LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า

  • 24 มิ.ย. 2557 เวลา 13:41 น.
  • 1,379
ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า : สุพินดา ณ มหาไชย รายงาน
 
                2 สัปดาห์ ที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ไปกับการพินิจพิเคราะห์อนาคตของนโยบายประชานิยมตัวแม่ โครงการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ ที่สุดฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตัดสินใจปิดฉากมหกรรมโกยคะแนนนิยมดังกล่าว แม้จะใช้ถ้อยแถลงอย่างอ้อมค้อมว่า เปลี่ยนแปลงงบประมาณโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต )ต่อ 1 นักเรียน ไปใช้พัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นๆ ที่คุ้มค่ากว่า แต่ก็รู้ๆ กันว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของการตัดตอนการมอมเมาด้วยประชานิยม ซึ่งแลกมาด้วยการใช้งบประมาณอย่างไร้สติ
 
                โครงการแจกแท็บเล็ต หรือโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เปิดตัวครั้งแรกในปี 2555 ภายใต้การดำเนินการจัดซื้อของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท     ก่อนจะโอนมาให้กระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อแทนในปีที่ 2 ของโครงการ (ปี 2556) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับมอบหมายเป็นนายหน้า เคาะราคา แทน 10 หน่วยงานที่มีงบประมาณการจัดซื้อแท็บเล็ตแจกสถานศึกษาในสังกัด พร้อมขยายขนาดโครงการเป็นสองเท่าเพื่อจัดซื้อให้นักเรียน ม.1 ด้วย งบประมาณจึงเพิ่มสูงเป็น 4,600 ล้านบาท รวม 2 ปีที่ผ่านมา หมดเงินกับโครงการนี้ไปเกือบ 7,000 ล้านบาท แจกไปแล้วกว่า 2.4 ล้านเครื่อง
 
                อย่างไรก็ตาม ด้วยค่าตัวของเครื่องที่กำหนดราคากลางไว้แค่ 82 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,700 บาท จึงไม่สามารถคาดหวังแท็บเล็ตในฝันได้ เกินครึ่งของแท็บเล็ตที่ผลิตป้อนโครงการนี้ ล้วนแต่เป็นแท็บเล็ตสเปกต่ำที่สั่งตัดจากโรงงานในจีน แหล่งผลิตสินค้าราคาถูก ไม่เน้นคุณภาพสูง สุดท้ายแท็บเล็ตในมือนักเรียนจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ไม่ต่างจากของเล่นราคาถูก และประเด็นเรื่องคุณภาพของเครื่องนี้เอง เป็น 1 ใน 2 เหตุผลหลักในการยุติโครงการนี้ของฝ่ายสังคมจิตวิทยา
 
                ในทีโออาร์ของการจัดซื้อแท็บเล็ต กำหนดอายุรับประกันตัวเครื่องที่ 3 ปี รับประกันแบตเตอรี่ 1 ปี และต้องมี life cycle หรือชาร์จไฟได้ 400 ครั้ง ขณะที่แท็บเล็ตมาตรฐานทั่วไปจะมี life cycle ที่ 800 ครั้ง แต่ก็เป็นที่หวั่นใจกันทั่วว่า อายุของแท็บเล็ตราคาถูกนี้จะใช้งานได้ถึง 3 ปีจริงหรือไม่ เพราะเพียงไม่ทันไหร่ก็เริ่มออกอาการให้เห็นแล้วในส่วนของแบตเตอรี่ 
 
                กมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บอกว่า โครงการนี้เน้นซื้อเครื่องในราคาถูก ก็ได้คุณภาพตามราคาและมีปัญหาการใช้งานตามมา โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ ซึ่งเริ่มเสื่อมสภาพ เก็บไฟได้ไม่นาน กลายเป็นปัญหาในการใช้งานมาก เพราะการนำเครื่องมาเสียบไฟตรงใช้งานนั้น นักเรียนเสี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าดูดและยังทำให้แบตเตอรี่ร้อนมาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 
 
                ผลการตรวจติดตามโครงการนี้ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ฟ้องในเรื่องของคุณภาพเช่นกัน และฟ้องถึงการดำเนินโครงการทั้งๆ ที่ขาดความพร้อมรองรับเพียงพอ
 
