LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

ชงฟื้น "กรมวิชาการ" ดูแลหลักสูตรศึกษา

  • 19 พ.ค. 2558 เวลา 09:40 น.
  • 1,311
ชงฟื้น "กรมวิชาการ" ดูแลหลักสูตรศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

         วงเสวนาสนช.-สปช.เสนอ ตั้งองค์กรอิสระรับผิดชอบ โดยเฉพาะ
          วงเสวนาปฏิรูประบบหลักสูตรการสอน เสนอตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตร หรือฟื้นกรมวิชาการขึ้นมาดูแลโดยตรง ชี้ทุก รัฐบาลพยายามปรับหลักสูตรโดยขาดข้อมูลสนับสนุน ซึ่งเป็นอันตรายมาก

          คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ร่วมกับคณะกรรมาธิการการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยามนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จัดเสวนา วานนี้ (18 พ.ค.) เกี่ยวกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง"การปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน"

          พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการเสวนาใจความว่า ที่ผ่านมา การศึกษาไทยมีปัญหาสะสมอยู่มาก ขณะเดียวกันการจัดการศึกษาก็ต้องตอบโจทย์การเป็นพหุสังคม การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย  ระบบการศึกษาไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เอื้อต่อการผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมกับสถานการณ์เหล่านี้
          ขณะเดียวกัน การศึกษาก็ต้องส่งเสริมความเป็นไทย การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย และยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้สังคมไทยนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน  เพราะฉะนั้น ต้องพัฒนา การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

          นางสาวรุ่งนภา นุตราวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์วิจัยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และอนุ กมธ.การศึกษาขั้นพื้นฐานในกมธ.การศึกษาและการกีฬา สนช. กล่าวว่า ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือขาดหน่วยงานที่รับหน้าที่นี้โดยตรง

          ในอดีตเคยมีกรมวิชาการทำหน้าที่ แต่ ปัจจุบัน กรมวิชาการถูกยุบเป็นส่วนหนึ่งของ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. เหลือ คนทำงานและงบประมาณจำกัดมาก  ทั้งที่การพัฒนา หลักสูตรต้องการความเป็นมืออาชีพ

          นอกจากนั้น ยังมีการแทรกแซงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมาโดยตลอด ทุกรัฐบาลพยายามปรับหลักสูตรโดยขาดข้อมูลสนับสนุน ซึ่งเป็นอันตรายมาก  ทั้งที่จริง ๆ แล้ว การพัฒนาหลักสูตรต้องทำเป็นกระบวนการ ต้องใช้เวลาและต้องมีผลการวิจัยมารองรับ

          "จริงๆ แล้ว ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนใดๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องมุ่งแต่ปรับตัวเอกสารหลักสูตร แต่สามารถปรับในขั้นตอนการนำไปใช้ได้โดยตลอด การมุ่งปรับแต่เอกสารหลักสูตรนั้น ทำให้เกิดผลกระทบ เช่นต้องมีการสร้างความเข้าใจกับครู การปรับเปลี่ยน หนังสือเรียน แต่ที่ผ่านมา ทุกคนมุ่งแต่ปรับตัวหลักสูตร อาจเพราะทำเรื่องนี้แล้วเห็นเป็นผลงานชัดเจน"

          นางสาวรุ่งนภา กล่าวว่า เพราะฉะนั้นข้อเสนอของการปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้น เสนอให้มีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะ ซึ่งก็มีผู้เสนอหลายแนวทางรวมถึงการฟื้นกรมวิชาการด้วย และให้มีมาตรการป้องกันการแทรกแซงทาง การเมือง ไม่ให้ปรับหลักสูตรโดยไม่มีความเหมาะสม หรือมีข้อมูลรองรับเพียงพอ" น.ส.รุ่งนภา กล่าว

          ด้าน ผศ.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอนุ กมธ.การศึกษา ขั้นพื้นฐานใน กมธ.การศึกษาและการกีฬา กล่าวว่า นอกจากการพัฒนาหลักสูตรแล้ว จะต้องมีการทำวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสือเรียน คู่มือการเรียนการสอนของครูด้วย รวมถึงเรื่องการพัฒนาระบบผลิตครูและระบบอบรมพัฒนาครูประจำการ ในต่างประเทศมีการลงทุนในทั้ง 2 เรื่องอย่างสูงมาก แต่ของไทยยังทำ 2 เรื่องนี้ไม่เป็นระบบ

          ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการแผ่นดิน อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า เสนอให้มีการตั้งองค์กรอิสระทำหน้าที่วิจัยพัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะ อาจใช้ชื่อว่าสถาบันวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มีพ.ร.บ.ของตัวเองรองรับ และทำหน้าที่ ในสิ่งที่ควรทำ

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

  • 19 พ.ค. 2558 เวลา 09:40 น.
  • 1,311

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^