LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

ทิศทางการศึกษาไทย...จะไปทางไหน?

  • 07 ต.ค. 2557 เวลา 12:44 น.
  • 1,876
ทิศทางการศึกษาไทย...จะไปทางไหน?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ทิศทางการศึกษาไทย...จะไปทางไหน?
 
แม้ประเทศไทยได้เริ่มนโยบายปฏิรูปการศึกษามานานนับสิบกว่าปีที่แล้ว แต่ปัญหาการศึกษาไทยอีกมากมายก็ยังคงเรื้อรังดำรงอยู่เช่นเดิม หลายคนมองว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะนโยบายการศึกษาของไทย
 
แม้ประเทศไทยได้เริ่มนโยบายปฏิรูปการศึกษามานานนับสิบกว่าปีที่แล้ว แต่ปัญหาการศึกษาไทยอีกมากมายก็ยังคงเรื้อรังดำรงอยู่เช่นเดิม หลายคนมองว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะนโยบายการศึกษาของไทยขาดความชัดเจนและเปลี่ยนแปลงบ่อย เปลี่ยนไปตามรัฐบาลหรือรัฐมนตรีที่เข้ามารับตำแหน่ง โดยเฉพาะช่วงหลังมานี้ปีเดียวเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 3-4 คน หรือจะพูดได้ว่านโยบายการศึกษาเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่มีรัฐมนตรีคนใหม่ก็ไม่น่าจะผิด
 
เรามักได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้งว่าปัญหาการศึกษาไทยที่หมักหมมนั้นจะต้องปรับรื้อปฏิรูปทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักสูตร ครูผู้สอน วิธีการสอน คุณภาพผู้เรียน ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยในปัจจุบันนั้นได้ยัดเยียดอัดแน่นให้เด็กต้องเรียนรู้เนื้อหาสาระมากมายหลายวิชาจนเกินความจำเป็น โดยกำหนดให้เรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ดูเหมือนจะไม่ได้คำนึงถึงความสมเหตุสมผลหรือความสอดคล้องจำเป็นของผู้เรียนแต่ละช่วงวัย
 
การยัดเยียดให้เด็กต้องเรียนเนื้อหามากมายอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีการมุ่งเน้นพัฒนาเฉพาะด้านความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ของผู้เรียน เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ครบถ้วนตามเนื้อหาสาระที่หลักสูตรกำหนด จนบางครั้งลืมว่าเราจะต้องพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์หรือการเข้าสังคม (EQ) ของผู้เรียนควบคู่กันไปด้วย ซึ่งแน่นอนเด็กแต่ละคนที่เกิดมาในบริบทที่ต่างกันย่อมมีระดับ IQ ที่ไม่เท่ากัน แล้วจะทำอย่างไรให้เด็กทุกคนมีระดับ EQ ที่สูงขึ้น เพราะ EQ จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้สังคมก้าวไกลไปได้ 
 
ส่วนครูผู้สอนต้องรับภาระงานอื่นที่ไม่ใช่งานสอนอีกมากมาย เวลาเกือบครึ่งหนึ่งของครูต้องไปทุ่มเทให้กับงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงงานประเมินทั้งระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่ ระดับชาติ นับแทบไม่ถ้วนที่ครูแต่ละคนต้องเตรียมงานเพื่อรับประเมินเหล่านั้น จนไม่มีเวลาให้กับห้องเรียน และบ่อยครั้งที่ครูต้องทิ้งห้องเรียน เหล่านี้เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เด็กจำนวนไม่น้อยอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมตกต่ำอย่างน่าตกใจ
 
ส่วนในการบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นย่อมต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพ ที่ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นที่ยอมรับ มีความฉลาดทางสติปัญญาและทางอารมณ์ แต่ปัจจุบันผู้บริหารจำนวนไม่น้อยมักจะขาดคุณลักษณะเช่นนี้ จึงมักเจอคำวิพากษ์วิจารณ์บ่อย ๆ เช่น เป็นผู้บริหาร “ที่ไม่เอาไหน” “ทำงานที่โรงเรียนน้อยมาก ส่วนมากมักออกไปนอกโรงเรียน แต่เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนน้อย” “วิ่งตามเจ้านายหรือนักการเมือง เพื่อประโยชน์ต่อตนเองเป็นหลัก” “ผู้บริหารที่ไม่โปร่งใส” “ยึดวัฒนธรรมบริหารแบบเดิม ๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง” เป็นต้น ในสังคมไทยช่วงที่ผ่านมา เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามักพบเห็นผู้บริหารที่มีคุณลักษณะเช่นนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเราจะคาดหวังคุณภาพการศึกษาได้มากน้อยแค่ไหน
 
แต่พอเหลือบไปเห็น นโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปีงบประมาณ 2558 ที่นำโดย ดร.กมล รอดคล้าย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย โดยกำหนดจุดเน้นหลักไว้ 3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านการบริหารจัดการ แม้จะเป็นความหวังที่ยังคงริบหรี่แต่ก็ยังพอมีความสุขใจขึ้นมาบ้าง และเชื่อว่ารัฐบาลในยุค คสช.จะคอยเป็นอีกพลังหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนผลักดันให้นโยบายของ สพฐ.ถูกนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง
 
สำหรับ จุดเน้นด้านผู้เรียน สพฐ.มุ่งพัฒนานักเรียนมีสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล มีคุณธรรม จริยธรรม รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภูมิใจในความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะ และทักษะทางสังคมที่เหมาะสม รวมถึงนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล

?ทิศทางการศึกษาไทย...จะไปทางไหน??
 
จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งให้ครูได้รับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะผ่านการปฏิบัติจริง และความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพมีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม ตลอดจนองค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและการจัดสรรครู ตระหนักและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุใหม่/ย้ายไปบรรจุ มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ชุมชน และสังคม
 
ส่วน จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ นั้น มุ่งให้สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการ
 
กระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมและการรับผิดชอบต่อการดำเนินงาน (Participation and Accountability) รวมถึงสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
 
แม้ว่าการขับเคลื่อนทิศทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สำเร็จตามเป้าหมายจะเป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าหากเรามีนายกรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศชาติอย่างจริงจัง และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความรอบรู้ ทุ่มเทเสียสละ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเข้ามาบริหารกระทรวงศึกษาธิการอย่างต่อเนื่องแต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี เชื่อว่าการศึกษาไทยจะสามารถพัฒนาก้าวไปได้ไกลอย่างแน่นอน เมื่อถึงวันนั้นคนไทยก็ไม่ต้องคอยหวาดระแวงว่าบรรดาประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเคยเดินตามหลังเรา เคยมาศึกษาดูงานบ้านเรา และส่งนักศึกษามาเรียนต่อบ้านเรามากมาย แต่ ณ วันนี้กำลังจะวิ่งแซงไปข้างหน้าเราเสียแล้ว.
 
ฟาฏินา วงศ์เลขา
 
 
  • 07 ต.ค. 2557 เวลา 12:44 น.
  • 1,876

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ทิศทางการศึกษาไทย...จะไปทางไหน?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^