LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ปัญหาหนี้ครู

  • 27 พ.ย. 2558 เวลา 09:37 น.
  • 2,884
ปัญหาหนี้ครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

หมายเหตุสีบานเย็น
ปัญหาหนี้ครู

ครูหลายคนบอกว่า เงินเดือนที่ได้รับเมื่อหักค่าใช้จ่ายสารพัดแล้วจะมีเหลือไม่เกิน 30% ขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างแพงขึ้นมาก หนี้ที่เคยมีก็ยิ่งพอกพูน

“หนี้ครู” เป็นปัญหาที่หมักหมมมานานหลายสิบปีทีเดียว โดยเมื่อปี 42 มีครูกว่า 90% ของทั้งระบบการศึกษาที่เป็นหนี้ รวมมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านบาท

ผ่านไป 16 ปี ปรากฏว่าครูทั่วประเทศกว่า 4.6-4.7 แสนราย ก็ยังคงเป็นหนี้ โดยเป็นหนี้ที่อยู่ในระบบ โดยยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบที่ว่ากันว่าเมื่อรวมกันแล้วมีมากกว่า 1 ล้านล้านบาทกันเลยทีเดียว

โดยในจำนวนนี้พบว่าเป็นหนี้กับธนาคารออมสินมากถึง 4.7 แสนล้านบาท และก็เป็นหนี้ที่มีมานาน ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาทางช่วยเหลือ หาทางแก้ไข

สาเหตุสำคัญที่ทุกฝ่ายเห็นเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามเป็นเงา ทั้งค่ากินค่าใช้จ่ายค่าเป็นอยู่ ค่าเล่าเรียนลูก ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่

ครูหลายคนบอกว่า เงินเดือนที่ได้รับเมื่อหักค่าใช้จ่ายสารพัดแล้วจะมีเหลือไม่เกิน 30% ขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างแพงขึ้นมาก หนี้ที่เคยมีก็ยิ่งพอกพูน ที่ไม่เคยมีหนี้ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาใช้จ่ายในแต่ละวัน

แม้ว่าที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาทางช่วยเหลือ หาทางแก้ไข ทั้งการลดดอกเบี้ย การพักชำระหนี้ และอีกสารพัดวิธี

แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาเหล่านี้ยังแก้ไขได้ไม่เบ็ด เสร็จ ไม่ว่าจะผ่านมากี่รัฐบาลก็ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ และยิ่งมาเจอกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่เฟื่องฟู ก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาซ้ำเติมให้อีก

ล่าสุด ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับภาระในเรื่องหนี้สินของครูจำนวนมาก ก็ได้พยายามหาทางที่จะลดหนี้ก้อนนี้ ด้วยการขอเจรจากับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เพื่อขอหักหนี้ครูในอัตรา 50% ให้มาชำระหนี้กับธนาคารออมสินด้วย เพื่อลดภาระการจ่ายหนี้คืนให้กับครู

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่ทุกฝ่ายจะปล่อยเลยผ่านไป หรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินเจ้าหนี้เท่านั้น เพราะหากครูถูกฟ้องร้อง ถูกดำเนินคดี ก็ต้องถูกให้ออกจากราชการ ก็จะมีปัญหามากมายตามมา

ขณะที่การขอปรับขึ้นเงินเดือนให้กับครู โดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาของเด็กมาเป็นตัวตัดสิน ก็อาจสายเกินไป เพราะเป็นหนี้ก้อนใหญ่ และจะกลายเป็นการขว้างงูไม่พ้นคอ

แต่ทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับ “ครู” หรือ “ลูกหนี้” เป็นสำคัญ ที่ตั้งใจแก้ไขปํญหาหนี้ของตัวเองให้หมดไปหรือไม่?.

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 1:00 น.
 
  • 27 พ.ย. 2558 เวลา 09:37 น.
  • 2,884

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^