LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ลองอ่านดูนะ!! เทคนิคการทำข้อสอบ และการเดาคำตอบ (หากทำไม่ทัน)

  • 23 เม.ย. 2558 เวลา 05:18 น.
  • 100,291
ลองอ่านดูนะ!! เทคนิคการทำข้อสอบ และการเดาคำตอบ (หากทำไม่ทัน)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นปรนัย (ชนิดตัวเลือก)

ารบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นปรนัย (ชนิดตัวเลือก) การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ไม่คำนึงถึงจุดนี้ หากไม่ได้ฝึกมาก่อน เมื่อมาทำข้อสอบจริง ยิ่งเมื่อข้อสอบที่ทำนั้นยากหรือไม่ตรงกับที่ได้อ่านหรือเตรียมมา ยิ่งจะเกิดความตื่นเต้น โอกาสที่ทำให้ผิดพลาด ทำข้อสอบไม่ครบ(หมดเวลาก่อน) จะมีสูง การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบ มีดังนี้       
   
1) กรอกข้อมูล ในกระดาษคำตอบให้ถูกต้อง เรียบร้อย โดยเฉพาะการกรอกข้อมูลด้วยวิธีการฝนด้วยดินสอ หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จให้ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะเลขที่ประจำตัวสอบ เพราะมีหลายต่อหลายครั้งที่ผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้ มีความมั่นใจแต่ไม่มีชื่อในบัญชีผู้สอบผ่าน เหตุเพราะลืมกรอกข้อมูลในกระดาษคำตอบ หรือกรอกผิดพลาดนั้นเอง          

2) เปิดข้อสอบ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้คุมห้องสอบ ตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อสอบว่ามีกี่ข้อ มีกี่หน้าครบทุกหน้าหรือทุกข้อหรือไม่ หากกรรมการชี้แจงเพิ่มเติมให้ฟังและแก้ไขตาม       
   
3) การบริหารเวลาในการสอบโดยตรวจสอบเวลาที่จะใช้ในการทำข้อสอบ แล้วคำนวณระยะเวลาในการทำข้อสอบ (โดยปกติมาตรฐานข้อสอบจะใช้เวลาทำข้อละ 1 นาที ) ให้ชำเลืองดูนาฬิกาขณะทำข้อสอบเป็นระยะ เช่น ประมาณ 10-50 ข้อต่อครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมเวลาในการสอบ ทำให้ทำข้อสอบทันเวลาและครบทุกข้อ (จะพบบ่อยมากเมื่อหมดเวลาการทำข้อสอบแล้วแต่ยังเหลือข้อสอบอีก 20-30 ข้อ)          

4) ทำข้อสอบทีละข้อ โดยอ่านคำถามและทำความเข้าใจอย่างละเอียด อ่านให้หมดคำถาม ( 2 เที่ยว) อย่ารีบเร่งตัดสินใจ แล้วค่อยวิเคราะห์ตัวเลือกแต่ละตัวเลือก ตามหลักการ เมื่อเลือกคำตอบแล้วให้กากบาทหรือฝนในช่องของกระดาษคำตอบอย่างประณีต ในกรณีที่แก้ไข เพิ่มเติมให้ทำตามคำแนะนำที่บอกไว้ในกระดาษคำตอบ ข้อสอบข้อใดที่สงสัยให้ทำจุดสังเกต เช่น ดอกจัน ไว้ที่หน้าข้อสอบในกระดาษคำถาม โดยให้ความสำคัญ เช่น 1 ดอกจัน คือ สงสัย 2 ดอกจัน คือ สงสัยมาก เป็นต้น แต่ถึงแม้จะเป็นข้อสงสัยก็ต้องกากบาท (ฝนหรือระบาย) กระดาษคำตอบห้ามข้ามข้อ เพราะจะทำให้ไม่หลงลืมเมื่อทำไม่ทัน (เพราะหมดเวลา) หรืออาจจะทำให้สับสนกากบาทผิดข้อได้เพราะหากข้ามบางข้อ          

5) ในกรณีที่ข้อสอบบางข้อยากมาก ไม่สามารถทำได้ อย่าใช้เวลากับข้อนั้นๆ นานเกินไปจนทำให้เสียเวลา (เกิน3นาที) ต้องให้ความสำคัญกับข้อสอบทุกข้อ เพราะ ข้อสอบแต่ละข้อคะแนนเท่ากันและข้อสอบข้อถัดไปหรือข้อท้ายๆ อาจเป็นข้อสอบที่ง่าย จะทำให้เสียโอกาสถ้าทำไม่ทันเวลา ในกรณีเช่นนี้ก็ให้เดาตัวเลือก (ตามหลักการในหัวข้อต่อไป) ไปก่อนแต่ทำเครื่องหมายดอกจันเป็นจุดสังเกตในกระดาษคำตอบเอาไว้      
    
