โพลล์แฉครูกั๊กความรู้ บีบนร.ไปกวดวิชา ที่รับเปิดสอนเอง
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ในด้านพฤติกรรมการให้บุตรหลานไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชา
>> กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.82 ระบุว่าในปัจจุบันตนเองให้บุตรหลานในปกครองไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชานอกเหนือจากการเรียนในสถาบันการศึกษาปกติ
>> ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.1 ไม่ให้ไปเรียน
สำหรับสาเหตุสำคัญสูงสุด 3 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างให้บุตรหลานในปกครองไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชาได้แก่
>> ต้องการให้บุตรหลานได้เตรียมความพร้อมเพื่อการสอบในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82.64
>> ต้องการให้บุตรหลานเพิ่มทักษะความรู้ในวิชานั้นๆ คิดเป็นร้อยละ 80.03 และ
>> ต้องการให้ผลการเรียนบุตรหลานดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 76.58
ส่วนสาเหตุสำคัญสูงสุด 3 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างไม่ให้บุตรหลานไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชาคือ
>> ไม่มีความจำเป็นต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมคิดเป็นร้อยละ 82.76
>> สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 79.31 และ
>> กลัวบุตรหลานไม่ได้ไปเรียนพิเศษจริงๆคิดเป็นร้อยละ 77.98
>> กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.41 มีความคิดเห็นว่าโรงเรียนกวดวิชาจะมีส่วนช่วยทำให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะความรู้ในวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นได้จริง
>> แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.76 ไม่เห็นด้วยว่าโรงเรียนกวดวิชามีส่วนช่วยให้นักเรียนนักศึกษาใช้เวลาทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น เล่นเกม เที่ยวเตร่ น้อยลง
>> นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 47.14 มีความคิดเห็นว่าการสอนในโรงเรียนกวดวิชาของครูอาจารย์จะส่งผลให้ครูอาจารย์เหล่านั้นให้ความสนใจ/มีสมาธิกับการสอนในชั้นเรียนน้อยลง
>> ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.71 คิดว่าไม่ส่งผล
>> ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.15 ไม่แน่ใจ
>> ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.67 มีความคิดเห็นว่าการสอนเพิ่มเติมในโรงเรียนกวดวิชาของครูอาจารย์จะมีส่วนทำให้ครูอาจารย์ผู้นั้นเอาใจใส่/ให้ความสนใจนักเรียนนักศึกษาที่ไปเรียนกวดวิชากับตนเองมากกว่านักเรียนนักศึกษาที่ไม่ได้ไปเรียน
ในด้านความรับรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้กับโรงเรียนกวดวิชา
>> มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 45.97 ที่ทราบข่าวที่จะให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากโรงเรียนกวดวิชา
>> ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.03 ไม่ทราบ
>> กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามซึ่งคิดเป็นร้อยละ 67.72 เห็นด้วยที่จะให้มีการเก็บภาษีเงินได้กับโรงเรียนกวดวิชา
>> ส่วนกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.75 มีความคิดเห็นว่าการเก็บภาษีเงินได้กับโรงเรียนกวดวิชาจะไม่ส่งผลกับการตัดสินใจของตนเองในการให้/ไม่ให้บุตรหลานเรียนที่โรงเรียนกวดวิชา และ
>> กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 59.75 มีความคิดเห็นว่าหากโรงเรียนกวดวิชาขึ้นค่าเรียนอันเนื่องมาจากการถูกเก็บภาษีเงินได้จะไม่ส่งผลให้มีนักเรียนนักศึกษาไปเรียนน้อยลง