LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

เบื้องหลัง! ประยุทธ์ ใช้มาตรา 44 ล้างบาง "ก.ศึกษาฯ -คุรุสภา-สกสค."

  • 19 เม.ย. 2558 เวลา 10:15 น.
  • 13,496
เบื้องหลัง! ประยุทธ์ ใช้มาตรา 44 ล้างบาง "ก.ศึกษาฯ -คุรุสภา-สกสค."

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"...การบริหารงานของ คุรุสภา ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับการออกใบอนุญาตควบคุมกำกับดูแลครู และ  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิประโยชน์ของครู ถูกมองว่าเป็นแดนสนธยา มาโดยตลอด เพราะมีอำนาจในการบริหารงานที่แยกเป็นเอกเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณ การแก้ไขโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยให้รัฐมนตรี เข้าไปกำกับดูแล ก็เพื่อให้กระบวนการตรวจเรื่องการใช้จ่ายเม็ดเงินในช่วงที่ผ่านมา และช่วงต่อไป ทำงานได้ง่ายขึ้น..."  

ในช่วงหัวค่ำวันที่ 17 เม.ย.58 ที่ผ่านมา นอกเหนือจาก "คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2558 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การ โยกย้ายตำแหน่งข้าราชการระดับสูงในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 6 คนรวด (รวมถึงตำแหน่งปลัดกระทรวงด้วย ) 

โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่า  เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 

บ่งชี้ให้เห็นชัดเจนว่า มาตรา 44 ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างเต็มที่แล้ว ในประเด็นเรื่องการสั่งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง โดยเริ่มต้นประเดิมที่กระทรวงศึกษาธิการ เป็นแห่งแรก 

ยังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อีกฉบับหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างอำนาจการบริหารงานขององค์กรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 3 แห่ง ออกตามมาพร้อมๆ กัน

และดูเหมือนคำสั่งฉบับนี้ จะพุ่งเป้าไปที่เรื่องการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ของกระทรวงศึกษา โดยเฉพาะ 

คำสั่งฉบับนี้ คือ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2558 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 

ระบุว่า เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

"ข้อ ๑ ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้อยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง

(๑) กรรมการคุรุสภาตามมาตรา ๑๒ (๑) (๓) (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

(๒) กรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา ๖๔ (๓)และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

(๓) กรรมการในคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

ทั้งนี้ มิให้มีการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาแทนที่ผู้ดำรงตำแหน่งข้างต้นจนกว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการคุรุสภาตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการ

ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย

ข้อ ๔ ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ได้ตามความเหมาะสม

ข้อ ๕ ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้อยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับหยุดการปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

(๑) เลขาธิการคุรุสภา
(๒) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๓) ผู้อำนวยการองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู
และบุคลากรทางการศึกษา

ข้อ ๖ ในระหว่างที่บุคคลตามข้อ ๕ หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณามอบหมายให้รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการในระดับเดียวกันขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามข้อ ๕ ไปพลางก่อน

ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตรวจสอบความถูกต้องและโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ การบริหารการเงินทรัพย์สิน และผลประโยชน์อื่นใด ของคุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินโครงการที่สำคัญภายใต้การดำเนินงานของบุคคลตามข้อ ๑ และข้อ ๕ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว

ข้อ ๘ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้วให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการตามข้อ ๑ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และเมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้คำสั่งนี้เป็นอันยกเลิก

ข้อ ๙ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ" 

หากจะย้อนข้อมูลการทำงานของ คณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ในช่วงที่ผ่านมา

จะพบว่าองค์กรทั้ง 3 แห่ง ประสบปัญหาถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความไม่โปร่งใสหลายเรื่อง อาทิ การเรียกรับเงินจากผู้เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนคุรุสภา , กรณีการจัดซื้อจัดจ้างเช่าเครื่องพิมพ์หนังสือเรียน ที่ล่าช้าและมีราคาสูงกว่าราคากลางมาก รวมถึงกรณีการรับฝากขายหนังสือจากบริษัทเอกชนรายใหญ่แห่งหนึ่ง

และล่าสุด กับกรณีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ซึ่งถูกร้องเรียนว่ามีการอนุมัติเงินกองทุนกว่า 2 พันล้านบาท ไปร่วมลงทุน ทำโครงการโรงงานไฟฟไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กับ บริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด ของนายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา หรือ เดอะบิ๊ก  นักธุรกิจชื่อดัง โดยไม่ถูกต้อง

และปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทั้งนี้ หากพิจารณารายละเอียดในคำสั่ง ซึ่งมีการระบุไว้ชัดเจนว่า ให้ เลขาธิการคุรุสภา , เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ,  ผู้อำนวยการองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู
และบุคลากรทางการศึกษา หยุดการปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

