LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

หมอเตือน"ผู้ป่วย"โรคไต ห้ามกิน"มะเฟือง"เด็ดขาด

  • 12 ก.พ. 2559 เวลา 07:48 น.
  • 11,569
หมอเตือน"ผู้ป่วย"โรคไต ห้ามกิน"มะเฟือง"เด็ดขาด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แพทย์เผยรายชื่อพืชพิษ 10 ชนิดพบมากในไทย แนะก่อนกินสมุนไพรต้องปรึกษาแพทย์ อันตรายถึงชีวิต เตือน "ผู้ป่วยไต"ห้ามกินมะเฟืองแม้เพียงชิ้นเดียว

เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการรวบรวมรายชื่อพืชพิษในประเทศไทย พบว่ามีพืชที่คนไทยได้รับอันตรายบ่อยที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ สบู่ดำ/สบู่ขาว ร้อยละ 54.1 กลอย ร้อยละ 8.7 มันสำปะหลัง ร้อยละ 5.9 ลำโพง หรือมะเขือบ้า ร้อยละ 4.2 โพธิ์ศรี/โพธิ์ทะเล/โพธิ์ฝรั่ง ร้อยละ4.1 ฝิ่นต้น ร้อยละ 2.8 มะกล่ำตาหนู ร้อยละ2.5 บอน ร้อยละ 2.1 ละหุ่ง ร้อยละ1.4 และสาวน้อยประแป้ง ร้อยละ1.2 นอกจากนี้ยังมีพืชอื่น ๆ ที่ประชาชนปรึกษาเข้ามาที่ศูนย์อีก 89 ชนิด ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับพิษจากพืชจะแสดงออก 5 กลุ่มอาการ คือการระคายเคือง เซลล์ไม่สามารถเอาออกซิเจนไปใช้ได้ ระบบประสาท ระบบหัวใจ และระบบไต

ศ.นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับอาการระคายเคืองจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือการระคายเคืองผิวหนัง และภาวะกระเพาะและลำไส้อักเสบ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนโดยที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง คือ พืชที่มีน้ำยางใส ประกอบด้วย บอนสาวน้อยประแป้ง ว่านหมื่นปี และเผือก เพราะมีสารแคลเซียมออกซาเลต พืชที่ทำให้เกิดผื่นนูนแดงจากการสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เพราะปล่อยสารฮีสเทมีน ได้แก่ ขนของหมามุ่ย และตำแย ส่วนพืชที่รับประทานแล้วทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แยกเป็นส่วนที่เป็นพิษจากเมล็ด คือ สบู่ดำ ฝิ่นต้น สบู่แดง และโพธิ์ฝรั่ง และเป็นพิษทุกส่วนคือ บอน สาวน้อยประแป้ง ว่านหมื่นปี นอกจากนี้ยังมีพืชที่มีน้ำยางขาวซึ่งมีสารฟอบอล ไดเตอพีนอยด์ เมื่อรับประทานเข้าไปบางรายอาจถึงแก่ชีวิตคือพญาไร้ใบ สลัดได โป๊ยเซียน และคริสต์มาส รวมถึงพืชกลุ่มที่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้แบ่งเซลล์ไม่ได้ เสียชีวิตเช่นกัน ได้แก่ มะกล่ำตาหนู ละหุ่ง ดองดึง

หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาฯ กล่าวด้วยว่า ส่วนพืชที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถเอาออกซิเจนไปใช้ได้คือ รากมันสำปะหลัง โล่ติ้น,หางไหล หน่อไม้ และผักเสี้ยน ขณะที่เมล็ดมันแกวหากรับประทานจะคลื่นไส้อาเจียน สับสน วุ่นวาย มีอาการทางหัวใจ และเสียชีวิต สำหรับพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อสมอง ทั้งฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนหลัง อาทิ ฝิ่น กัญชา เห็ดขี้ควาย กระท่อม ต้นแสลงใจ ลำโพง เป็นต้น และพืชที่มีผลต่อระบบหัวใจทำให้ชีพจรเต้นช้าเมื่อรับประทานเข้าไปคือ ยี่โถ รำเพย ชวนชม พันซาด และสุดท้ายพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อไต ทำให้ไตวายเฉียบพลัน ได้แก่ ลูกเนียง เกิดอาการหลังได้รับ 2-14 ชั่วโมง ทั้งนี้ผู้ที่มีปัญหาโรคไตห้ามรับประทานมะเฟือง เพราะมีอันตรายมาก ซึ่งมีรายงานว่าผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตแม้กินมะเฟือง 1 ชิ้น ทำให้เกิดอันตรายใน 2.5-14 ชั่วโมง ส่วนคนปกติสามารถดื่มน้ำมะเฟืองได้ 1.5-3 ลิตรต่อวัน

“นอกจากนี้อยากให้ประชาชนระวังพิษจากสมุนไพรด้วย โดยเฉพาะสสารเสริมอาหารที่สกัดจากสมุนไพร 4 ชนิด คือเซนต์จอห์นเวิร์ต กระเทียม แปะก๊วย และโสม เนื่องจากหากรับประทานตามธรรมชาติอาจออกฤทธิ์ประมาณร้อยละ 1-2 แต่เมื่อนำมาสกัดเป็นแบบแคปซูลจะทำให้ความเข้มข้นของสารในสมุนไพรดังกล่าวสูงขึ้น และมีโอกาสที่จะทำปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นที่รับประทานอยู่ด้วยได้ ทำให้ฤทธิ์แรงเกินเกิดภาวะเป็นพิษ อันตรายกับคนไข้ ดังนั้นการกินสารเสริมอาหารจากสมุนไพร แม้จะเป็นสารธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัย 100 % ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ”ศ.นพ.วินัย กล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17:02 น.
  • 12 ก.พ. 2559 เวลา 07:48 น.
  • 11,569

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^