LASTEST NEWS

23 ธ.ค. 2567ข่าวดี! โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เพชรบูรณ์ ประกาศหยุดพิเศษ 2-3 ม.ค. 68 เปิดโอกาสใช้เวลาอบอุ่นกับครอบครัวช่วงปีใหม่ ยาว ๆ 9 วันเต็ม 23 ธ.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 23 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านหนองบัว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 ธันวาคม 2567 21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567

ศธ.-มท. Video Conference กับผู้ว่าราชการจังหวัด ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา

  • 05 เม.ย. 2559 เวลา 11:19 น.
  • 2,544
ศธ.-มท. Video Conference กับผู้ว่าราชการจังหวัด ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 152/2559
ศธ.-มท. Video Conference กับผู้ว่าราชการจังหวัด
ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา


มหาดไทย - พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านระบบ Video Conference เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุม 1 โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 1-18 ผู้บริหารองค์กรหลัก และผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุม
 


รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อต้องการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามคำสั่งของ คสช. โดยมีประเด็นเร่งด่วนที่ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการคือ การเร่งให้เกิด กศจ. เพื่อให้มีคณะกรรมการครบองค์ประกอบในการพิจารณาเรื่องเร่งด่วนให้เสร็จภายในเดือนเมษายนนี้

จึงได้ขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ดังนี้

- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ กศจ.  ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
     1) การบริหารการศึกษา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะช่วยให้เกิดการประสานงานและบูรณาการการศึกษาในทุกแท่งในจังหวัด ตลอดจนช่วยกำกับ ดูแลการขับเคลื่อนนโยบายในพื้นที่ และเสนอแนะปัญหาในพื้นที่ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนทราบได้ด้วย
     2) การบริหารงานบุคคล ซึ่งจะดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเดิม คือเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง เรื่องวินัย และเรื่องความดีความชอบ ยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งทุกอย่างมีกฎกติกาอยู่แล้ว

- คัดเลือกผู้แทน 3 ส่วนเป็นกรรมการ  ซึ่งได้กำหนดให้มีคณะกรรมการ กศจ.ที่มาจากการคัดสรรของผู้ว่าราชการจังหวัดจำนวน 7 ราย จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือกผู้แทนจากบัญชีรายชื่อที่กระทรวงศึกษาธิการจัดส่งให้ เพื่อเป็นคณะกรรมการดำเนินงานเป็นการชั่วคราวในช่วง 3 เดือนแรก โดยกรรมการสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 จังหวัดต่อคน ประกอบด้วย
      1) ผู้แทนภาคประชาชน จำนวน 2 ราย โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเลือกผู้แทนประชาชนจากบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีอยู่แล้วจังหวัดละ 4 ราย แต่ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งไปแล้ว เพื่อให้กลับมาเป็นคณะกรรมการนี้
     1) ผู้แทนข้าราชการครู จำนวน 2 ราย ซึ่งได้มอบเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรวบรวมรายชื่อครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม อาทิ จะต้องเป็นครูสายผู้สอนและปฏิบัติการสอนในจังหวัดนั้นอย่างต่ำเป็นเวลา 10 ปี, ต้องเป็นครูที่มีประวัติที่ดีและเป็นที่ยอมรับ
     3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ให้เลือกจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ จำนวน 475 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่งให้

- 5 ภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการภายในเดือนเมษายนนี้
     1) การประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ก่อนเปิดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 1 ปี (ลงนามในประกาศภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2559)
     2) คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
     3) การย้ายครู  ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบรายชื่อย้ายที่เป็นมติคณะอนุกรรมการกลั่นกรองชุดเดิมไปก่อน ที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของ กศจ. ทั้งนี้เพื่อต้องการเร่งดำเนินการให้ทันเวลา เป็นขวัญกำลังใจแก่ครู และไม่ให้ครูเสียสิทธิ์จากคำสั่งของ คสช.ในครั้งนี้ จากนั้นในเดือนตุลาคมนี้ เมื่อเกิดคณะอนุกรรมการกลั่นกรองของ กศจ.แล้ว ก็จะสามารถดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเต็มรูปแบบได้ทันที
     4) การเรียกบรรจุจากบัญชีที่สอบขึ้นบัญชีไว้ ซึ่งจะต้องดำเนินการบรรจุครูในอัตราที่ว่างให้แล้วเสร็จภายในปลายเดือนเมษายนนี้ โดยได้มอบให้ สพฐ.ไปสำรวจบัญชีสอบทั้งหมดแล้ว ในเบื้องต้นส่วนใหญ่จะหมดอายุในช่วงปลายเมษายนถึงต้นพฤษภาคมนี้ จึงต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนหมดอายุ ในส่วนของโรงเรียนที่ยังขาดครูจำนวนมากนั้น เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่ กศจ.จะต้องลงไปดูแลและเร่งดำเนินการต่อไป
     5) การจัดสอบครูผู้ช่วย
 



