LASTEST NEWS

23 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านหนองบัว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 ธันวาคม 2567 21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568

ธุรกิจกวดวิชาบูม ผุดราวดอกเห็ด 2 พันแห่ง-เด็กยอมจ่ายแพงหวังผลสอบแข่งขัน

  • 20 ส.ค. 2557 เวลา 10:52 น.
  • 1,483
ธุรกิจกวดวิชาบูม ผุดราวดอกเห็ด 2 พันแห่ง-เด็กยอมจ่ายแพงหวังผลสอบแข่งขัน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ธุรกิจกวดวิชาบูม ผุดราวดอกเห็ด 2 พันแห่ง-เด็กยอมจ่ายแพงหวังผลสอบแข่งขัน 
 
          นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่าที่ประชุมได้รับรายงานผลการดำเนินงานศึกษาวิจัยเรื่อง "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกวดวิชา" ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) สำนักงานปลัด ศธ. โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นการสังเคราะห์รายงานวิจัยปริญญานิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ ในช่วงปี2545-2557ซึ่งเผยแพร่ในหนังสือวิชาการ บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์27 เรื่อง โดยผลการสังเคราะห์พบว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจกวดวิชา ทั้งโรงเรียนกวดวิชา และติวเตอร์อิสระรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2555ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชา 2,005 แห่ง แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 460 แห่ง และภูมิภาค 1,545 แห่ง มีนักเรียนที่เรียนกวดวิชา 453,881 คน คิดเป็นร้อยละ12 ของจำนวนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด ส่วนมูลค่าตลาดธุรกิจกวดวิชานั้น ในปี2556 อยู่ที่ประมาณ 7,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาทและจะเติบโตไปสู่ 8,189 ล้านบาท ในปี 2558 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี ทั้งนี้คาดว่ามีปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มราคาค่าเรียนและจำนวนนักเรียนที่เรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้น
 
          เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกวดวิชา เช่น ผู้เรียนคาดว่าจะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบได้ ใช้เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ต้องการเทคนิคการทำข้อสอบและไม่เชื่อมั่นในคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา ส่วนผลกระทบจากการกวดวิชา เช่น ค่าใช้จ่ายในการเรียนกวดวิชาต่อเทอมค่อนข้างสูง ผู้เรียนต้องออกนอกบ้าน และสถาบันกวดวิชาไม่เน้นสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำหรับข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหากวดวิชาเช่น ต้องพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาให้เท่าเทียมกัน สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนตั้งใจเรียนในห้องเรียน และปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย หรือเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นต่างๆ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบให้ สนย. ไปศึกษาวิจัยประเด็นดังกล่าวในเชิงลึกอีกครั้ง รวมทั้งให้ไปศึกษากรณีโรงเรียนที่เปิดสอนกวดวิชา หรือสอนพิเศษในช่วงเย็นหรือเสาร์-อาทิตย์ให้แก่นักเรียนด้วย ว่ามีการสอนอะไร อย่างไร และครูมีการกั๊กวิชาในห้องเรียนหรือไม่ โดยให้เร่งสรุปผลเสนอในการประชุมปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกวดวิชาต้นเดือน ก.ย.นี้
 
ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
 
  • 20 ส.ค. 2557 เวลา 10:52 น.
  • 1,483

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ธุรกิจกวดวิชาบูม ผุดราวดอกเห็ด 2 พันแห่ง-เด็กยอมจ่ายแพงหวังผลสอบแข่งขัน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^