LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

อ่านให้ถ้วนถี่! ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่นเต็มรูปแบบ ยกเลิกเขตพื้นที่การศึกษา

  • 04 พ.ค. 2558 เวลา 16:32 น.
  • 60,346
อ่านให้ถ้วนถี่! ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่นเต็มรูปแบบ ยกเลิกเขตพื้นที่การศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน (ศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางกูร) ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
 
การปฏิรูปโครงสร้างการศึกษา
ปัจจัยสําคัญของการปฏิรูปการศึกษา


-------------------------

   หน่วยงานทางการศึกษามีหน้าที่สําคัญในการจัดการและควบคุมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การที่จะให้บรรลุถึงผลสําเร็จตามหน้าที่ดังกล่าวได้ต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบสําคัญของการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงาน อํานาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาหากหน่วยงานดังกล่าวถูกจัดโครงสร้างไม่มีเหมาะสม ไม่สอดคล้องกับการจัดการศึกษา และมีการบริหารงานบุคคลที่ไม่สามารถจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถให้ทําหน้าที่ได้อย่างแท้จริง มีการอุปถัมภ์ในการบริหารงานบุคคลโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคลากรโดยรวม ดังนั้นในการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่มีความจําเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารการศึกษาและการบริหารงานบุคคลทางการศึกษาอย่างจริงจังและเป็นระบบ 


๑. ปัญหาโครงสร้างองค์กรทางการศึกษา

   ๑.๑ โครงสร้างขององค์กรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งในหลักการของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมายึดหลักการในการกระจายอํานาจการศึกษา แต่ในสภาพของการบริหารราชการแผ่นดินที่แท้จริงในเรื่องเกี่ยวกับการตามหลักการยังเป็นการรวมศูนย์อํานาจการบริหารงานทางการศึกษาไว้ที่ราชการบริหารส่วนกลางโดยมีการแบ่งอํานาจการบริหารไปยังหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค แต่ใช้ถ้อยคําว่าเป็นการกระจายอํานาจการศึกษา ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามหลักการกระจายอํานาจการบริหารราชที่แท้จริงที่ต้องมีการกระจายอํานาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงทําให้เกิดการรวมศูนย์ของการจัดสรรทรัพยากรสําหรับการจัดการศึกษาไว้ที่หน่วยงานกลางในแต่ละแท่ง และแบ่งอํานาจและการจัดสรรทรัพยากรไปยังเขตพื้นที่การศึกษา โดยไม่ได้ส่งตรงไปยังโรงเรียนหรือสถานศึกษาซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการที่ต้องการความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทําให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาไม่สามารถจัดการกับทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่ได้

   ๑.๒ การบิดเบือนโครงสร้างโดยฝ่ายการเมืองเพื่อประโยชน์ทางการเมืองในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมา ฝ่ายการเมืองได้เข้ามาแทรกแซงในการจัดโครงสร้างขององค์กรทางการศึกษาและการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการเปลี่ยนแปลงหลักการตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างของการบริหารในระดับเขตพื้นที่และการบริหารงานบุคคล ด้วยการเปลี่ยนแปลงหลักการตามข้อเสนอในระหว่างการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เพียงหวังผลทางการเมืองที่ต้องการฐานเสียงและคะแนนนิยมจากกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่แอบอิงและรับการอุปถัมภ์ทางการเมือง

   ๑.๓ การกําหนดนโยบายการศึกษาของชาติเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุค ทําให้นโยบายทางการศึกษาไม่มีความต่อเนื่อง และนโยบายการศึกษาที่ถูกกําหนดโดยรัฐบาลแต่ละยุคถูกกําหนดด้วยผลประโยชน์ทางการเมืองที่มุ่งเน้นความนิยมในคะแนนเสียงการเลือกตั้งเป็นหลัก โดยปราศจากข้อมูลหลักฐานที่จะเป็นการดําเนินให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการศึกษาอย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์

   ๑.๔ ระบบบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่สร้างความเป็นธรรมและไม่คํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคลากรที่แท้จริง ขาดธรรมาภิบาลในการบริหารทุกระดับ ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบการเมืองแบบสามาลย์ในการบริหารงานบุคคล โดยสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงหลักการของฝ่ายการเมืองที่ให้มีกรรมการผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มาจากการเลือกตั้ง มีการกล่างอ้างและเลื่องลือกันว่าซื้อสิทธิขายเสียงในทุกระดับการเลือกตั้ง มีการวิ่งเต้นซื้อขายตําแหน่งในการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือมีการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันโดยไม่ชอบด้วยหลักการของกฎหมายและความเป็นธรรมในกรณีที่มีครูหรือบุคลากรทางการศึกษากระทําผิดวินัยหรือจรรยาบรรณวิชาชีพ 



