ทางเดิน ของระบบการผลิตครู
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ทางเดิน ของระบบการผลิตครูบทความโดย ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม.) ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.)
- ปี 2540 รู้ดีว่าประเทศวิกฤตทุกเรื่องโดยเฉพาะการศึกษา
- 2542 เริ่มปฏิรูป วิกฤตเกิดขึ้นในขณะที่การศึกษาอยู่ในมือของครูรุ่นเก่าพวกเราเองนี่แหล่ะ
- 2546 มี พรบ.สภาครูฯ
- คุรุสภาเริ่มควบคุมการผลิต ครู 5 รุ่นแรก แบบลองผิดลองถูก ผู้เรียนรุ่นแรก ๆ ปี 2547 -2551
- ปี 2549 คุรุสภา กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งแรก 9 มาตรฐาน ในขณะที่ผู้เรียนในสถาบันผลิต กำลังเรียนชั้นปีที่ 3 ทุกแห่งต้องปรับการเรียนการสอนตามมาตรฐาน เยียวกัน เรียกว่า ตัดตัวใหัพอดีกับเสื้อ สถาบันฝ่ายยอมยินดีปฏิบัติตาม
- มี ม.เอกชนมาร่วมผลิตขนานใหญ่ ซึ่งเป็นจุดเสื่อม มีการยุบ ม. ด้วย เปิดสอน ป.บัณฑิต วิชาชีพครู หลายหมื่นคน
- การผลิต ป.บัณฑิต คุรุสภา ควบคุมไม่ไหว ปิดการรับรอง ห้ามเปิดสอน
- ผู้เรียนตาม 9 มาตรฐาน จบเป็นรุ่นแรก ปี 2551 (มีนาคม 52) ยังไม่เก่งนัก คนดีคนเก่งยังไม่มีเหตุปัจจัยจูงใจให้เข้ามาเรียน
- เริ่มตั้งแต่ ปี 2552 เป็นต้นมา ผู้เรียนครูเป็นนักเรียนที่เก่ง มีอัตราการแข่งขันสูงสุดในการคัดเลือกเข้าเรียน เป็นรองเพียงผู้เรียนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและนิติศาสตร์ในบางมหาวิทยาลัยเท่านั้น
- ม. หลายแห่งอดทนต่อความต้องการเข้าเรียนมากไม่ได้ ตอบสนองความค้องการเรียนจนเกินความเหมาะสมที่จะควบคุมคุณภาพ
- รุ่นที่เก่ง ตอนนี้เพิ่งจบเพียง 1-2 รุ่น และยังเข้าไปในระบบไม่มากนัก
- ปี 2556 คุรุสภา ออกมาตรฐานวิชาชีพครูใหม่ 11 มาตรฐาน
- ปี 2557 คุรุสภา ประกาศเรื่อง รับรองปริญญาฯ ขึ้นมาใหม่ มีเกณฑ์ควบคุมการผลิตอย่างเข้มข้น
- สถาบันผลิตครูมีการเร่งรัดปรับปรุงอย่างเต็มที่ กำหนดห้องเรียนหนึ่งไม่เกิน 30 คน
- นำระบบหอพักมาพัฒนานักศึกษาครู กำหนดคุณวุฒิอาจารย์อย่างชัดเจน มีสัดส่วนต่อผู้เรียนเป็น 1:10
- ปี 2558 คณะกรรมการคุรุสภา 39 คน ได้รับคำสั่งให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
** และแล้ว คุรุสภา ที่มาจากอำนาจพิเศษ ก็เข้าควบคุม..... จะเป็นตายร้ายดียังไง ติดตามชม ได้ต่อไป
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: แฟนเพจ Surawat Thongbu สุรวาท ทองบุ วันที่ 20 มีนาคม 2559