พร้อมสั่งการให้ คตร. เข้ามาตรวจสอบถูกต้องและโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ การบริหารการเงินทรัพย์สิน และผลประโยชน์อื่นใด ของ องค์กรทั้ง 3 แห่ง รวมถึงตรวจสอบการดำเนินโครงการที่สำคัญภายใต้การดำเนินงานของบุคคลเหล่านี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ชี้ให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ น่าจะต้องมีข้อมูล ความไม่ชอบมาพากล ขององค์กร ทั้ง 3 แห่ง อยู่ในระดับหนึ่ง และข้อมูลอาจจะมีความเชื่อมโยงไปถึงตัวของผู้บริหารของบางองค์กรด้วย จึงทำให้ต้องมีการออกคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว เพื่อไม่ให้มีอำนาจเข้ามียุ่งเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบของ คตร.

ขณะที่ การบริหารงานของ คุรุสภา ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับการออกใบอนุญาตควบคุมกำกับดูแลครู และ  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิประโยชน์ของครู ถูกมองว่าเป็นแดนสนธยา มาโดยตลอด เพราะมีอำนาจในการบริหารงานที่แยกเป็นเอกเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณ การแก้ไขโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยให้รัฐมนตรี เข้าไปกำกับดูแล

เพื่อให้กระบวนการตรวจเรื่องการใช้จ่ายเม็ดเงินของทั้ง 3 องค์กร ในช่วงที่ผ่านมา และช่วงต่อไป ทำงานได้ง่ายขึ้น     

ส่วนผลการปฏิบัติงานหลังการออกคำสั่ง คสช. ในส่วนของกระทรวงศึกษาฯ จะออกมาเป็นอย่างไร "ใคร" ที่จะต้องถูกเชือดไก่ ให้ลิงดู เป็นรายแรก กับปฏิบัติการใช้อำนาจมาตรา 44 ล้างขั้วอำนาจเก่า รวมถึงการสะสางปัญหาทุจริต ครั้งนี้ ยังไม่มีใครบอกได้ชัดเจน 

แต่เบื้องต้น มีกระแสข่าวยืนยันจากทำเนียบรัฐบาล ยืนยันออกมาว่า  ในช่วงก่อนที่จะมีการออกคำสั่งคสช. ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 2 ฉบับ ออกมา 

พล.อ.ประยุทธ์ ได้เชิญตัวแทน จากหน่วยงานด้านตรวจสอบ อาทิ สำนักงาน ปปท. และ สตง. เข้าไปหารือ เกี่ยวกับรายชื่อของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 100 คน ที่ถูกระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น   

โดยเบื้องต้น พล.อ.ประยุทธ์ มีนโยบายว่าบรรดารายชื่อ ที่ถูกเสนอมา จะมีการใช้มาตรการโยกย้ายให้ออกไปจากตำแหน่งก่อน และให้หน่วยงานเข้าไปตรวจสอบหาหลักฐานการกระทำความผิดที่ชัดเจนอีกครั้ง เพื่อให้ปฏิบัติการครั้งนี้ ไม่ให้ถูกโจมตีว่าเป็นการใช้อำนาจมากเกินไป

และปล่อยให้กระบวนการตรวจสอบได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่

ผู้ถูกกล่าวหา จะไปร้องเรียน "กล่าวโทษ" ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ทำได้ยากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากจำนวนรายชื่อ ขรก. 100 คน ที่ถูกคัดกรองมาในระดับหนึ่ง ที่อยู่ในมือของพล.อ.ประยุทธ์ เวลานี้  ซึ่งมีทั้งจากหน่วยงานในส่วนกลาง -ต่างจังหวัด รวมถึงรูปแบบวิธีการจัดการปัญหาทั้งระบบ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่บรรดาข้าราชการระดับสูง ในกระทรวงใหญ่หลายแห่ง รวมถึงในระดับจังหวัด  ถึงกับออกอาการเก้าอี้ร้อนนั่งไม่ติด รีบเช็คข่าวกันเป็นมือระวิง

เพราะเริ่มพอจะเห็น "ชะตา" "รู้อนาคต" กันแล้วว่า "มหันตภัย" จาก "กรรมเก่า" ที่เคยทำไว้ในอดีต กำลังจะเดินทางมาถึงตัวในเร็วๆ นี้ 


ที่มาของข่าว : สำนักข่าวอิศรา วันเสาร์ ที่ 18 เมษายน 2558 เวลา 12:13 น.
  • 19 เม.ย. 2558 เวลา 10:15 น.
  • 13,496

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^