LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

7 องค์กรร่วมทุนเกือบพันล้าน พัฒนาSTEMครู-นักเรียน

  • 16 เม.ย. 2558 เวลา 13:13 น.
  • 2,229
7 องค์กรร่วมทุนเกือบพันล้าน พัฒนาSTEMครู-นักเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

7 องค์กรภาครัฐ-เอกชนเปิดตัวโครงการ “Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต" โดยใช้เงินลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณเกือบ 1 พันล้าน ในระยะ 5 ปีพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียน ครูทั่วประเทศ โดยมีมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจากสหรัฐเป็นพี่เลี้ยงโครงการ หวังเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขัน พัฒนาทักษะการทำงานของผู้เรียน รองรับการเปิดเออีซี

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย เปิดตัวโครงการ “EnjoyScience : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย “รัฐร่วมเอกชน” โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Math) หรือ STEM ทั้งในระบบการศึกษาสายสามัญและการศึกษาสายอาชีพครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นระยะเวลา 5 ปี ด้วยงบประมาณรวมกว่า 900 ล้านบาท

นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เผยว่า เชฟรอนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่จะเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ STEM ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สอดรับกับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ จึงเป็นที่มาของโครงการ “Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ที่มุ่งยกระดับการเรียนการสอนด้าน STEM ตลอดทั้งระบบ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคสังคม และภาคการศึกษาต่างๆ ในด้านการศึกษาสายสามัญ เริ่มจากการพัฒนาผู้สอนและหลักสูตรในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมต้น ให้มีทักษะการสอนแบบตั้งคำถามและการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เยาวชนเห็นว่าวิชาเหล่านี้เป็นเรื่องสนุกและใกล้ตัว และเพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 ที่รู้จักคิด วิเคราะห์ ตั้งคำถาม และกล้าแสดงออก

นอกจากนั้นโครงการจะยังดำเนินงานอย่างเข้มข้นในการเรียนการสอนสายอาชีพควบคู่ไปด้วย เพื่อพัฒนาบุคลากรที่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาของประเทศในระยะยาวในอุตสาหกรรมสำคัญต่างๆ ให้มีทักษะที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน ด้วยการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน และสานความร่วมมือแบบรัฐร่วมเอกชน เพื่อให้เยาวชนและครูผู้สอนได้รับความรู้และประสบการณ์จริงที่ตรงกับสายงานที่ภาคเอกชนต้องการ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการว่างงาน เพิ่มรายได้ และในขณะเดียวกันก็ลดการขาดแคลนแรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรมอีกทางหนึ่ง

"นอกจากนั้นเราจะยังมีกิจกรรมต่างๆ อีกมากมายที่จะช่วยเสริมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน ไม่ว่าจะเป็นการจัดค่ายการประกวดการประชุม สัมมนา หรือการจัดงานมหกรรมการเรียนรู้ขึ้น”

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายที่ต้องการเสริมสร้างสังคมนวัตกรรมส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะในสาขา STEM และส่งเสริมการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน เชฟรอนและ สวทช.เองได้ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2557 ในการสนับสนุนเยาวชนไทยให้ไปร่วมเข้าค่ายอวกาศระดับนานาชาติ โดยต้องยอมรับว่าไทยยังลงทุนด้านการวิจัยน้อย เพียง 1% ของจีดีพี และเห็นว่าภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมสนับสนุนการวิจัยในสัดส่วน 70% ขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องสร้างแรงจูงใจ เช่น การลดหย่อนภาษีให้ภาคเอกชน และกระตุ้นให้นักวิจัยถ่ายทอดความรู้ให้เอกชน เรียกว่านักวิจัยและเอกชนควรมีการร่วมมือที่เหนียวแน่นยิ่งขึ้น

"เรื่อง STEM เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าดูสัดส่วนนักวิจัยพบว่า อยู่ภาครัฐ 83% อยู่ภาคเอกชนเพียง 17% ดังนั้นเราต้องปลดล็อกให้นักวิจัยไปทำงานภาคเอกชนได้ และ STEM จะทำให้เกิดทักษะเชิงเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นหลายเท่า ดังนั้นจึงควรมีการร่วมมือ 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนโครงการนี้"

นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า แม้ว่าตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้พัฒนาและมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยังคงเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงาน ที่มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์อย่างต่อเนื่อง พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราจึงควรทำให้เด็กสนใจ จนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเด็กมีพื้นฐานและคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี จึงป็นที่มาของความร่วมมือโครงการ มูลค่า 30 ล้านเหรียญฯ ระยะเวลา 5 ปี พัฒนานักเรียน 3 แสนคน และครูหลายหมื่นคน ซึ่งเป็นเมะโปรเจ็กต์ใหญ่ที่สุดเท่าที่สถาบันคีนันฯ เคยทำงาน โดยมีมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน 56 จังหวัดช่วยขับเคลื่อน และมีมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจากสหรัฐอเมริกาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งจะเป็นการเรียนแบบยึดเด็กเป็นตัวตั้ง และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจะช่วยพัฒนานักเรียน รวมทั้งประเมินความเข้าใจ ทักษะของนักเรียน

"ทำไมวันนี้เราต้องทำเรื่อง STEM เพราะเราอยู่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเราตั้งเป้าในอีก 5 ปีจะต้องมีการยกระดับทั้งความคิด วิธีการทำงาน และวิถีชีวิต เป็นการเตรียมการนักเรียนของเราให้เข้าสู่สนามทำงาน ไม่ใช่ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร เตรียมเพื่อรองรับเศรษฐกิจแบบเออีซี ซึ่งคนทำงานต้องมีศักยภาพ ทำงานในต่างประเทศได้ เราจึงต้องคิดไม่ใช่สร้างความรู้เท่านั้น แต่ต้องสร้างทักษะ ส่วนวิธีของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเคยนำมาใช้แล้วในสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่านักเรียนเขาไม่ตกงานเลย"

นายปิยะบุตรกล่าวอีกว่า นอกจากนี้เรายังต้องสร้างกำลังคนไว้รองรับเมกะโปรเจ็กต์ที่เป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในประเทศ เช่น รถไฟความเร็วสูง เป็นต้น และถ้ามีการลงทุน แต่ไม่มีคนรองรับ ก็จะเป็นปัญหาอาจทำให้โครงการล่าช้าได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงต้องผนวกความร่วมมือ และเป็นครั้งแรกที่ 7 องค์กรภาครัฐ เอกชน ที่มาบูรณาการร่วมกัน.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 16 เมษายน 2558

  • 16 เม.ย. 2558 เวลา 13:13 น.
  • 2,229

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^