LASTEST NEWS

23 ธ.ค. 2567ข่าวดี! โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เพชรบูรณ์ ประกาศหยุดพิเศษ 2-3 ม.ค. 68 เปิดโอกาสใช้เวลาอบอุ่นกับครอบครัวช่วงปีใหม่ ยาว ๆ 9 วันเต็ม 23 ธ.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 23 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านหนองบัว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 ธันวาคม 2567 21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567

"O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร"

  • 03 มี.ค. 2558 เวลา 08:22 น.
  • 2,777
"O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

 “O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร” คลิปแนะครูไทย
เปลี่ยนวิธีสอนเด็กแบบท่อง-จำ
 
 
นศ.มจธ.ทำคลิปแนะครูไทยแก้ปัญหาการศึกษาไม่ต้องรอนโยบาย หยุดโทษเด็กแล้วมาเริ่มต้นที่ “ตัวครู” เปลี่ยนมุมมอง ความคิด วิธีสอน และวิธีประเมินนำเสนอด้วยเนื้อหาที่ทำให้ครูเกิดความตระหนักหากยังสอนเด็กแบบเดิม เด็กท่องได้ จำได้ แต่ใช้ไม่เป็น ความรู้ก็สูญเปล่า
 
 
 “การศึกษาไทย” เป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องเร่งแก้ไข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่งกำลังตระหนักกับปัญหานี้ทั้งในระดับนโยบายและฝ่ายปฏิบัติ แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่รับรู้อยู่กับเรื่องปัญหาการศึกษาอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและแก้ไข
 
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นสถาบันการศึกษาที่ยึดหลักการเรียนรู้แบบ Active Learning มาโดยตลอดซึ่ง ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มจธ.เป็นหนึ่งในบุคคลที่ให้ความสำคัญกับการสร้างครู กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบ Active Learning ผู้เรียนต้องสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองผ่านกิจกรรม เกม และทุกสิ่งรอบตัว หรือ case study ต่างๆ โดยมี “ครู” เป็นจุดเริ่มต้น
 
 
“สำหรับ active learning ที่แท้จริงผมมองว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่การประเมินผลผู้เรียนเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากเราไปนั้น เขาสามารถจัดการกับความรู้ที่ได้ไปอย่างถูกต้องตามจุดประสงค์ที่เราตั้งไว้หรือไม่หรือสามารถแจกแจงและต่อยอดความรู้ไปอย่างไร ดังนั้นการประเมินที่ธรรมดาทั่วไปมันจะไม่สร้างคุณค่า และเพื่อให้เกิดความท้าทายความรู้จึงต้องหาเวทีเพื่อให้คนนอกเป็นผู้ร่วมชี้วัด” ดร.ปกรณ์ กล่าว
 
 
และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบและการประเมินผลที่ชัดเจนวศินี ตัวลือ นันทรัตน์ อัศวภักดี และปราณี แก้วใหญ่ 3 นักศึกษาปริญญาโท จากสาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (มจธ.) ได้รวมตัวกันภายใต้ทีมที่ชื่อว่า “นกแก้วนกขุนทอง”เพื่อเข้าแข่งขันการประกวดคลิปวีดีโอในแนวคิด “การศึกษาไทย เอาไงดีวะ!?” ซึ่งจัดขึ้นโดย iLAW หรือ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนโดยคลิปดังกล่าวสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศมาได้สำเร็จจากจำนวนผู้เข้าประกวดทั้งสิ้น 24 ทีมทั่วประเทศ
 
 
“สำหรับโจทย์การแข่งขันเกี่ยวกับวิธีการหรือแนวคิดที่จะช่วยแก้ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน และเนื่องจากเราทุกคนเรียนครู เราเป็นครู ดังนั้นเราจึงมองปัญหาในมุมของครู ซึ่งพบว่าปัญหาเกิดขึ้นกับตัวเด็กจริง แต่ไม่ได้เกิดจากเด็กโดยตรงเราเห็นคะแนนสอบ O-net ของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งๆ ที่เราก็ตั้งใจสอนเต็มที่แต่ทำไมเด็กถึงทำคะแนนสอบไม่ได้ดี” ปราณี กล่าว
 
 
นันทรัตน์ กล่าวเสริมถึงการนำเสนอในคลิปวีดีโอนี้ว่า “ได้แนวคิดจากการเรียนแบบ active learning ในห้องเรียน มีกระบวนการสอนที่หลากหลายและสามารถนำมาบูรณาการเพื่อให้เกิดเป็นผลงานขึ้นมา การที่ครูสอนด้วยวิธีเดิมๆ สอนตามหนังสือเรียนเน้นการจดและท่องจำนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กขาดการคิดและวิเคราะห์ เพราะเด็กท่องได้ จำได้แม่น แต่นำไปใช้ไม่เป็น และบทเรียนนั้นก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้นคลิปวีดีโอนี้จึงทำขึ้นมาโดยมีเนื้อหาเพื่อเตือนสติให้ครูได้กลับมาย้อนดูวิธีการสอนของครูเอง ให้ลองเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการสอน เพราะจากการเปลี่ยนแปลงของครูอาจนำมาซึ่งหลายสิ่งที่ดีขึ้นก็เป็นได้“
 

           
 
“O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร”....เป็นชื่อคลิปวีดีโอของน้องๆ นักศึกษาทีมนกแก้วนกขุนทอง เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนถึงปัญหาการศึกษาในมุมมองของครู นอกจากปัจจัยภายนอกในด้านภาระงานต่างๆ ที่เบียดเบียนเวลาการสอนของครูแล้ว ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวครูเองที่ยังติดกับรูปแบบการสอนแบบเดิมๆ ดังนั้น จุดประสงค์ของคลิปวีดีโอชุดนี้ คือสร้างความตระหนักให้กับครูเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง....
 
 
ดร.ปกรณ์ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษากล่าวเสริมแนวคิดของคลิปวีดีโอนี้ว่า “การจะพัฒนาชาติหลายคนว่าต้องพัฒนาที่เด็ก แต่หากย้อนกลับไปที่ต้นตอจริงๆ ครูต่างหากที่ต้องพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เกิดการสอนที่มุ่งไปข้างหน้าสอดคล้องกับเป้าหมายหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยคือวิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนที่ครู เพราะหากครูยังติดอยู่กับการสอนแบบเดิมๆ การจดและท่องจำแบบที่ผ่านมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การศึกษาไทยไม่ก้าวหน้า ดังนั้นการจะสอนคนให้เป็นครูนั้นเราต้องเป็นต้นแบบของครูให้ได้เสียก่อน”
 
 
ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมคลิปวีดีโอของทีมนกแก้วนกขุนทองได้ทาง youtube โดยพิมพ์คำว่า “O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร” และคลิปวีดีโอนี้อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของครูอีกหลายคนเพื่อการพัฒนาลูกศิษย์ต่อไปก็เป็นได้
 
 
  • 03 มี.ค. 2558 เวลา 08:22 น.
  • 2,777

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร"

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^