LASTEST NEWS

30 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 เปิดสอบพนักงานราชการครู 10 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 6-12 มกราคม 2568 30 ธ.ค. 2567​​​​​​​สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งนักพัฒนาสังคม วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 มกราคม 2568 30 ธ.ค. 2567สพป.นราธิวาส เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 9 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 13-17 มกราคม 2568  30 ธ.ค. 2567โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 3 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 3-16 มกราคม 2568 30 ธ.ค. 2567"คุรุสภา" เปิดรายชื่อผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ปี 68 30 ธ.ค. 2567วันหยุดมกราคม 2568 เช็กวันสำคัญ วันเด็ก วันครู วันตรุษจีน 30 ธ.ค. 2567“เพิ่มพูน” ส่งท้ายปี 2567 ศธ. มอบของขวัญปีใหม่ ย้ำความปลอดภัยบริเวณสถานศึกษาต้องมาเป็นอันดับแรก 29 ธ.ค. 2567สพป.นราธิวาส เขต 1 เปิดสอบพนักงานราชการครู จำนวน 3 อัตรา วุฒิปริญญาตรี 18,000.-บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 13 - 17 มกราคม 2568 29 ธ.ค. 2567โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอบพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ - 3 มกราคม 2568  (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  29 ธ.ค. 2567สพม.สระบุรี เปิดสอบพนักงานราชการครู และพนักงานราชการนักวิชาการเงินและบัญชี จำนวน 2 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 6-10 มกราคม 2568

สมศ.จวกยับผลวิจัย สสค.ใช้ไม่ได้

  • 21 ม.ค. 2558 เวลา 09:22 น.
  • 1,459
สมศ.จวกยับผลวิจัย สสค.ใช้ไม่ได้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“ชาญณรงค์”บ่นอุบผลวิจัย สสค.ทำสังคมเข้าใจคลาดเคลื่อน ใช้ฐานคิดผิด ชี้หากครูวางแผนการสอนตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว ด้าน “ไกรยศ” ยันผลวิจัยเป็นไปตามหลักวิชาการ หากไม่เชื่อแนะให้ลงพื้นที่ เชื่อความจริงจะปรากฏ
 
วันนี้ (20 ม.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ตามที่งานวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ระบุว่ากิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุดเป็นอันดับแรกคือ การประเมินจากหน่วยงานภายนอก 43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น ตนขอชี้แจงว่า ผลวิจัยดังกล่าวน่าจะมีความคลาดเคลื่อน และเป็นงานวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ เพราะดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว ซึ่งในแผนภูมิอธิบายผลใช้ฐาน 1 ปี แต่การประเมินของ สมศ. เข้าไปประเมิน 1 ครั้งใน 5 ปี และ 1 ครั้ง เข้าไปประเมิน 3วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้นจะมาคิดรวมอยู่ในฐาน 1 ปีไม่ได้
 
“ผลวิจัยดังกล่าวชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก ทำให้สังคมเข้าใจคลาดเคลื่อน เมื่อชี้นำผิดแบบนี้ สมศ.ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ และไม่สามารถนำไปใช้ได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้นคุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวและว่า ความจริงแล้ว หากครูดำเนินไปตามข้อปฏิบัติที่ต้นสังกัดกำหนด มีการวางแผนการสอนอยู่ตลอดเวลา เมื่อ สมศ.เข้ามาประเมินก็สามารถใช้เอกสารเหล่านั้นได้เลย โดยไม่ต้องเตรียมตัว แต่ชีวิตจริงครูส่วนหนึ่งไม่ได้ทำแบบนี้เลย สอนโดยไม่บันทึก ไม่มีแผนการสอน เมื่อ สมศ.มาประเมินก็ต้องมานั่งทำเอกสาร ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ
 
ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้นผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่เราก็นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน
 
“ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค.ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้นอยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ”ดร.ไกรยศ กล่าว
 
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วย รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า หากมองแบบเป็นกลางจะพบว่าทั้งข้อมูลการวิจัยของ สสค. และประเด็นที่ สมศ.ยกขึ้นมาชี้แจงนั้น ไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด แต่เป็นตัวเลขการสำรวจครูบางกลุ่ม ดังนั้นต้องยอมรับว่า ไม่มีงานวิจัยใดที่สมบูรณ์จึงไม่ควรเสียเวลากับเรื่องวันที่ใช้มากน้อยเพียงใด แต่สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึกกังวลใจ และความทุกข์ของครูที่เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการประเมิน ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือ การช่วยกันทบทวนการประเมิน เรื่องตัวชี้วัดต่างๆว่ามีคุณภาพเพียงพอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพหรือไม่ และไม่เป็นภาระให้ครูด้วย.
 
 
  • 21 ม.ค. 2558 เวลา 09:22 น.
  • 1,459

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สมศ.จวกยับผลวิจัย สสค.ใช้ไม่ได้

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^