LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

ครูเข้าไม่ถึงกระบวนการสอนส่งผลนักเรียนเข้าไม่ถึงความรู้

  • 17 ก.ย. 2558 เวลา 14:20 น.
  • 4,594
ครูเข้าไม่ถึงกระบวนการสอนส่งผลนักเรียนเข้าไม่ถึงความรู้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครูเข้าไม่ถึงกระบวนการสอนส่งผลนักเรียนเข้าไม่ถึงความรู้ 

          ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) กล่าวว่า สมาคมสภาการศึกษาโรงเรียนเอกชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ พว. จัดโครงการอบรมการจัดประสบการเรียนรู้บูรณาการ เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและสากลเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา นำยุทธศาสตร์ไปจัดทำแผนปฏิบัติการสู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียน ให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนเข้าร่วมกว่า 700 คน ที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ตนเห็นว่าหลักสูตรที่โรงเรียนใช้ในปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีองค์ประกอบในเรื่อง เนื้อหา มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด กระบวนการมิติคุณภาพ แต่โรงเรียนส่วนใหญ่นำหลักสูตรในส่วนของเนื้อหาไปใช้เท่านั้น โดยไม่นำส่วนอื่นไปใช้เลย ทำให้ผู้เรียนไม่บรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัด จึงส่งผลให้การวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (O-NET) ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากข้อสอบ O-NETออกตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ฉะนั้นการที่ครูสอนโดยเน้นเนื้อหาให้เด็กท่องจำ ทำให้สิ่งที่หายไปคือกระบวนการ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทักษะชีวิตและการบูรณาการ เมื่อครูเข้าไม่ถึงกระบวนการ ก็ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงความรู้ ดังนั้น แก่นแท้ของการเรียนรู้จึงอยู่ที่กระบวนการที่ทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจทั้ง3 มิติได้แก่ การคิดวิเคราะห์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมหลัก 12 ประการ ฉะนั้น เมื่อห้องเรียนไม่มีกระบวนการ เด็กก็ไม่สามารถเข้าถึงความรู้ในมิติเหล่านี้ได้

          ดร.ศักดิ์สิน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกรณีที่สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จะดำเนินการสอบ O-NET โดยใช้ข้อสอบแบบอัตนัย นำร่องชั้น ป.6 วิชาภาษาไทย ซึ่งจะเริ่มในปีการศึกษา2559 นั้น ประเด็นสำคัญการออกข้อสอบอัตนัย ต้องอยู่ที่กระบวนการเพราะเด็กต้องนำสิ่งที่เข้าใจมาอธิบาย ไม่ใช่ใช้การท่องจำมาอธิบายที่ผ่านมาหลักสูตรการจัดการศึกษาไม่เคยบอกให้ครูสอนหนังสือ แต่ให้ครูนำเนื้อหาไปวิเคราะห์ร่วมกับตัวชี้วัด กระบวนการ มิติคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อออกแบบวิธีเรียนและจัดกิจกรรมให้เด็กดังนั้น ครูต้องปรับวิธีการสอนโดยเอากระบวนการไปใส่ เพราะความรู้อยู่ที่กระบวนการ ถ้าไม่แก้ก็จะไม่มีทางสำเร็จ

          "กระบวนการคือวิธีการสอนที่ดีที่สุด ฉะนั้น ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนเอกชน ต้องเดินด้วยกระบวนการให้เข้มข้น ทั้งระบบต้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างเดิน ถือเป็นความโชคดีของโรงเรียนเอกชนที่มีความอิสระคล่องตัวในการบริหาร ซึ่งได้จัดการศึกษาโดยเน้นกระบวนการในห้องเรียนอยู่แล้ว"

          ดร.ศักดิ์สิน กล่าวและว่า การที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายปรับลดเวลาเรียนวิชาการในชั้นเรียนถึงเวลา 14.00 น. หลังจากนั้นให้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามวัย จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับโรงเรียนเอกชน เพราะเด็กเริ่มมีหลักการจากกระบวนการเรียนรู้ จึงสามารถนำหลักการไปทำโครงการ ทำหลักสูตรท้องถิ่นหรือเรียนรู้ตามที่สนใจได้ แต่การที่ครูยังเข้าใจว่าจะต้องสอนเนื้อหาให้จบ การลดเวลาเรียนในห้องเรียนครูจะยิ่งเร่งรัดการสอนเนื้อหาให้จบซึ่งทำให้กดดันเด็กมากขึ้น และสอนไม่จบเนื้อหาก็จะถูกผลักกลับไปที่ผู้ปกครอง ดังนั้น ปัญหาจะตามกลับมาอย่างแน่นอน เพราะครูกลัวว่าสอนไม่จบแล้วเด็กสอบ O-NET ไม่ได้ ทั้งที่ความจริง O-NET ไม่ได้ออกข้อสอบที่เนื้อหาแต่ออกที่หลักการและความคิดรวบยอดทั้งหมด

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
  • 17 ก.ย. 2558 เวลา 14:20 น.
  • 4,594

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^