- ประเด็นที่ต้องสร้างความเข้าใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา  ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยสื่อสารสร้างความเข้าใจให้กับข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับข้อมูลในประเด็นต่างๆ ที่ไม่เป็นความจริงในหลายเรื่อง ได้แก่ การเปลี่ยนตำแหน่งครูเป็นพนักงานราชการ, การโอนย้ายครูไปอยู่ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), ครูจะไม่มีเงินวิทยฐานะ, ครูไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะถูกยุบให้เหลือจังหวัดละเขต, การยกเลิกโครงการเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว (ช.พ.ค.) และโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกคุรุสภา (ช.พ.ส.) นอกจากนี้ยังมีหลายประเด็นที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง อาทิ ผู้บริหารโรงเรียนจะถูกประเมินโดยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ซึ่งในความเป็นจริงผู้อำนวยการโรงเรียนจะเป็นผู้ประเมินครู, การให้มีโรงเรียนเอกชนเกิดขึ้นในทุกตำบล ในเรื่องนี้จะให้เป็นไปตามความพร้อมของเอกชนซึ่งจะเป็นผู้ลงทุนด้านการศึกษาเอง เป็นต้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่าจากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ว่าราชการจังหวัดในครั้งนี้ มีความเชื่อว่าแนวทางการดำเนินงานของ กศจ. สอดคล้องกับการดำเนินงานและบูรณาการการทำงานในแต่ละจังหวัดอยู่แล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับการแต่งตั้ง กศจ. เพื่อขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่

ดังนั้นหากกระทรวงศึกษาธิการได้รับรายชื่อจาก กศจ.ในแต่ละจังหวัดครบถ้วนแล้ว ก็จะออกคำสั่งแต่งตั้ง กศจ. ทั้ง 76 จังหวัด ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อให้คณะกรรมการมีองค์ประกอบครบถ้วน สามารถประชุมคณะกรรมการได้ทันที




รมว.มหาดไทย กล่าวว่า การทำงานของกระทรวงมหาดไทยในฐานะที่เป็นแขนขาของรัฐบาลในครั้งนี้ คงมีความชัดเจนมากขึ้นที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการคือ เร่งจัดตั้ง กศจ.ขึ้นมาทำงาน เพราะ กศจ.จะมีตัวแทนภาครัฐ เอกชน และประชาชน จึงขอมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธาน กศจ.  หารือกับศึกษาธิการจังหวัด เพื่อดำเนินการคัดเลือกและส่งรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการใน กศจ.ทั้ง 7 ราย ภายในวันที่ 5 เมษายนนี้

นอกจากนี้ ได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขับเคลื่อนงานตามกรอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ซึ่งมีจุดเน้นยุทธศาสตร์ 6 ด้านที่ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างดีแล้ว ได้แก่ ครู, หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้, พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้, การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา, ICT เพื่อการศึกษา และการบริหารจัดการ ตลอดจนให้กำกับดูแลการขับเคลื่อนโครงการตามยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาเร่งด่วน 4 เรื่องให้มีความก้าวหน้า ได้แก่ คืนครูสู่ห้องเรียน, โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (โครงการคุรุทายาท), ยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ, การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ทั้งนี้สามารถเสนอแนะโครงการต่างๆ ที่จำเป็นสำคัญต่อการพัฒนาตามบริบทแต่ละพื้นที่ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ พิจารณาได้
 


ภายหลังการประชุมชี้แจง ได้เปิดโอกาสให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซักถามและเสนอแนะในประเด็นต่างๆ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ อาทิ ยโสธร นนทบุรี มหาสารคาม ภูเก็ต พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม ยะลา อุดรธานี น่าน เชียงใหม่ ได้ซักถามและมีข้อเสนอแนะที่สำคัญโดยสรุปดังนี้


>> การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้  ขอให้เลือกจากบัญชีรายชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่กระทรวงศึกษาธิการส่งไปให้ก่อน ซึ่งขณะนี้ได้รวบรวมผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ถึง 475 ราย โดยขอให้จังหวัดติดต่อทาบทามท่านเหล่านั้นเอง แต่หากไม่สามารถเลือกเองได้ ขอให้ส่งกลับมาให้ส่วนกลางแต่งตั้งแทนก็ได้ เพื่อให้การทำงานสามารถเดินหน้าไปได้ก่อนในช่วง 3 เดือนแรก


>> ต้องการให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฯ ระดับพื้นที่ (Area)  เพราะการศึกษาระดับอำเภอมีอยู่มากมาย ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นด้วยและรับที่จะไปพิจารณากฎกติกาเพื่อตั้งคณะอนุกรรมการฯ บริหารการศึกษา แต่ไม่เห็นด้วยหากเป็นคณะอนุกรรมการฯ ด้านการบริหารงานบุคคล

>> แนวทางการจัดระบบเชื่อมโยงโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งตัวชี้วัดที่จะใช้ในการประเมินผล โดย รมว.ศึกษาธิการได้ชี้แจงว่า การจัดระบบการศึกษาภายในจังหวัดอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กศจ.ที่จะสามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว ส่วนการประเมินผลนั้น กระทรวงศึกษาธิการจะจัดทำตัวชี้วัด (KPIs) ที่มีความชัดเจนและส่งให้ กศจ.รับทราบ หากต้องการจะเพิ่มเติมตัวใด ก็สามารถเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ พิจารณาได้

>> การนับองค์ประชุม  รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับนับองค์ประชุมว่า ขอให้นับจากคณะกรรมการที่มีอยู่จำนวน 22 คน ดังนั้นจะต้องมีผู้มาประชุมอย่างน้อย 12 คน จึงจะสามารถประชุมได้

>> ประเด็น กศจ.จะสามารถตั้งอนุกรรมการฯ กลั่นกรองการย้ายได้หรือไม่  โดยในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้ กระทรวงศึกษาธิการขอให้ใช้บัญชีผู้ที่ได้รับการโยกย้ายที่ผ่านการกลั่นกรองของคณะอนุกรรมการฯ เดิมไปก่อน เพื่อเร่งดำเนินการให้ย้ายได้เร็วขึ้น แต่หากมีข้อร้องเรียนใดๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้อำนาจของ กศจ.เพื่อเก็บเรื่องไว้ก่อนได้

>> การประกาศส่งเด็กเข้าเรียนและการส่งเด็กเข้าสถานศึกษาภาคบังคับ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม หมายความรวมถึงประกาศของจังหวัดที่เคยทำไว้แล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ยืนยันให้จังหวัดดำเนินการไปตามบัญชีเดิมที่ทำไว้แล้ว

>> ขอความมั่นใจจากกระทรวงศึกษาธิการที่จะเป็นตัวช่วยในการบริหารงานบุคคล เพราะเกรงว่าจะกระทบและมีการฟ้องร้องไปยังศาลปกครอง ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ตอบคำถามว่าในเรื่องของการบริหารงานบุคคล ก.ค.ศ.ได้กำหนดกฎกติกาไว้ให้แล้ว และได้จัดทำเป็นคู่มือการบริหารงานบุคคล พร้อมจัดส่งไฟล์ร่างให้ตรวจสอบก่อนแล้ว ต่อจากนี้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานบุคคล การสอบแข่งขัน การย้าย เตรียมไว้เสนอ กศจ. และจะมีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจก่อนประชุม กศจ.นัดแรกด้วย

>> ขอให้จังหวัดได้เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน เพื่อให้ตรงกับบริบทของจังหวัดนั้นๆ และเกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ระหว่างการกำหนดกติกาใหม่ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะมาจากจังหวัดแน่นอน แต่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้ (3 เดือนแรก) ขอให้ใช้บัญชีของที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนไปก่อน เพราะเชื่อว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการทำหน้าที่นี้

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 4 เมษายน 2559
  • 05 เม.ย. 2559 เวลา 11:19 น.
  • 2,544

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^