LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

การศึกษาไทยใช้เงิน8แสนล./ปีแต่คุณภาพสวนทาง

  • 12 พ.ค. 2558 เวลา 08:23 น.
  • 1,669
การศึกษาไทยใช้เงิน8แสนล./ปีแต่คุณภาพสวนทาง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ไทยใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงกว่า 8 แสนล้านบาท แต่คุณภาพสวนกระแส ตัวเลขนักเรียนลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 2 แสนคน แต่เม็ดเงินงบประมาณกลับเพิ่มขึ้นทุกปี

นายชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ หัวหน้าโครงการบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ กล่าวระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่อง “การจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ (Regional Workshop on National Education Account : NEA) จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสถาบันสถิติแห่งองค์การยูเนสโก (UIS) มีตัวแทนจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ลาว และเนปาล เข้าร่วมประเทศ ว่าประเทศไทยได้ร่วมกับ UIS ในโครงการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ โดยมี 7 ประเทศเข้าร่วมโครงการด้วยคือ ลาว เนปาล เวียดนาม ยูกันดา เซเนกัล โกตดิวัวร์ กานา และซิมบับเว ทั้งนี้ NEA เป็นกรอบสำหรับการวัดรายจ่ายด้านการศึกษาจากทุกแห่งในประเทศโดย ในส่วนของประเทศไทยได้มีการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษามากว่า 4 ปีแล้ว

เบื้องต้นพบผลการศึกษารายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2551-2556 พบว่ารายจ่ายรวมด้านการศึกษาของไทยอยู่ในระดับที่สูงมาก รวมรายจ่ายจากทุกแห่งคิดเป็นมูลค่าถึงกว่า 805,239 ล้านบาท ในปี 2556 ตัวเลขนี้สูงกว่างบรายจ่ายด้านการศึกษาที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เกือบเท่าตัว รายจ่ายด้านการศึกษาของไทยเพิ่มขึ้นสูงมาตลอด จากตัวเลข 5.6 แสนล้านบาทในปี 2551 เพิ่มมาเป็นกว่า 8 แสนล้านในปี 2556 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปการศึกษาของไทยเมื่อปี 2542 ซึ่งเป็นผลให้มีการลงทุนด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาครัฐลงทุนในสัดส่วนที่สูงสุดมาโดยตลอด ขณะที่ภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมได้มีการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษามากขึ้นเช่นเดียวกัน

นายชัยยุทธกล่าวต่อไปว่า หากเฉลี่ยแล้วประเทศไทยมีรายจ่ายด้านการศึกษาในระดับกว่า 6% ของจีดีพีมาโดยตลอด ปี 2556 อยู่ที่ 6.42% ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่ใช้จ่ายโดยรัฐบาลกลางและท้องถิ่นราว 5% และเป็นรายจ่ายด้านการศึกษาภาครัฐถึง 80.25% หรือประมาณ 6.4 แสนล้านบาท และยังพบว่ารายจ่ายด้านการศึกษาไทยถูกใช้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากสุด หรือในปี 2556 การศึกษาขั้นพื้นฐานใช้เงินสูงถึง 5.1แสนล้านบาท คิดเป็น 71% และมีแนวโน้มเพิ่มตลอดในอัตราเฉลี่ยต่อปี 7.4% ขณะที่จำนวนนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 13.1 ล้านคนในปี 2551 เหลือ 12.4 ล้านคนในปี 2556 เฉลี่ยลดปีละเกือบ 2 แสนคน เพราะฉะนั้นถือว่าประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาในระดับสูง แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่ว่าด้านคุณภาพโดยเฉลี่ยที่วัดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือผลการประเมินทั้งในและระหว่างประเทศ คุณภาพการจัดการศึกษาที่ยังแตกต่างกันมากระหว่างเมืองและชนบท และแตกต่างกันในภาคต่างๆ ด้วย ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจน การผลิตบัณฑิตที่ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้สะท้อนว่านโยบายด้านการเงินเพื่อการศึกษาที่ดำเนินมาตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษา ปี 2542 ไม่สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา

"อย่างไรก็ตาม เมื่อมีปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำ ก็มักจะมีคนพูดว่าต้องการเงินเพิ่มเพื่อไปแก้ไขปัญหาคุณภาพ แต่ NEA แสดงให้เห็นว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงิน แต่สำคัญที่วิธีการใช้เงินด้วย บางครั้งเงินก็ถูกใช้ไปอย่างสูญเปล่า บางทีก็ไปไม่ถึงโรงเรียน นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าการใช้จ่ายเงินของโรงเรียนเอกชนมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงเรียนของรัฐ"

ด้านนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า NEA แสดงให้เห็นว่าไทยลงทุนด้านการศึกษาถึงกว่า 8 แสนล้านบาท ถือเป็นจำนวนเงินที่มากสำหรับประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวย และเป็นสัดส่วนถึง 20% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด แต่ก็ยังมีปัญหาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเราจะต้องมาตรวจสอบหาว่าจุดรั่วหรือจุดอ่อนอยู่ตรงไหน เพื่อวิเคราะห์ออกมาว่าเราจะใช้งบอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งขณะนี้เรายังผิดหวังอยู่มากกับคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย และต้องปรับปรุงอีกมาก อย่างไรก็ตาม งบที่ลงทุนด้านการศึกษานั้น กว่า 80% เป็นเงินเดือนครูและบุคลากร เหลือแค่ 5% เท่านั้นที่เป็นงบลงทุนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพราะฉะนั้นต้องมาทบทวนดูว่าเรามีจำนวนครูที่เหมาะสมหรือไม่ และเงินถูกใช้ไปที่ไหนอย่างไร ทำไมถึงเหลือแค่ 5% สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 12 พฤษภาคม 2558
  • 12 พ.ค. 2558 เวลา 08:23 น.
  • 1,669

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^