LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

เกรดเฉลี่ย คำพิพากษา หรือ มายาสังคม?

  • 04 พ.ย. 2558 เวลา 10:20 น.
  • 4,164
เกรดเฉลี่ย คำพิพากษา หรือ มายาสังคม?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เกรดเฉลี่ย คำพิพากษา หรือ มายาสังคม?

"เฮียครับ แม่ด่าว่าผมโง่" น้องชายคนหนึ่งในแก๊งเล่าให้ฟัง
"เฮ้ย ใจเย็น เรื่องอะไร?" ผมถาม
"ผมได้เกรดเฉลี่ย 3.25"
"ว้าว นั่นยอดมากเลย!"
"แต่แม่ผมบอกว่ายังไม่ดีพอ"
เงียบไปแป๊บ "มึงล่ะคิดว่ายังไง ทำเต็มที่หรือยัง?"
"เต็มที่แล้วครับเฮีย"
"มึงแบ่งเวลาเล่นเกม ไปเที่ยว ทำกิจกรรม อ่านหนังสือดีแล้ว ใช่ไหม"
"ใช่ครับเฮีย แต่บางวิชาผมก็ไม่เข้าใจจริงๆ ครับ ผมพยายามแล้ว"
"งั้นก็จงภูมิใจนะครับ ว่าทำเต็มที่แล้ว มึงเก่งแล้ว"
"แล้วทำไมแม่ถึงด่าผมวาโง่ล่ะครับ?" น้องมันยังสงสัย 
"การที่เกรดเฉลี่ยเราไม่เยอะคือโง่หรือครับ?"
ได้ยินคำถามนั้นแล้วก็หดหู่ใจ


ใช่ หลายคนด่วนตัดสินคนแบบนี้ “เกรดเฉลี่ยน้อยคือโง่ คือไม่เก่ง คือไร้ความสามารถ คือปัญหาสังคม”

คำถามคือ “เกรดเฉลี่ยใช้พิพากษาคนได้จริงหรือ?”

ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ผมเคยถูกอาจารย์ที่ปรึกษาเรียกพบด้วยเรื่องแปลกที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นเท่าไหร่

“ฐาวรา เธอเก่งมากนะที่ได้คะแนนดีในวิชาหลักของสาขาโฆษณาทั้งหมดเลย” อาจารย์บอก “แต่ครูงงว่าทำไมเธอถึงเกือบตกวิชาสถิติ บัญชี ไฟแนนซ์ ทั้งที่วิชาอื่นๆ ของโฆษณาเธอได้เกรดบี กับ เอ”

“ผมไม่ถนัดครับ”

ใช่ครับ บางวิชาผมห่วยเพราะ “ผมไม่ถนัด” แต่อย่างน้อยก็รู้ว่าตัวเอง “ถนัด” อะไร

ผมหาคำตอบได้ว่าผมถนัดภาษา การนำเสนอ การพูด และผมก็ตั้งใจเรียนวิชาเหล่านี้ถึงที่สุด ส่วนวิชาอื่นที่ผมไม่ถนัด ผมก็ไปติวเพิ่ม ไปอ่านเพิ่ม แม้มันจะออกมาห่วยแตก แต่ผมก็พูดได้เต็มปากว่า “ผมทำดีที่สุดแล้ว” และถามว่าการที่ผมไม่ถนัดบางวิชาซึ่งส่งผลให้เกรดไม่ดี แปลว่าผมไร้ความสามารถ หรือเป็นปัญหาสังคมหรือเปล่า ผมก็ว่าไม่ เกรดเฉลี่ยมันวัดความเข้าใจในแต่ละวิชานี่ครับ ไม่ได้ใช้วัดระดับสิ่งมีชีวิตเสียหน่อย เกรดหนึ่งไม่ได้แปลว่าเป็นเปรต เกรดสี่ไม่ได้แปลว่าเป็นพระอรหันต์

และสิ่งที่ผมทำเพิ่มคือ “การหาความถนัดนอกตำรา”

ผมค้นพบว่าตัวเองถนัดการใช้ภาษา การนำเสนอ การกล้าแสดงออก การเขียน ผมใช้สิ่งเหล่านั้นในการเรียนและผลักดันตัวเองเป็นพิธีกรโรงเรียน เป็นประธานชมรมศิลปะการพูด ทำการแสดง แข่งโต้วาที แข่งพูด แถมเป็นเชียร์ลีดเดอร์ด้วย (งงอ่ะดิ) จบมาผมก็มีงานทำในระดับที่เหนือความคาดหมายโดยตลอด ซึ่งเป็นผลพวงจากความถนัดทั้งด้านการเรียนและกิจกรรมของผมนี่แหละ นั่นเพราะผมเรียนรู้ว่า เราควรค้นหาความถนัดทั้งในตำราและนอกตำราไปพร้อมกัน เพื่อใช้เป็นอาวุธผลักดันความสามารถอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ถ้าคุณเกรดไม่ดี แต่ยังใฝ่ดีหาโอกาสให้ตัวเอง คุณคือคนที่มีค่า 
แต่ถ้าเกรดไม่ดีแล้ว แล้วซ้ำเติมตัวเองโดยการเหลวไหลไปวันๆ คุณคือคนที่เต็มใจลดคุณค่าในตัวเอง