๒. ข้อเสนอในการปรับโครงสร้างองค์กรทางการศึกษา
   ๒.๑ มีการกําหนดนโยบายการศึกษาแห่งชาติที่เป็นไปตามหลักวิชาการทางการจัดและบริหารการศึกษา ที่มีสภาพการณ์สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นนโยบายที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาครูและผู้เรียน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงควรมีองค์กรกําหนดนโยบายที่ไม่ใช่องค์กรทางการเมือง มีสถานะเป็นองค์กรทางวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ปกครองในการกําหนดนโยบายทางการศึกษา ในขณะเดียวกันมีความเชื่อมโยงกับองค์กรทางการเมืองในการสนับสนุนให้นโยบายการศึกษาของชาติเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริงมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีความเป็นธรรมแก่บุคคลทุกกลุ่ม และมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถอย่างแท้จริง

   ๒.๒ มีหลักการที่มุ่งเน้นการกระจายอํานาจในการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชน และกลุ่มผู้สนใจในการจัดการศึกษา ด้วยการถ่ายโอนโรงเรียนและสถาบันการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเต็มรูปแบบ ยกเลิกระบบเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาในแต่ละท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย และเพื่อให้โรงเรียนและสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการในทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามนโยบายของท้องถิ่นและนโยบายการศึกษาแห่งชาติ

   ๒.๓ กําหนดองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษาให้มีบทบาทแตกต่างกัน เพื่อการตรวจสอบถ่วงดุลในการจัดการและบริหารการศึกษา เพื่อไม่ให้ปัญหาในการเกื้อหนุนกันหรือปกปิดหรือมีการขัดการในอํานาจหน้าที่ภายในองค์กรเดียวกัน โดยให้มีการแบ่งองค์กรหรือหน่วยงานในการการจัดหรือบริหารการศึกษาออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ

      (๑) องค์กรหรือหน่วยงานกําหนดนโยบาย โดยกําหนดให้มี “สภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ”เพื่อให้เกิดการกําหนดนโยบายที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาครูและผู้เรียนเป็นสําคัญ และมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรระดับสูง และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมทางการศึกษา
      (๒) องค์กรหรือหน่วยงานปฏิบัติการในการบริหารและจัดการศึกษา แบ่งเป็น องค์กรในส่วนกลางที่ดูแลงานในการบริหาร ควบคุม และติดตามการดําเนินการตามนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ในการจัดการศึกษาขั้นปฐมวัยและประถมศึกษา การมัธยมศึกษา การอาชีวศึกษา การอุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสถานศึกษา สถาบันการศึกษา และสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก
      (๓) องค์กรหรือหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาทางการศึกษา ประกอบด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาแห่งชาติ สถาบันครุศึกษาแห่งชาติ และสํานักงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
      (๔) องค์กรหรือหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย สํานักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และสํานักงานรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาแห่งชาติ

   ๒.๔ ปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคลของการศึกษาระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดย

      (๑) ให้อํานาจในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรในส่วนกลาง ในสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการมัธยมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นอํานาจของคณะกรรมการในด้านต่าง ๆ
      (๒) ให้อํานาจในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรในส่วนท้องถิ่น ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามระบบการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) 


๓. ผลที่คาดว่าจะได้จากการปฏิรูปโครงสร้างทางการศึกษา
   ๓.๑ มีองค์กรกําหนดนโยบายการศึกษาแห่งชาติที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ที่จําเป็นการกําหนดนโยบายการศึกษาและมีนโยบายการศึกษาของชาติที่มีความต่อเนื่อง ที่มีผลกระทบน้อยที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของฝ่ายการเมือง
   ๓.๒ ปรับระบบจากหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ อย่างเบ็ดเสร็จในการกําหนดนโยบาย การปฏิบัติการ การสนับสนุนและพัฒนาทางการศึกษา การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางการศึกษา เป็นการแบ่งแยกองค์กร เพื่อจัดทําภารกิจที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบถ่วงดุลและหนุนเสริมภารกิจ
   ๓.๓ โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ มีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาที่ดีขึ้น จัดสรรตรงไปยังโรงเรียนและสถานศึกษา เพื่อให้โรงเรียนและสถานศึกษามีทรัพยากรทางการศึกษาที่เพียงพอ
   ๓.๔ มีระบบบริหารงานบุคคลและระบบพิทักษ์ระบบคุณธรรมทางการศึกษา ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นที่ไม่ซ้ําซ้อน มีประสิทธิภาพ และให้ความเป็นธรรมแก่ครูและบุคลากรการศึกษาในทุกระดับ ลดระบบอุปถัมภ์และการขัดกันซึ่งอํานาจหน้าที่
   ๓.๕ กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานภายในจะมีขนาดเล็กลง เนื่องจากการกระจายอํานาจทางการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น สํานักงานการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา และสํานักงานการมัธยมศึกษา จะมีหน่วยงานและบุคลากรในส่วนกลางและภูมิภาคเพียงเพื่อการกํากับในทางนโยบายการศึกษาของแต่ละระดับเท่านั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาจํานวนไม่น้อยกว่า ๓.๙ แสนคน จะถูกถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น







ดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่ฉบับเต็ม
ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน (ศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางกูร) ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
ดาวน์โหลดได้ที่นี่
  • 04 พ.ค. 2558 เวลา 16:32 น.
  • 60,346

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^