. เคยยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินฯไว้แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อยังไม่เคยออกหลักเกณฑ์ จึงยังไม่เคยมีการประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ แต่อย่างไร

 

ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ในฐานะที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ ก.ค.ศ. จึงมีหน้าที่ไปจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฯ ทั้งการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ และหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะฯ ให้เสร็จแล้วทำประชาพิจารณ์ และนำเสนอ ก.ค.ศ.เพื่อพิจารณาเห็นชอบประกาศใช้ให้ทันตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ต่อไป

 

การคงไว้ซึ่งวิทยฐานะหมายถึงอะไร?

หากพิจารณาตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ในมาตรา 55 กำหนดให้มีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง ดังนั้น “การประเมินซึ่งคงไว้วิทยฐานะ” จึงเป็นรูปแบบการประเมินที่จะต้องสะท้อนความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญ ของข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่งหรือวิทยฐานะนั้น ๆ โดยประเมินเป็นระยะๆ อาจประเมินทุก 3 ปี 5 ปี หรือ 1 ปี ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดทำขึ้นและ ก.ค.ศ. เห็นชอบนั้นเอง

 

หากผลการประเมินการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะไม่ผ่านจะมีผลอย่างไร?

       ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ในมาตรา 55 วรรคสอง กำหนดว่า กรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้ดำเนินการตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

       1) ให้มีการพัฒนาข้าราชการผู้นั้น ให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เพื่อให้สามารถผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ เช่น เข้ารับการอบรมพัฒนาตามหลักสูตรที่กำหนด หรือพัฒนางานในหน้าที่ตามข้อตกลงกับผู้บังคับบัญชา หรือ อบรมออนไลน์ แล้วประเมินด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง 

       2) ให้ดำเนินการในมาตรการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 73 เช่น ไม่ให้เลื่อนเงินเดือนเพราะผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นต้น หรือ งดเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินวิทยฐานะ แล้วแต่กรณี

          กรณี “การงดเงินวิทยฐานะ” ไม่ใช่ “การลดวิทยฐานะ”หรือ “การงดหรือยกเลิกวิทยฐานะ” แต่อย่างไร วิทยฐานะนั้น ๆ ของครูยังคงอยู่ เพียงแต่ให้งดเฉพาะการจ่ายเงินวิทยฐานะเป็นการชั่วคราว เท่านั้น เมื่อมีการปรับปรุง พัฒนาและผ่านการประเมิน เมื่อนั้นสิทธิ์การได้เงินวิทยฐานะก็คืนมา ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดและต้องมีความเหมาะสมด้วย

         หากถูกคำสั่งให้ ”งดเงินวิทยฐานะ” ก็แปลว่าทางการไม่จ่ายเงินวิทยฐานะให้ เช่น ครูชำนาญการก็จะไม่ได้รับ 3,500 บาทต่อเดือน ครูชำนาญการพิเศษก็จะไม่ได้ 5,600 บาทต่อเดือน (และงดจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนอีก 5,600 บาทด้วย) ครูเชี่ยวชาญก็จะไม่ได้ 9,900 บาทต่อเดือน (และงดจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนอีก 9,900 บาทด้วย) และครูเชี่ยวชาญพิเศษก็จะไม่ได้ 15,600 บาทต่อเดือน (และงดจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนอีก 15,600 บาทด้วย)

        3) ในกรณีที่ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับที่กำหนด ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา 110 (6) ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนการ มีการสืบสวนสอบสวน ผ่านการพิจารณาวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการแล้วจึงนำไปสู่การออกคำสั่งให้ออกจากราชการต่อไป โดยการออกจากราชการดังกล่าวยังคงสิทธิ์เงินบำเหน็จบำนาญเสมือนการลาออกจากราชการ

 

จะเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะอย่างไร?

ตามที่กล่าวในเบื้องต้น การประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ เป็นการประเมินเพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือ ความเชี่ยวชาญในตำแหน่งวิทยฐานะนั้น ๆ หากพิจารณาเทียบเคียงกับการได้มาซึ่งมีหรือเลื่อนวิทยฐานะมีการประเมินในส่วนใด การประเมินเพื่อคงอยู่น่าจะทำนองเดียวกัน อย่างน้อยสองประเด็น ดังนี้

    1) ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติวิสัยที่ผู้เป็นครูต้องมีความประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่แล้ว ก็มุ่งทำความดี รักษาวินัย ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นครูควรจัดเตรียมสะสม จัดหาเอกสารหลักฐานด้านนี้เอาไว้ เช่น ภาพถ่ายกิจกรรม การเข้าวัดปฏิบัติธรรม การอบรมพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ชิ้นงานเกียรติบัตรหรือโล่ห์รางวัลในด้านนี้ เป็นต้น

    2) ด้านคุณภาพและผลการปฏิบัติงาน  ที่แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือ ความเชี่ยวชาญอยู่ ซึ่งเรียกว่า “มีสมรรถนะ” และ “มีผลงาน” เป็นคุณภาพงานและผลของการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้นหลักฐานเอกสารทั้งหมดทั้งมวลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ก็สามารถนำมาอ้างอิงด้านนี้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น แผนการสอน สื่อนวัตกรรมการการเรียนการสอน ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ผลงานนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผู้เรียน ภาพถ่าย เกียรติบัตร รางวัล โล่ห์ ได้ทั้งหมด คิดถึงตอนประเมินเพื่อมีเลื่อนวิทยฐานะมีอะไร ทำอะไร ก็น่าประมาณนั้น

 

   สรุปว่า การประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งเงินวิทยฐานะจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ตราบใดที่กฎหมายระเบียบข้าราชการครูฉบับนี้ยังบังคับใช้อยู่ และไม่ถูกแก้ไขในส่วนนี้ จะต้องมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์วิธีการ และจะมีการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งทุกวิทยฐานะอย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากครูผู้มีวิทยฐานะได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นปกติวิสัย มุ่งมั่นในการพัฒนางานทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล รวมถึงได้จัดระบบงาน เก็บชิ้นงาน หลักฐานเอกสารไว้อย่างครอบคลุมเป็นปัจจุบันแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่จะวิตกกังวลแต่อย่างไร และเชื่อว่าคุณครูทั้งหลายคุ้นเคยและสามารถปรับตัวเข้ากับระบบการประเมิน ตัวชี้วัดการประเมินได้อยู่แล้ว

 
Dr.borworn

 
แหล่งข้อมูล

พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พรบ.เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งและเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนเท่าเงินวิทยฐานะ

ระเบียบกระทรวงการคลัง เรื่อง  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเหนือเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2547 และ   แก้ไขเพิ่มเติม

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: drborworn.com 
  • 09 ก.ค. 2559 เวลา 12:45 น.
  • 41,583

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^