LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

สมศ.เผยใช้เวลาประเมินเฉลี่ย 5 ชม.ต่อปีไม่กระทบเวลาสอนครู

  • 23 ม.ค. 2558 เวลา 09:48 น.
  • 1,684
สมศ.เผยใช้เวลาประเมินเฉลี่ย 5 ชม.ต่อปีไม่กระทบเวลาสอนครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สมศ.เผยใช้เวลาประเมินเฉลี่ย 5 ชม.ต่อปีไม่กระทบเวลาสอนครู
 
          สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เผยในปี 2558 ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 4 มาตรฐาน ได้แก่ ผลการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการ และการประกันคุณภาพภายใน ตามกฎหมายปัจจุบัน สมศ. ทำหน้าที่การประเมินคุณภาพและมาตรฐานดังกล่าวโดยใช้เวลาในการประเมินสูงสุดเพียง 3 วัน ใน 5 ปี หรือเฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปี พร้อมแนะนำ 5 วิธีสู่การเป็นครูในบริบทของประชาคมอาเซียน
 
          ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า ในปี 2558 ประเทศไทยมีจำนวนครูอาจารย์ทุกระดับชั้นกว่า 660,000 คน จำนวนสถานศึกษาทุกประเภท 38,010 แห่ง และจำนวนนักเรียน นักศึกษาทุกระดับชั้นกว่า 13 ล้านคน โดยสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนบุคลากรทางการศึกษาจำนวนมากดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยตัวแปรสำคัญในการสร้างมาตรฐานการศึกษาคือสถานศึกษาและคณาจารย์ โดยที่ผ่านมา กฎหมายกำหนดให้มีหน่วยงานอิสระภายนอกทำการประเมินมาตรฐานการศึกษา ได้แก่ สมศ. ทำหน้าที่ในการสะท้อนคุณภาพของสถานศึกษา โดยประเมินผ่านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร ฯลฯ ให้เห็นภาพรวมคุณภาพการจัดการศึกษาทั้ง 4 มาตรฐานตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ผลการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการ และการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งใช้เวลาในการประเมินสูงสุดเพียง 3 วัน ในทุกๆ 5 ปี หรือเฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปี โดยกระบวนการประเมินของ สมศ. ในวันที่ 1 จะเริ่มจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมิน หลังจากนั้นตลอดทั้ง 3 วัน จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารหลักฐานและระบบสารสนเทศ ในวันสุดท้ายเป็นการรายงานผลประเมินด้วยวาจาโดยบอกจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษา ให้ข้อเสนอแนะ และชี้ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาต่อบุคลากรในสถานศึกษานั้นๆ
 
          ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการประเมินดังกล่าว สมศ. ตระหนักถึงความแตกต่างของความพร้อมของสถานศึกษา โดยต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่สถานศึกษาบางแห่งยังขาดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อการสร้างความพร้อมในระยะยาวของระบบการศึกษาไทย สถานศึกษาโดยเฉพาะคณาจารย์ ต้องให้ความสำคัญในการสร้างมาตรฐานของสถานศึกษาในทุกมิติ ซึ่งจะสะท้อนถึงศักยภาพของลูกศิษย์ อันจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ สมศ. จึงแนะนำ 5 วิธีสู่การเป็นครูในบริบทของประชาคมอาเซียน ดังนี้
 
         การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา อันได้แก่ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดเป็นระบบ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมและเป็นระบบ การร่วมกันวางแผนและร่วมกันปรับปรุง ร่วมกันปฏิบัติตามแผนร่วมกันตรวจสอบประเมินผล โดยใช้ผลจากการประเมินมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการตนเอง การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทันโลก และนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
 
          ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวสรุปว่า ปัจจุบันครูไทยนอกจากการเตรียมการสอน การพัฒนาระบบการสอน การให้คำปรึกษานักเรียนนักศึกษา การประกันคุณภาพภายใน ฯลฯ อันเป็นหน้าที่พื้นฐาน ยังต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อสร้างผลงานให้สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษาเพื่อให้รางวัลพิเศษอื่นๆ อาทิ การพัฒนา 6 ด้านเพื่อรับรางวัลโรงเรียนพระราชทานของกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนา 63 ตัวชี้วัด เพื่อรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข รางวัลโรงเรียนศรีตำบล รางวัลโรงเรียนในฝัน และรางวัลต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สมศ. เล็งเห็นประโยชน์จากการได้รางวัลดังกล่าว โดยสถานศึกษาต้องประเมินความพร้อมตามบริบทของโรงเรียนและสถานศึกษาตนเองที่มีความสอดคล้องกับรางวัลดังกล่าว ไม่ใช่สร้างเนื้อหาให้สอดคล้องเพียงเพื่อรับการประเมิน ซึ่งจะส่งผลต่อภาระที่เพิ่มภาระให้แก่บุคลากรครู
 
          อย่างไรก็ตาม สมศ. มุ่งหวังให้ประเทศไทยมีหน่วยงานวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ สะท้อนความเป็นจริงของปัญหาระบบการศึกษาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยปัจจุบันประเทศไทยมีแต่งานวิจัยที่ด้อยคุณภาพ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษา อันเกิดจากหัวข้อวิจัยไม่เป็นประโยชน์ การหยิบยกกลุ่มตัวอย่างที่ผิดหลักการวิจัย การออกแบบการวิจัย ฯลฯ อันจะชี้นำสังคมไปทางที่ผิด ทั้งนี้งานวิจัยที่ สมศ. มุ่งหมายให้มีเกิดขึ้น ได้แก่ การวิจัยการนำผลการประเมินของหน่วยงานประเมินไปใช้จริงในสถานศึกษา การเปรียบเทียบเรื่องการประเมินมาตรฐานการศึกษาในสถานศึกษาในอาเซียน
 
 
  • 23 ม.ค. 2558 เวลา 09:48 น.
  • 1,684

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สมศ.เผยใช้เวลาประเมินเฉลี่ย 5 ชม.ต่อปีไม่กระทบเวลาสอนครู

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^