LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา

  • 25 ส.ค. 2557 เวลา 09:08 น.
  • 6,426
แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 186/2557
แนวทางการยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพ
และแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา
 
ศึกษาธิการ - ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ว่า ที่ประชุมรับทราบแนวทางการส่งเสริมและยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และผลการประชุมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา
 
>> แนวทางการส่งเสริมและยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพของ สอศ.
 
ปลัด ศธ.กล่าวว่า สอศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ขณะนี้ สอศ.ได้กำหนดแนวทางดำเนินการปฏิรูปอาชีวศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในทุกระดับและกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ดำเนินการ 7 ด้าน คือ 1) เพิ่มผู้เรียนอาชีวศึกษา 2) ให้ทุนอาชีวศึกษาเสริมแรงเพื่อเร่งผลิตกำลังคนให้กับประเทศ 3) ยกระดับคุณภาพผู้สำเร็จอาชีวศึกษา 4) สนับสนุนทรัพยากรการเรียนอาชีวศึกษา 5) จัดหาปัจจัยสนับสนุนเพื่อการจัดอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพ 6) แก้ปัญหาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา 7) ปรับระบบบริหาร
 
โดยมีแนวทางดำเนินการที่จะต้องเร่งส่งเสริมและยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพ ดังนี้
   - ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาอาชีวะขนาดเล็กให้ได้มาตรฐาน
   - ต่อยอดสถานศึกษาเฉพาะทางเดิมให้มีความชำนาญเชิงลึก เช่น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมยานยนต์/ต่อเรือ วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม วิทยาลัยประมง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ฯลฯ
   - เพิ่มแนวทางพัฒนาวิทยาลัยเฉพาะทาง (Professional School) ทั้งการสร้างห้องเรียนเฉพาะทางเพื่อพัฒนาเด็กที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็น รวมทั้งสร้างวิทยาลัยเฉพาะทางในทุกสาขาอาชีพกระจายทุกภูมิภาค
   - พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบ ร่วมกับประเทศที่มีศักยภาพสูงด้านอาชีวศึกษา เช่น สิงคโปร์ เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน
   - นำร่องจัดการอาชีวศึกษาร่วมในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ความร่วมมือไทย-มาเลเซีย
   - พัฒนาสถานศึกษาภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ 23 แห่ง
   - พัฒนาคุณภาพการจัดอาชีวศึกษาในสถานศึกษาที่เน้นการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี โดยความร่วมมือกับสถานประกอบการ
   - ยกระดับมาตรฐานสถานศึกษาที่เตรียมกำลังคนเข้าสู่การประกอบอาชีพในกลุ่มอาเซียนด้วย English Program และ Mini English Program
 
>> ผลการประชุมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา
 
ที่ประชุมรับทราบ ข้อสรุปผลการประชุมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสำนักเลขาธิการคุรุสภาได้จัดประชุมเพื่อกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาสาขาขาดแคลนสำหรับครูอาชีวศึกษา โดยมี ศ.กิตติคุณ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เป็นประธานการประชุม ดังนี้
 
แนวทางที่ 1 สาขาวิชาที่ สอศ. แจ้งต่อคุรุสภา หากตรวจสอบกับสาขาวิชาของสถาบันผลิตครู หลักสูตร 5 ปี ที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว ไม่มีการผลิตในสาขานั้น ให้ดำเนินการดังนี้
 
มาตรการเร่งด่วน
 
1) นำเสนอสาขาขาดแคลนที่ สอศ.แจ้งต่อคณะกรรมการคุรุสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ และจัดทำเป็นประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเป็นคราวๆ ละ 2 ปี หากมีความจำเป็น สอศ.สามารถเสนอสาขาขาดแคลนเพิ่มเติมเป็นวาระเร่งด่วนได้ (สาขาวิชาขาดแคลนที่ สอศ.เสนอ 9 ประเภท คือ ช่างอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พณิชยกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เกษตรศาสตร์ ประมง คหกรรม และศิลปกรรม)
2) คณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีระยะเวลา 90 วัน สำหรับผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาขาดแคลน โดยสามารถยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ด้วยตนเอง หรือสถานศึกษาเป็นผู้ขอยื่นให้ได้
 
มาตรการระยะยาว
 
1) สอศ.ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แจ้งสถาบันผลิตเปิดสอนสาขาขาดแคลนตามความต้องการของ สอศ.
2) จัดโครงการความร่วมมือระหว่าง สอศ.กับสถาบันผลิตเพื่อร่วมผลิตบัณฑิต โดย สอศ.ผลิตบัณฑิตหลักสูตร 4 ปี สาขาขาดแคลน และสถาบันผลิตจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู โดยความเห็นชอบของคุรุสภา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้
 
แนวทางที่ 2 สาขาขาดแคลนที่ สอศ. แจ้งต่อคุรุสภา แต่มีสถาบันผลิตในหลักสูตร 5 ปี ที่คุรุสภารับรอง ให้ดำเนินการดังนี้
 
1) สอศ.รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร 5 ปี ก่อน หากไม่มีผู้มาสมัครตามเวลาที่กำหนด ให้ขยายเวลารับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 4 ปี
2) คณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 4 ปี สาขาที่ สอศ.รับสมัคร มีระยะเวลา 90 วัน โดยให้สามารถยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ด้วยตนเอง
 
การกำหนดให้คุรุสภาออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีระยะเวลา 90 วัน สำหรับผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาขาดแคลน เพื่อให้สามารถสมัครสอบครูผู้ช่วยตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดได้ และเมื่อสอบเสร็จแล้วต้องดำเนินการ ดังนี้
 
- ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องขออนุญาตให้ครูผู้ช่วยปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา ซึ่งคุรุสภาจะอนุญาตให้ 2 ปี
- ครูผู้ช่วยที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องพัฒนาตนเองให้มีมาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด โดยศึกษาต่อประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือการรับรองความรู้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่คุรุสภากำหนด ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจึงจะบรรจุเป็นครูได้
 
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้มีการจัดประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูอาชีวศึกษา รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการในการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ
 
 
  • 25 ส.ค. 2557 เวลา 09:08 น.
  • 6,426

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^