                “แท็บเล็ตมีปัญหามากคือเรื่องแบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บไฟได้ ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนจำนวนมากไม่มีความพร้อมรองรับเพียงพอ ไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึง จึงทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานแท็บเล็ตได้ไม่เต็มที่ ยิ่งกว่านั้นโรงเรียนบางส่วน เช่น โรงเรียน ตชด.ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ใช้โซลาร์เซลล์แทน ซึ่งไม่เสถียร ทำให้มีปัญหาในการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อแบตเตอรี่เก็บไฟไม่ได้“ วัชรินทร์ จำปี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาประจำเขตตรวจราชการ 17-18 ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากผลการตรวจติดตามโครงการแท็บเล็ตปี 2555
 
                ขณะที่มีผลการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา บ่งบอกว่า กลุ่มตัวอย่างคือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ตอบแบบสอบถามว่า พฤติกรรมนักเรียนมีความขยันตั้งใจเรียนมากขึ้น แต่ไม่มีหลักฐานวิชาการบ่งชัดว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ นักเรียนสนใจแต่แท็บเล็ตจนขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ขณะที่โรงเรียนก็ประสบปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ซ่อมบำรุงเครื่องแท็บเล็ต
 
                ไม่ว่าจะมีปัญหาในการใช้งานหรือไม่ก็ตาม สพฐ.ค่อนข้างมั่นใจว่า แท็บเล็ตที่แจกไปแล้วกว่า 1 ล้านเครื่อง จะใช้งานได้ไม่เกิน 3 ปี นั่นหมายความว่า วงจรการจัดซื้อแท็บเล็ตจะหมุนเวียนไม่มีจบสิ้น สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการงบประมาณที่ไร้ความคุ้มค่า และนั่นเป็นอีกเหตุผลที่โครงการนี้ถูกยุติ
 
                กมล บอกว่า ถ้ายังคงเดินหน้าโครงการแจกแท็บเล็ตในลักษณะเดิมแล้วจะเป็นภาระงบประมาณที่หนักมาก ใช้ปีละ 5,000 ล้านบาท สำหรับซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียน ป.1 และ ม.1 แต่แท็บเล็ตมีอายุใช้งานเกิน 3 ปี นั่นเท่ากับว่า ต้องซื้อแจกอยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น อย่างไรก็ตาม ถ้านำงบประมาณซื้อแจกดังกล่าวมาจัดทำเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท คลาสรูม แทน จะคุ้มค่ากว่า สพฐ.ทดลองคำนวณบนพื้นฐานว่า ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานดี ใช้แท็บเล็ตมาตรฐานเดียวกับไอแพดแล้ว งบประมาณ 5,800 ล้านบาท จะสร้างห้องเรียนอัจฉริยะได้ประมาณ 15,000 ห้อง เท่ากับว่า ภายใน 3 ปี จะสามารถจัดสร้างห้องเรียนอัจฉริยะได้ครบทุกโรงเรียน และห้องเรียนอัจฉริยะนี้จะหมุนเวียนให้นักเรียนทั้ง 6 ชั้นปี ได้เข้ามาใช้งาน เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนทุกคน
 
                ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้รับคำสั่งจาก คสช.ให้ระดมสมองคิดรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนที่เข้าท่ากว่าการแจกแท็บเล็ตราคาถูกให้เด็กกลับไปนอนกอดที่บ้าน สุดท้ายโครงการนี้ รวมถึงโครงการประชานิยมอีกบางรายการ ย่อมต้องถูกแปลงร่างใหม่ เปลี่ยนทั้งในแง่ของเนื้อหาภายในและภาพลักษณ์ภายนอก ทั้งนี้ เพื่อยุติการบริหารจัดการงบประมาณที่ไม่เกิดประโยชน์ และยุติการเอาเงินภาษีมาถลุงเพื่อประโยชน์ทางการเมือง แท็บเล็ตในมือของเด็กควรเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ได้จริง ไม่ใช่เป็นแค่สินบน จองคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง
 
 
  • 24 มิ.ย. 2557 เวลา 13:41 น.
  • 1,379

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^