6) กรณีข้อสอบที่ต้องใช้วิธีคำนวณหรือจำเป็นต้องขีดเขียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้ขีดเขียนลงในกระดาษคำถามได้ (อย่าใส่ใจกับข้อห้ามที่บอกว่าห้ามขีดเขียนใดๆ ลงบนข้อสอบเกินไปนัก)          
7) เมื่อทำข้อสอบครบทุกข้อแล้ว หากยังเหลือเวลาให้กลับมาทบทวนข้อที่ยากหรือยังทำไม่ได้ โดยสังเกตจากข้อทำเครื่องหมายดอกจันเอาไว้        
  
8) ให้ทำข้อสอบจนหมดเวลา อย่าปล่อยเวลาให้เสียไป เพราะ เวลาทุกนาทีมีค่าสำหรับผู้เข้าสอบ          

9) เมื่อใกล้จะหมดเวลาสอบ (จะมีประกาศเสียงตามสายหรือกรรมการคุมห้องสอบบอก เช่น เหลือเวลา5 นาที) ให้ตรวจสอบกระดาษคำตอบอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเกี่ยวกับการกรอกชื่อ สกุลรหัสหรือเลขประจำตัวผู้เข้าสอบ การลงลายมือชื่อผู้เข้าสอบ (ถ้ามี) ได้ตอบข้อสอบ (กากบาท ฝนหรือระบายดินสอ) ทุกข้อหรือไม่         

10) หากใกล้หมดเวลาสอบแล้วยังทำไม่เสร็จ หรือข้อสอบจำนวนมาก ให้ใช้วิธีการเดา (รายละเอียดในหัวข้อถัดไป) และเผื่อเวลาไว้ 1-2 นาที เพื่อตรวจสอบตามที่กล่าวในข้อ 8 


เทคนิคการเดาคำตอบ
การเดาคำตอบเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับผู้เข้าสอบเลย แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นนักสอบมืออาชีพคงไม่ใช่วิธีการนับตัวเลข นับนิ้วมือ หมุนปากกา หรือหลับตาจิ้มดินสอลงบนข้อใดก็ตัดสินใจเลือกคำตอบนั้นแน่แต่ควรจะมีเทคนิคมีชั้นเชิงบ้าง โดยใช้เทคนิคการเดาคำตอบ ดังนี้

1)  ให้ตัดคำตอบที่ไม่เกี่ยวข้องออกให้มากที่สุด แล้วเลือกตัวเลือก
2)  ตัวเลือกที่ถูกทุกข้อ...ไม่มีข้อถูก...หรือบางข้อที่ถูก (ข้อ ก. ข้อ ข. ถูก) มักเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
3)  ตัวเลือกที่ข้อความยาวๆ มักเป็นตัวเลือกที่ถูก
4)  เลือกตัวเลือกโดยใช้ลำดับเนื้อหาตามหลักสูตรสอบฯ ว่าควรจะเป็นเรื่องใด
5)  เลือกตัวเลือกโดยสังเกตจากข้อที่ผ่านมา
6)  กรณีหมดเวลาแต่ข้อสอบยังเหลือจำนวนมาก ให้เดาตัวเลือกข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียว เช่น เดาตัวเลือก ง ในทุกข้อ

มีคนกล่าวติดตลกว่า คนที่สอบได้จะต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

เพราะคำสั่ง หรือ คำชี้แจงของข้อสอบชนิดเลือกตอบ มักบอกว่า

ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (x) หรือเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

หากเราเลือกข้อที่เราคิดว่าถูก แต่ ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ก็ไม่ได้คะแนน

นั่นหมายถึง ข้อนั้นผิด อาจจะทำให้สอบตกได้

ดังนั้น การเลือกคำตอบที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่เฉพาะรู้ หรือ ไม่รู้เท่านั้น

หากเป็นศาสตร์ และ ศิลป์ ที่ต้องเรียนรู้ถึงหลักและวิธีในการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

หมั่นฝึกฝน ฝึกทำข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เองถือเป็นเคล็ดลับอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ สอบครู.com
 
  • 23 เม.ย. 2558 เวลา 05:18 น.
  • 100,291

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^