LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ราชบัณฑิตยสถานเก็บข้อมูลภาษาถิ่นอีสาน

  • 18 พ.ย. 2557 เวลา 21:04 น.
  • 1,609
ราชบัณฑิตยสถานเก็บข้อมูลภาษาถิ่นอีสาน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ราชบัณฑิตยสถานเก็บข้อมูลภาษาถิ่นอีสาน
 
ราชบัณฑิตยสถานเปิดเวทีรับฟังความเห็นภาษาถิ่นที่ขอนแก่น ผู้ว่าฯย้ำอีสานมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดยาวนาน และหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์แต่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ถือเป็นลักษณะเฉพาะของอีสาน ในขณะที่ราชบัณฑิตยสถานเดินหน้าทำพจนานุกรมภาษาถิ่นของทุกภาค หวังเป็นข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการและยังช่วยสร้างความเข้าใจให้คนต่างภูมิภาคได้ด้วย
 
เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่โรงแรมเซ็นทารา จังหวัดขอนแก่น ได้มีการเสวนาทางวิชาการ รู้ รัก ภาษาไทยสัญจร : ภาษาถิ่นภาคอีสาน จัดโดยราชบัณฑิตยสถาน เพื่อรับฟังความเห็นนักวิชาการและประชาชน ในการจัดทำเนื้อหาวิชาการภาษาถิ่นให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยนายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการเสวนาว่า ภาคอีสานมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน และมีความหลากหลายตามลักษณะของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ทั้งหมดก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และมีความกลมกลืนกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาคอีสานที่น่าภาคภูมิใจ            
 
นายกำธร กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามแม้โลกปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะความเจริญทางเทคโนโลยีที่อาจทำให้เด็กรุ่นใหม่ละเลยวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากเช่นกันที่มีความรู้สึกหวงแหน และสนใจใฝ่เรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของตน ซึ่งตนรู้สึกชื่นชมบทบาทของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะวัดส่วนใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติไม่ให้สูญหายไป และยิ่งราชบัณฑิตยสถานเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ก็ทำให้มั่นใจได้ว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานจะยังคงอยู่ต่อไป
 
นายพงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า วัฒนธรรมท้องถิ่นมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะภาษาถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเห็นว่าควรส่งเสริมเผยแพร่ โดยมีโครงการจัดทำพจนานุกรมภาษาถิ่นของทุกภาค ซึ่งนอกจากคนในท้องถิ่นจะได้ใช้ประโยชน์แล้ว ยังจะเป็นประโยชน์สำหรับคนต่างท้องถิ่นอีกด้วย ที่จะได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ภาษาถิ่นอื่นๆ และใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการได้ด้วย
 
ด้าน รศ.ดร.ชลธิชา บำรุงรักษ์ ประธานคณะกรรมการจัดทำเนื้อหาวิชาการด้านภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า การมีพจนานุกรมภาษาไทยถิ่นอีสาน-ภาษาไทยกรุงเทพ จะช่วยสะท้อนให้เห็นความเป็นอีสานได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจอันดีกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งคณะกรรมการยังมีเป้าหมายจะนำอักษรธรรมอีสาน และอักษรไทน้อยซึ่งเป็นตัวอักษรของภาคอีสานมาประกอบในพจนานุกรมดังกล่าวด้วย
 
 
  • 18 พ.ย. 2557 เวลา 21:04 น.
  • 1,609

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ราชบัณฑิตยสถานเก็บข้อมูลภาษาถิ่นอีสาน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^