เด็กบางคนเกรดไม่ดี ก็ผันตัวเองไปเป็นอันธพาล โดดเรียน ติดยา ทำตัวเป็นภาระสังคม เพราะคิดว่า “ฉันเกรดไม่ดี ฉันก็เป็นคนไม่ดี” นั่นไม่ใช่เลย เกรดเฉลี่ยไม่ได้เกี่ยวกับความดีหรือไม่ดีในตัวคุณ ทัศนคติกับการกระทำนั่นแหละที่กำหนดความดีไม่ดีของคุณ หากรู้ตัวว่าเกรดไม่ดี แล้วไปอ่านมากขึ้น ติวมากขึ้นดีไหม? ไปค้นหาความถนัดนอกตำรามาเสริมคุณค่าตัวเองมากขึ้นดีไหม? ไปเล่นกีฬา เล่นดนตรี แข่งทักษะโน่นนี่ หาโอกาสดีๆ ให้ชีวิตตัวเองบ้างดีไหม?

มีดีสักอย่างในชีวิต ก็ดีกว่าใช้ชีวิตแบบคนไม่มีดีนะ

ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเกรดเฉลี่ยเป็นเหมือน “คำใบ้ชีวิต”
มันทำให้คุณรู้ว่าเก่งอะไร คุณถนัดอะไร คุณน่าจะได้ดีด้านไหน 
มันทำให้คุณได้ตั้งคำถามว่า “เฮ้ย เราทำเต็มที่ยังวะ?” 
มันทำให้คุณสงสัยตัวเองว่า “เฮ้ย เราจะดีกว่านี้ได้ไหมวะ?” 
และบางทีมันก็สะกิดใจให้คุณหาคำตอบว่า “เราจะเอาความถนัดด้านไหนมาเสริมตัวเองให้เจ๋งขึ้นได้บ้างวะ?”

ถ้าถามว่า “เราใช้เกรดพิพากษาคนได้ทุกด้านไหม?” โดยส่วนตัวผมคิดว่า “ไม่”

บางคนใช้นิยามของเกรดเฉลี่ยในทางที่ผิดประหนึ่งเป็นมาตรฐานตัดสินชีวิตมนุษย์ จนบางทีมันเป็นเหมือนมายาสังคมที่พรางตาจนเรามองไม่ทะลุถึงตัวตนที่แท้จริงของคน บางคนจริงจังกับมันมากไปจนปลูกค่านิยมการมองคนที่ “เปลือก” เราไม่สามารถวัดจริยธรรมในใจคนจากเกรดเฉลี่ยได้ หลายคนที่เก่งก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป คนที่เรียนไม่เก่งอาจเพราะเขาเกิดมาเพื่อเจ๋งด้านอื่นที่เราไม่ถึงก็ได้
   
การตัดสินใจคุณค่าของคนจากเกรดเฉลี่ยจึงไม่ควรทำและไม่สามารถทำได้ กระนั้นนักเรียนนักศึกษาก็ควรตั้งใจทำหน้าที่ตัวเองอย่างเต็มความสามารถ เพื่อพิสูจน์ว่าคุณได้ใช้โอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ ใช้เวลาไม่กี่ปีในการเรียนให้คุ้มค่าที่สุด

เกรดเฉลี่ยไม่สามารถใช้พิพากษาคนได้ทุกด้าน 
แต่เกรดเฉลี่ยใช้ตัดสินบางอย่าง เช่น ความถนัด ความรับผิดชอบ ความใฝ่ดี 
ไม่จำเป็นต้องสวยหรู แต่จำเป็นต้องทำให้ดีที่สุด 
กระนั้นก็อย่าให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ผูกติดกับตัวเลขไม่กี่ตัว

Dr.Pop Facebook : www.facebook.com/drpopworld
Dr.Pop Twitter : www.twitter.com/drpoppop
Dr.Pop Ig & Line : @drpoppop

            
ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 4 พ.ย. 2558 05:30 น.
 
  • 04 พ.ย. 2558 เวลา 10:20 น.
  • 4,164

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^