LASTEST NEWS

23 ธ.ค. 2567ข่าวดี! โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เพชรบูรณ์ ประกาศหยุดพิเศษ 2-3 ม.ค. 68 เปิดโอกาสใช้เวลาอบอุ่นกับครอบครัวช่วงปีใหม่ ยาว ๆ 9 วันเต็ม 23 ธ.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 23 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านหนองบัว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 ธันวาคม 2567 21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567

จะขึ้นค่าแรง...แน่ใจแล้วหรือ

  • 28 เม.ย. 2559 เวลา 19:19 น.
  • 12,474
จะขึ้นค่าแรง...แน่ใจแล้วหรือ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จะขึ้นค่าแรง...แน่ใจแล้วหรือ

โดย  กิติชัย เตชะงามเลิศ  นักลงทุนหุ้นและอสังหาริมทรัพย์

เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวหนึ่งที่ผมไม่อาจไม่หยิบขึ่นมาพูดคุยได้ นั่นก็คือข่าวที่ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เสนอให้รัฐบาล และคณะกรรมการไตรภาคี พิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตรา 5-7% หรืออยู่ที่ อัตรา 315-320 บาท/วัน โดยอ้างว่าไม่ได้ปรับขึ้นค่าแรงมา 3 ปีแล้ว หลังจากนโยบายรัฐบาลชุดที่แล้วปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ซึ่งเป็นนโยบายประชานิยมโดยหวังที่จะให้ประชาชนเลือกพรรคของตนเข้ามาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ครองเสียงข้างมากในสภา

การขึ้นค่าแรงในแต่ละครั้ง จะส่งผลกระทบในวงกว้างกับทั้งทางฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้าง  เรามาดูผลกระทบฝ่ายนายจ้างกันก่อน การขึ้นค่าแรงทำให้ต้นทุนในการผลิต และจำหน่ายสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น ปัจจุบันโลกใบนี้เป็นโลกแห่งโลกานุวัตร เราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก  การผลิตสินค้า และบริการต่างๆมีอยู่ในทุกๆประเทศยิ่งการผงาดขึ้นมาของประเทศจีน ที่มีฐานประชากรมากว่าพันล้านคน ยิ่งได้เปรียบในการผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าคนอื่น จากฐานการผลิตที่ใหญ่กว่า การขึ้นค่าแรงจะทำให้ความ

สามารถในการแข่งขันของสินค้า และบริการของไทยลดลง  โดยผู้ซื้ออาจจะเลือกที่จะซื้อกับประเทศอื่นที่มีราคาถูกกว่าในระดับคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน

โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SME ซึ่งมีโครงสร้างต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และเงินเดือน คิดเป็น 16-18% ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ดังนั้นค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ่นทุกๆ 1% จะสงผลให้ต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มขึ่น0.16-0.18% ถ้าเพิ่มขึ้น 5-7% นั่นก็หมายความว่า เป็นการเพิ่มต้นทุนแรงงานให้ธุรกิจ SME ถึง 0.80-1.26% ในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคือง ค้าขายไม่ดีอย่างในปัจจุบันนี้ ก็ยิ่งแต่พลอยจะทำให้การค้าซบเซามากขึ้น ยิ่งกว่านั้นเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN ซึ่งปัจจุบันเป็นประชาคม AEC แล้ว รวมทั้งประเทศที่มี TRADE AGREEMENT ต่างๆ เข้ามาเจาะตลาดในเมืองไทยได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ SME ของไทยอ่อนแอ หรือล้มหายตายจากไป รวมทั้งธุรกิจใหญ่ก็จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงด้วยเช่นกัน สังเกตไหมครับ มีหลายธุรกิจทั้งที่เป็นธุรกิจของไทยเอง และธุรกิจจากต่างประเทศที่เคยประกอบธุรกิจในไทย แล้วย้ายโรงงานไปตั้งที่ประเทศอื่น ที่เห็นได้ชัดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็คือ SAMSUNG และ LG  ที่ย้ายฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทยไปที่เวียดนาม สมัยก่อนผมจะเห็นคนเอเชียใต้หอบ TV จากบ้านเรากลับไปประเทศเขาที่สนามบินบ้านเราบ่อยๆ แต่ภาพเหล่านี้ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว การขึ้นค่าแรงก็คงเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจย้ายฐานการผลิต

ส่วนผลกระทบทางฝ่ายลูกจ้าง ก็คือจะได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ประโยชน์ดังกล่าวจะเห็นแต่ในรูปตัวเงิน แต่อำนาจซื้อที่แท้จริงไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะว่าราคาสินค้า และบริการก็ล้วนพาเหรดขึ้นราคารอรับอัตราค่าแรงใหม่ทันทีเพราะต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ดังนั้นฝ่ายลูกจ้างจะไม้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงเลย มิฉะนั้นการขึ้นค่าแรงขึ้นมา 300 บาทเมื่อคราวที่แล้ว ทำไมคนส่วนใหญ่ยังบ่นว่ารายได้ไม่พอใช้ จนเป็นหนี้เป็นสินทั้งในระบบและนอกระบบกันมากมาย จนภาวะหนี้ครัวเรือน/GDP ของเราขึ้นไปอยู่ที่มากกว่า80% ชิงอันดับ 1 อันดับ 2 ของASEAN กับมาเลเซียอยู่ในปัจจุบันนี้

ผมจำได้ว่ามีเจ้าสัวท่านหนึ่ง เป็นผู้กล่าวถึง “ทฤษฎี 2 สูง” โดยสูงแรกคือสินค้าเกษตร ต้องปล่อยให้ราคาสูง ส่วนสูงที่สองคือ เงินเดือนหรือค่าแรงต้องให้สูงขึ้น เพื่อให้มีเงินจับจ่ายซื้อของ ฟังดูเหมือนน่าจะดี แต่แล้วเป็นไงก็อย่างที่เห็นๆกันในปัจจุบัน ราคาสินค้าเกษตร เราจะกำหนดราคาเองไม่ได้คงต้องขึ้นกับราคาตลาดโลก มิฉะนั้นรัฐบาลคงต่องใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อมาอุดหนุนอย่างเช่น นโยบายประกันหรือจำนำราคาข้าวที่ผ่านๆมา ล้วนแล้วแต่สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างมาก จนกลายเป็นคดีความกัน แทนที่จะนำงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไปพัฒนาประเทศในด้านสาธารณูปโภคต่างๆ

ส่วนการขึ้นค่าแรง ผลกระทบที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือการถดถอยของยอดส่งออก ซึ่งมียอดที่ต่ำลงมาหลายปีแล้ว หรือเราอยากทำให้เศรษฐกิจไทยโตต่ำลงแบบถาวรกลายเป็น New Normal ของไทยก็เชิญตามสบายครับ

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 09:57 น.
  • 28 เม.ย. 2559 เวลา 19:19 น.
  • 12,474

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^