LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 61/2559 การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการคัดเลือกและรับครู

  • 08 ก.พ. 2559 เวลา 11:16 น.
  • 2,535
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 61/2559 การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการคัดเลือกและรับครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 61/2559
การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการคัดเลือกและรับครู

 
 ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการคัดเลือกและรับครู และการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงศึกษาธิการ
 

>>> แนวทางการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการคัดเลือกและรับครู

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำเสนอให้รับทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ของการจัดสอบคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กระจายอำนาจและมอบให้คณะอนุกรรมการช้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน

 แต่ในทางปฏิบัติ แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้ออกข้อสอบเอง เพราะมีการกำหนดให้ไปจ้างสถาบันอุดมศึกษาออกข้อสอบและดำเนินการจัดสอบให้ ซึ่งพบปัญหาหลายเรื่อง เช่น งบประมาณในการจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยบางเขตฯ สูงมากถึงปีละประมาณ 80 ล้านบาท รวมทั้งมาตรฐานของข้อสอบมีความแตกต่างกันตามที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งออกข้อสอบ หลายครั้งมีผู้ผ่านเกณฑ์การสอบเพื่อขึ้นบัญชีน้อยมาก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายตำแหน่งว่างที่มีอยู่ รวมทั้งพบปัญหาในการควบคุมการทุจริตในการสอบ

ดังนั้น สพฐ.จึงได้เสนอให้มีการปรับปรุงกระบวนการจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย จากเดิมที่ให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเอง มาเป็นให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.) ดำเนินการตั้งแต่ออกข้อสอบภาค ก และ ข ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยประหยัดงบประมาณลงได้มาก อีกทั้งผู้เข้าสอบยังสามารถเก็บคะแนนไว้ได้ถึง 2 ปี และเมื่อเขตพื้นที่การศึกษาใดมีประกาศรับสมัครในตำแหน่งว่าง ผู้สมัครสอบก็นำคะแนนนั้นไปยื่นสมัครเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ ได้โดยตรง ซึ่งเขตพื้นที่การศึกษาจะเป็นผู้สัมภาษณ์ภาค ค เพียงขั้นตอนเดียว โดยอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสมัครเพิ่มในการไปสอบภาค ค อีก

 รูปแบบการจัดสอบนี้ เป็นลักษณะเดียวกับการสอบเข้ารับราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งดำเนินการสอบภาค ก และ ภาค ข โดยส่วนกลาง แล้วหน่วยงานราชการที่ต้องการก็เรียกไปสัมภาษณ์ ภาค ค เพราะฉะนั้นแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาจะเปิดรับครูเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดรับพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิด ที่ประชุมจึงได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ไปดูข้อกฎหมาย และอาจจัดประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นก่อน หากทุกฝ่ายเห็นชอบตามที่ สพฐ.เสนอ ก็จะพิจารณาถึงการแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ โดยเฉพาะมาตรา 47 และ 50 ที่กำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการจัดสอบนั้น หมายความว่าอย่างไร หมายถึงจัดสถานที่ หรือจัดสอบ และรวมถึงออกข้อสอบด้วยหรือไม่ หากรวมทั้งหมดก็ต้องปรับแก้กฎหมาย

 การปรับปรุงรูปแบบการสอบคัดเลือกครูโดยใช้ข้อสอบกลาง นอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณจำนวนมากได้แล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานของข้อสอบและการจัดสอบด้วย ที่สำคัญสามารถบอกได้ด้วยว่ามีบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยใดสอบได้บ้าง และได้คะแนนเท่าไร ซึ่งจะทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยได้กลับไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น



>>> แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 ที่ประชุมได้หารือในอีกประเด็น เกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรขั้นพื้นฐาน ซึ่งกำลังดำเนินการตามวงรอบการปรับปรุงหลักสูตรทุก 10 ปี ซึ่งกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ สพฐ.จะจัดให้มี Workshop เพื่อหารือในเรื่องนี้ โดยจะเชิญครู ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้แทนครู ผู้ออกข้อสอบระดับชาติในทุกระบบ รวมทั้งผู้แทนจากอาชีวศึกษา และอนุบาล มาร่วมกันหารือ เพื่อให้เกิดการยอมรับการปรับปรุงในเส้นเดียวกัน เพราะการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้จะต้องทำให้เกิดการเชื่อมโยงตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา รวมทั้งเติมเต็มหลักสูตรภาษาอังกฤษด้วย โดย สพฐ.คาดว่าจะสามารถเริ่มทดลองใช้หลักสูตรใหม่ได้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

รมว.ศึกษาธิการ จึงได้ฝากให้ สพฐ.หาคำตอบจาก Workshop ในครั้งนี้ 4 ประเด็น คือ 1) แต่ละช่วงชั้นควรเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อะไรบ้างและเพราะอะไร 2) ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น ควรมีระยะเวลาเรียนแค่ไหนอย่างไร 3) การคำนึงถึงเนื้อหาในหลักสูตร ทั้งเรื่องที่ต้องรู้ เรื่องที่ควรรู้ และวิธีการตัดไขมันออก (เนื้อหาที่ไม่จำเป็น) เช่น ตัดทิ้ง หรือนำไปรวมในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  4) การเปรียบเทียบกับต่างประเทศในบริบทเดียวกัน



ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559
 
  • 08 ก.พ. 2559 เวลา 11:16 น.
  • 2,535

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^