LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ข่าวดีมนุษย์เงินเดือน

  • 14 พ.ค. 2558 เวลา 16:40 น.
  • 26,663
ข่าวดีมนุษย์เงินเดือน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

โดย...สาธิต บวรสันติสุทธิ์ ,CFP

นานๆจะมีข่าวดีซะทีโดยเฉพาะเรื่องภาษี เพราะมนุษย์เงินเดือนเป็นพันธุ์ที่น่าสงสารมากที่สุดในประเทศไทยในเรื่องภาษี อย่างเช่น
–    โดนสรรพากรเก็บเงินภาษีก่อนที่จะได้รับเงินเดือน
–    หักค่าใช้จ่ายได้น้อยมากๆๆๆๆๆๆๆ แค่ 40% และที่แสบทรวงก็คือห้ามหักค่าใช้จ่ายเกิน 60,000 บาท ดังนั้น ถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 150,000 บาท ก็หักได้แค่ 60,000 บาทเท่านั้น


แถมค่าลดหย่อนต่างๆ กรมสรรพากรก็มาเพ่งเล็งจะตัดลดอีก เช่น กองทุน LTF ที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะหมดในปี 2559

ผมเองเคยถามผู้บริหารของกรมสรรพากรท่านหนึ่งว่า เมื่อไหร่กรมสรรพากรจะมีแนวคิดให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับมนุษย์เงินเดือนเพิ่มขึ้นเหมือนที่ให้กับเจ้าของธุรกิจ SME บ้าง คำตอบก็คือ ยากส์ เพราะมนุษย์เงินเดือนคือแหล่งภาษีเงินได้ที่สำคัญของกรมสรรพากร ถ้าให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่ม ก็จะทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีได้น้อยลง อ้าว! กลายเป็นกรรมของคนดีไปซะฉิบ

แต่พวกเราชาวมนุษย์เงินเดือนก็อย่าเพิ่งท้อ ถึงขั้นคิดย้ายประเทศนะครับ อย่างน้อยเราก็มีข้อดีที่ดีกว่าคนอาชีพอื่นๆอยู่บ้างเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องการออมเงินเพื่อเกษียณอายุ เช่น เราเป็นกลุ่มเดียวที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ เงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี ...

ว้าว! ดีจังหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดตั้ง 500,000 บาท แต่ช้าก่อน มีข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่ถึงฝัน ก็คือ เงินที่เราจะสะสมในกองทุนสำรองได้เต็มที่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างและไม่เกิน 500,000 บาท และที่สำคัญก็คือไม่เกินเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบให้ ดังนั้น ถึงแม้เราจะมีสิทธิสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ถึง 15% ของค่าจ้าง แต่ถ้านายจ้างจ่ายสมทบแค่ 3% ของค่าจ้าง เราก็จะสะสมได้ไม่เกิน 3% ของค่าจ้าง เสียสิทธิประโยชน์ที่จะลดหย่อนภาษีไปฟรี 12% ของค่าจ้าง

คณะกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  (ฉบับที่...) พ.ศ. ... กำลังพิจารณาร่างดังกล่าวเป็นครั้งสุดท้าย และจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาวาระ 2 และ 3 คาดว่า สนช.จะเห็นชอบร่างกฎหมายในเดือนพฤษภาคมนี้ สาระสำคัญของกฎหมายนี้ ก็คือ ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบต่ำกว่าเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมมากกว่าเงินสมทบของนายจ้างได้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ลูกจ้างออมเงินได้เพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อการดำรงชีพในยามชราภาพ ทั้งเป็นการเตรียมรับมือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย เท่ากับปลดล็อคการจำกัดสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีของเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ก็มีประเด็นที่หลายคนกังวลก็คือ แล้ว

อย่างนี้ก็หมายความว่า นายจ้างอาจจะลดเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ได้ใช่ป่าว คำตอบคือ ใช่ครับ แต่ต่อให้ไม่แก้ไขกฎหมายนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไหร่ก็ได้อยู่ดี (แต่ห้ามต่ำกว่า 2% ของค่าจ้าง) ดังนั้นประเด็นนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายครับ

ข่าวดีอีกข่าว ก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดที่จะอนุญาตให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ไม่สามารถหรือไม่ประสงค์คงเงินอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปแสดงเจตนาขอโอนเงินที่คงไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนอื่นใด ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือชราภาพได้ เพื่อเป็นแหล่งเงินออมสำหรับยามเกษียณได้อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเทียบเท่ากับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด เกี่ยวกับเรื่องนี้ หากใครสนใจรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์สำนักงาน ก.ล.ต. ตามลิงค์นี้ครับ

(http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1430987321hearing_7_58.pdf) เข้าไปดูแล้ว อย่าลืมให้ความเห็นนะครับ เพราะทางสำนักงาน ก.ล.ต. กำลังสำรวจความคิดเห็น (public hearing) อยู่ เราจะได้กฎหมายที่ตรงใจเราครับ

ท่านที่สนใจบทความทางการเงินที่ผมได้เขียนเองและได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆสำหรับเผยแพร่ให้ท่านผู้สนใจ ขอเชิญไปกด Like ได้ที่ page ใน face book ชื่อ SathitBovornsantisuth CFP เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารต่อไปได้ครับ...

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 14 พฤษภาคม 2558
 
  • 14 พ.ค. 2558 เวลา 16:40 น.
  • 26,663

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^