LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

สพฐ.อ้างผลวิจัยอปท.ยังไม่พร้อมดูแลการศึกษา

  • 06 พ.ค. 2558 เวลา 21:51 น.
  • 2,825
สพฐ.อ้างผลวิจัยอปท.ยังไม่พร้อมดูแลการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“กมล”ยืนยันการจัดการศึกษาควรเป็นหน้าที่หน่วยงานรัฐ พร้อมอ้างผลงานวิจัยนักศึกษาปริญญาเอก ระบุท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

 
วันนี้ (6 พ.ค.) ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงการกระจายอำนาจจัดการการศึกษาสู่ท้องถิ่น โดยถ่ายโอนโรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ไปอยู่ในการกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นั้น คงไม่สามารถทำได้ ตนเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่ภาครัฐควรจะบริหารจัดการศึกษาเป็นหลัก และหากต้องให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ไม่แน่ใจว่าจะรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาได้ดีหรือไม่เพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นองค์กรของรัฐจึงมีความสามารถและรับผิดชอบในการจัดการศึกษาได้ดีกว่า

“จากงานวิจัยเรื่องความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และพระนครศรีอยุธยา ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า อปท.267 แห่ง มีความพร้อมในการจัดการศึกษาเพียง 95 แห่ง ขณะเดียวกันผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในท้องถิ่นบุคลากรทางการศึกษาก็มีความเห็นว่า อปท.ไม่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และการบริหารงานบุคคล ดังนั้น จึงไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนการศึกษาไปให้ อปท.ดูแล"เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า เมื่ออ้างอิงจากงานวิจัยดังกล่าวคิดว่า อปท.ยังไม่พร้อมที่จะจัดการศึกษา แต่ยอมรับว่าการบริหารจัดการของ อปท.บางแห่งก็ทำได้ดี แต่หากเปลี่ยนผู้บริหารหรือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) แล้วคนที่เข้ามาใหม่ไม่สนใจการศึกษาเหมือนเดิมการบริหารงานบุคลากรมีปัญหา ใช้งานครูนอกเหนือจากการสอน และครูที่ถ่ายโอนไปอยู่กับ อบจ.แล้วก็มีทั้งที่ส่วนบอกว่าดีและไม่ดี

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2558 เวลา 16:32 น.

  • 06 พ.ค. 2558 เวลา 21:51 น.
  • 2,825

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^