LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย “เกาไม่ถูกที่คัน”

  • 24 ธ.ค. 2557 เวลา 07:25 น.
  • 2,419
ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย “เกาไม่ถูกที่คัน”

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย “เกาไม่ถูกที่คัน”
 
หากไม่มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโอกาสที่ระบบการศึกษาไทยจะพัฒนาจะต้องหยุดชะงัก
 
 
นักวิชาการอิสระแนะการพักการประเมินคุณภาพภายนอกการศึกษา เป็นเวลา ๓ ปีนั้นแก้ไม่ถูกจุด  โดยวัดจากคุณภาพของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก สะท้อนให้เห็นว่ายังอ่อนด้อยกว่าประเทศอื่น ดังนั้นหากไม่มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโอกาสที่ระบบการศึกษาไทยจะพัฒนาจะต้องหยุดชะงักลง 
 
 
ผศ.จำรูญ  ณ ระนอง  นักวิชาการอิสระ  เปิดเผยถึงกรณีที่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (กพฐ.) เสนอให้ สมศ. หยุดการประเมิน ๓ ปี เพื่อปรับปรุงวิธีการประเมินให้เหมาะสม ว่า  หากมีการหยุดหรือชะลอการประเมินออกไป ยิ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาให้สาหัสขึ้นกว่าทุกวันนี้  ซึ่งปัจจุบันนี้คุณภาพการศึกษาของไทยล้าหลัง และอ่อนด้อยกว่าประเทศอื่นทั้งในระดับอาเซียน  และระดับโลกมาก  เห็นได้จากผลการจัดอันดับ
 
มหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษ ของ QS World University Ranking  ในปี ๒๕๕๗  มหาวิทยาลัยไทยติดระดับนานาชาติ ๕๐๐ อันดับแรก เพียงแค่ ๒ แห่งเท่านั้น และในระดับภูมิภาคอาเซียน ที่มีการเก็บข้อมูล ๘ ประเทศ พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับสุดท้ายของการจัดอันดับ ซึ่งเป็นวิกฤติของชาติที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด และต้องรีบแก้ไขเร่งด่วน  แต่ตอนนี้เรากำลังหลงทาง และแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เกาไม่ถูกที่คัน
         
 
ทั่วโลกยอมรับว่าคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาจะเกิดได้  เมื่อสถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายใน  มีการควบคุมด้วยตนเองและต้นสังกัด  ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ปกครอง  ชุมชน สังคมและรัฐบาล  สำหรับการตรวจสอบจากภายนอกเพื่อยืนยันสภาพที่เป็นจริง แล้วชี้แนะให้นำผลประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ  ทั้งยังเป็นการกระตุ้นสถานศึกษาไม่ให้เกิดความเฉื่อยชา หรือชะล่าใจในเรื่องคุณภาพอีกด้วย  ดังนั้น การประเมินคุณภาพภายนอกโดย สมศ.
 
จึงเป็นสิ่งปลุกเร้าให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติภารกิจให้มีการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและต่อเนื่อง  จะส่งผลให้การศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง  ดังนั้น  การที่นักการศึกษาบางกลุ่มต้องการพัฒนาการศึกษา โดยเสนอให้ยุบหรือระงับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่มีผลงานประจักษ์ชัดในการกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา
 
คือ สมศ. นั้น  เป็นการแก้ปัญหาแบบหลงทาง  มองไม่ออกว่าอันใดเป็นเหตุเป็นผลหรือพูดง่ายว่า “เกาไม่ถูกที่คัน”   การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง คือ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันสนับสนุนให้สถานศึกษาได้มีการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และต่อเนื่อง  นั่นแหล่ะจะทำให้เกิดสถานศึกษาคุณภาพอย่างแท้จริง  เช่นนี้แหล่ะจึงจะกล่าวได้ว่า “เกาถูกที่คันแล้ว” 
 
 
ผศ.จำรูญ   กล่าวต่อว่า   การให้ สมศ. ปรับการประเมินใหม่ เป็นแบบสุ่มตรวจประเมินสถานศึกษานั้น  ไม่สามารถบอกได้เลยว่าแต่ละสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการประเมินมีคุณภาพอย่างไร  มีจุดใดบ้างที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา และจะต้องพัฒนาอย่างไร (จะต้องให้มีการนั่งเทียน เดาสภาพและคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอย่างนั้นหรือ) 
      
 
นอกจากนี้ที่กล่าวอ้างและสนับสนุนกันว่าการประเมินภายนอกเป็นภาระให้ครู/อาจารย์ทำเอกสาร ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการทำฐานข้อมูลของสถานศึกษา  โดยสถานศึกษาต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปีนั้น  เป็นการเข้าใจผิดพลาดของสังคม  เพราะการดำเนินงานเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องของการประกันคุณภาพภายใน 
 
ซึ่งเป็นภารกิจตามกฎหมายของสถานศึกษาและต้นสังกัดต้องควบคุมโดยเข้าประเมินภายในอย่างน้อย ๑ ครั้งในทุกๆ๓ ปี และต้องสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในสถานศึกษา  สมศ.เข้าประเมินภายนอก ๑ ครั้ง(๓ วัน) ในทุก  ๕ ปี (๑,๘๒๖ วัน)  เท่ากับ สมศ. ประเมินสถานศึกษาเพียง ๓ วัน ในเวลา ๑,๘๒๖ วัน  โดยพิจารณาความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  และแนะนำให้นำผลประเมินไปใช้เพื่อพัฒนา 
 
ฉะนั้นภาระหนักอึ้งในการทำเอกสารของครู/อาจารย์ที่เข้าใจกันว่าเป็นเหตุจากการประเมินภายนอกของ สมศ.   จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันสร้างความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจให้มีการทำประกันคุณภาพภายในให้เข้มแข็งต่อเนื่อง เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ  นั่นแหล่ะจึงจะสามารถทำให้การศึกษาชาติเกิดการพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมได้อย่างแท้จริง ไม่หลงทิศหลงทางอยู่ อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
 
 
  • 24 ธ.ค. 2557 เวลา 07:25 น.
  • 2,419

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย “เกาไม่ถูกที่คัน”

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^