LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

แฉพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้กยศ.

  • 21 ก.ย. 2558 เวลา 21:00 น.
  • 14,995
แฉพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้กยศ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แฉพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้กยศ. ผู้จัดการ กยศ.แจงยึดทรัพย์เป็นไปตามกฏหมาย วอนอย่าอ้างติดต่อกยศ.ไม่ได้ แฉสาเหตุเด็กไม่คืนเงิน เพราะคิดว่ารัฐให้ฟรี -ใครคืนเงินโง่ ขณะที่สกศ. เผยผลกรณีศึกษาพบรุ่นพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้

วันนี้(21 ก.ย.) น.ส.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้สัมภาษณ์กรณีหลายฝ่ายออกมาระบุว่ามาตรการยุดทรัพย์ผู้กู้ค้างชำระและจะนำรายชื่อผู้กู้ค้างชำระเข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตบูโรในปี 2561 นั้นรุนแรง ว่า กยศ.ต้องขอชี้แจงก่อนว่าการที่กยศ.จะมีมาตรการอะไรออกมานั้นต้องผ่านการพิจารณาและเป็นมติของคณะกรรมการกองทุน กยศ. ซึ่งกรณียึดทรัพย์ผู้กู้ค้างชำระนั้นก็ไม่ใช่ว่าค้างกัน1-2 ปีจะดำเนินการยึดทรัพย์เลย แต่มีการให้โอกาสให้หลายปี โดยให้มาไกล่เกลี่ย และเปิดโครงการรณรงค์ชำระหนี้กองทุน กยศ. ที่จ่ายเงินคืนจะลดเบี้ยปรับ ลดดอกเบี้ยให้ แต่ผู้กู้ค้างชำระก็ไม่สนใจ และเท่าที่ดูมีมาติดต่อ 10 % ของผู้กู้ค้าชำระ ดังนั้น กยศ.ต้องดำเนินการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปบังคับยึดทรัพย์ผู้กู้ 

"กยศ. ไม่ต้องการที่ใช้มาตรอะไรที่รุนแรงกับผู้กู้ค้างชำระเลย แต่เมื่อผู้กู้ค้างชำระไม่ยอมทำตามสัญญาที่เคยตกลงกันไว้เราต้องดำเนินการ ที่สำคัญตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 157 กำหนดไว้ชัดเจนว่าเจ้าที่หน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการตามที่กฏหมายกำหนด แต่ถ้าไม่ดำเนินการตามจะมีความผิด ถือว่าเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ และการยึดทรัพย์จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาตนได้ยินมาตลอดว่าผู้กู้ค้างชำระไม่ยอมมาจ่ายหนี้ เพราะยังมีความคิดที่ว่าเงินที่กู้ยืมไปเป็นเงินของรัฐ ต้องไม่จ่ายคืนก็ได้ รัฐไม่เอาจริง และถ้าใครเอาเงินมาคืนถือว่าโง่ ซึ่งเป็นคววามคิดที่ผิด ในเมื่อสัญญากันไว้แต่แรกว่าต้องคืน เมื่อจบต้องนำมาคืน และเรื่องนี้ กยศ.ก็ขอความร่วมมือให้สถานศึกษาช่วยกันรณรงค์ให้มีการใช้หนี้คืน กยศ.อย่างจริงจัง และขณะนี้ กยศ.ได้เปิดช่องทางให้ติดต่อกยศ.หลายที่ ดังนั้นสามาารถติดต่อได้ตลอดเวลา และขอให้ผู้กู้ค้างชำระ หรือครบกำหนดเวลาในการชำระก็ให้รีบมาชำระตั้งแต่แรก เป็นหนี้ปกติ อย่างปล่อยค้างไว้ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการเสียเบี้ยปรับ และดอกเบี้ยที่สูง"  น.ส.ฑิตติมา กล่าว 

ด้าน รศ.ดร.ชวนี ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) กล่าวว่า ช่วงที่ตนอยู่ในตำแหน่งรองเลขาธิการ สกศ. ได้มีการศึกษาสภาพและผลการกู้ยืมเงิน กยศ. ว่าเป็นไปตามเจตนารมย์ของกองทุน ฯ หรือไม่ โดยได้เลือกจังหวัดขอนแก่น เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผู้กู้ยืมกยศ.สูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดจัดสรรมากถึง 3% ของวงเงินกองทุนฯ และเป็น 1 ในจังหวัดเป้าหมายที่ สำนักงาน กยศ.ให้มีการจัดกิจกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมก่อนฟ้องคดี หรือ เป็นพื้นที่ที่มีผู้กู้คืนเงินกองทุนฯน้อย ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค.2556 พบว่า ผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้คืนกองทุนตั้งแต่ปี 2542 มีทั้งสิ้น 127,265 คน เป็นผู้ค้างชำระบางส่วน สูงถึง 76% ของผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้คืน และค้างชำระทั้งจำนวน 27% 


รศ.ดร.ชวนี กล่าวต่อว่า จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 4,184 คน จำแนกเป็นผู้กู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา 3,566 คน สำเร็จการศึกษาแล้ว 625 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 62 คน ได้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ไม่ชำระเงินคืนเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้หนี้ บางคนเข้าใจว่าไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะมีการสอนกันมาระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง สำหรับการติดตามและชำระหนี้เงินกู้ พบว่า นักศึกษา 70-79% เห็นด้วยที่จะให้มีการบันทึกประวัติผู้กู้ในเครดิตบูโร ส่วนการให้กรมสรรพากร เป็นผู้ติดตามหนี้ โดยให้หนี้เงินกู้มีลักษณะเสมือนหนี้ภาษีอากรค้างที่เจ้าหน้าที่สามารถ บังคับหนี้ อายัด ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการของศาล พบว่า ผู้กู้เห็นด้วยเพียง 50-59% เท่านั้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่าถึงตอนนี้ผู้กู้ค้างชำระน่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก กยศ.มีการรณรงค์มากขึ้น ส่วนการยึดทรัพย์นั้นถือว่าเป็นไปตามกระบวนการทางกฏหมาย ฝากผู้กู้ยืมกยศ. อย่าคิดว่ามีเงินเดือนแล้วเอาไปใช้อย่างอื่นก่อน เนื่องจากเรียนจบแล้ว เพราะเป็นความคิดที่ผิด ขอให้นำเงินมาใช้คืน เพื่อเปิดโอกาสให้รุ่นน้องได้กู้ยืมเรียนต่อได้

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2558 เวลา 14:32 น.
 
  • 21 ก.ย. 2558 เวลา 21:00 น.
  • 14,995

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^