LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

ปฏิรูปการศึกษา ถึงเวลาฉุดเด็กไทยยืนหัวแถว

  • 08 มิ.ย. 2557 เวลา 09:10 น.
  • 2,131
ปฏิรูปการศึกษา ถึงเวลาฉุดเด็กไทยยืนหัวแถว

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปฏิรูปการศึกษา ถึงเวลาฉุดเด็กไทยยืนหัวแถว : ผู้สื่อข่าวพิเศษ...รายงาน
 
    ตลอดระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยพยายามเร่งพัฒนา “คน” เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ขณะที่ภาครัฐลงทุนไปในระบบการศึกษาเป็นเงินมากถึง 24 เปอร์เซ็นต์ ของงบประมาณแผ่นดิน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 20 เปอร์เซ็นต์ 
 
    การลงทุนดังกล่าวทำให้ ไทยติดอันดับประเทศใช้งบประมาณด้านการศึกษาสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก (อ้างอิงจากข้อมูลองค์การยูเนสโกในปี 2554) และในปีนี้ รัฐบาลไทยยังจัดงบประมาณการศึกษาไว้สูงมากถึง 5.19 แสนล้านบาท สวนทางกับคุณภาพทางการศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ 
 
    จากการทดสอบ PISA ในปี 2555 พบว่า มีนักเรียนไทยเกือบครึ่ง หรือ 49.7 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้คะแนนในวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ 1 หรือต่ำกว่า ในขณะที่คะแนนมาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์ควรอยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป รวมถึงปัญหาทักษะการอ่านที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ในวิชาอื่นทั้งหมด
 
    และเมื่อเทียบคุณภาพการศึกษาของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน จากข้อมูล เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (ดับเบิลยูอีเอฟ) ปี 2555-2556 ผลการสอบของเด็กไทยระดับมัธยมและอุดมศึกษา อยู่ในอันดับ 8 หรือ “บ๊วยสุด” อีกด้วย   
 
    ปัญหาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยที่ตกต่ำในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องการมีงบลงทุนไม่เพียงพอ แต่เป็นผลมาจากความผิดพลาดด้านการบริหารจัดการการศึกษาของไทยมานานนับสิบปี 
 
    จากผลการวิจัยเรื่อง “บัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ”(National Education Account : NEA) โดยคณะนักวิจัยของศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษารายจ่ายตั้งแต่ปี 2551-2553 และในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการเปิดข้อมูลเส้นทางรายจ่ายด้านการศึกษาครั้งแรกของพบว่า ไทยมีงบประมาณใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงถึง 6.58 แสนล้านบาท ในปี 2553 หรือคิดเป็น 6.51 เปอร์เซ็นต์ ของรายจ่ายด้านการศึกษารวมต่อจีดีพี เมื่อเทียบกับต่างประเทศอยู่ที่ 4 เปอร์เซ็นต์ ถือได้ว่าไทยมีค่าใช้จ่ายการศึกษาที่สูงมาก
 
    รายจ่ายดังกล่าว ภาครัฐเป็นผู้อุดหนุนเงินด้านการศึกษาหลักถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นภาระของภาคครัวเรือนเช่น ค่าเล่าเรียนพิเศษที่โรงเรียนเรียกเก็บแม้ว่าขณะนี้จะมีงบเรียนฟรี 15 ปีก็ตาม
 
    รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ หนึ่งในคณะวิจัย กล่าวว่า  การจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาไทย ก็เหมือนกับการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัว เพื่อให้เห็นแบบแผนการใช้จ่ายเงินว่ามีความเหมาะสมและคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน หากครัวเรือนใช้จ่ายมากเกินไป ก็จะเป็นภาระในอนาคตได้ 
 
    “รายจ่ายด้านการศึกษาเมื่อไปถึงโรงเรียนสังกัด สพฐ.ในปี 2553เป็นงบของระดับประถม มากที่สุดถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี เงินส่วนนี้เป็นเงินเดือนค่าจ้างครู และต้นทุนการบริหารจัดการถึง 75เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียน คุรุภัณฑ์ เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เครื่องแบบ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน เหลือเงินใช้จ่ายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพียง 2.4 เปอร์เซ็นต์ และงบพัฒนาครูอีก 1.09 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ตรงนี้จึงเป็นโจทย์ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอนาคต"
 
    รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวว่า ทีมวิจัยพยายามให้ข้อเท็จจริงว่าประเทศไทยลงทุนเพื่อการศึกษามากถึง 6.5 แสนล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับ จีดีพี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิกโออีซีดี ติดอันดับต้นๆ ของโลก แต่คุณภาพการศึกษาเราต่ำกว่า จึงทำให้เป็นภาระของสังคม คือทุกครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามากขึ้น  
 
    โดยเฉพาะผู้เรียนระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ที่ภาครัฐลงทุนน้อยกว่าการลงทุนในระดับประถมซึ่งสูงเกินไป จึงทำให้ครัวเรือนรับภาระหนักสุด เป็นโจทย์ของภาครัฐว่าจะปรับการจัดการงบประมาณที่เป็นอยู่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้เงินสนับสนุนครูให้มีประสิทธิภาพ และเกลี่ยงบไปในการพัฒนาเด็กให้มากขึ้น
 
    ด้าน ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณการศึกษาในอดีตไม่เป็นธรรมมายาวนาน เมื่อมีบัญชีรายจ่ายการศึกษาแห่งชาตินี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของการบริหารจัดการศึกษามากขึ้น ในช่วงหลังนี้จะเห็นการจัดสรรงบประมาณดีขึ้น มีความเป็นธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน 
 
    “บัญชีนี้ถ้าแยกรายภาคลึกๆ จะเห็นความเหลื่อมล้ำมากขึ้น งานวิจัยนี้จะเป็นโมเดลให้กับภาคการศึกษา ทำให้เกิดความเสมอภาคและมีคุณภาพทางการศึกษามากขึ้นในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันเราจะใช้เงินมากกว่านานาชาติ แต่คุณภาพน้อยกว่า เราจึงต้องสนใจผลลัพธ์การศึกษาให้มากขึ้น”
 
    รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอมุมมองด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชนไว้ใน งานวิจัย “คนไทยมอนิเตอร์” รายงานผลสำรวจความคิดเห็นคนไทย 1 แสนคนทั่วประเทศ (2555) พบว่า ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่องความหมายของการศึกษาทำให้คนไทยส่วนใหญ่ตอบว่า พอใจในระดับ 5-6 จากคะแนนเต็ม 7 
 
    ตัวอย่างของความเข้าใจข้างต้นคือ คนทั่วไปอาจเห็นว่าการศึกษาหมายถึงการอ่านออก เขียนได้ การเข้าถึงและการเข้าเรียนในโรงเรียน การมีชุดนักเรียนและมีอุปกรณ์การศึกษา ซึ่งต่างไปจากความเข้าใจของนักวิชาการ ความรู้สึกดังกล่าวถือว่าตรงข้ามกับความเป็นจริงของคุณภาพการศึกษาไทยในปัจจุบัน
 
    “ตัวเลขจากการสำรวจเช่นนี้ มีนัยว่าคนไทยมีความเข้าใจไม่ถูกต้องกับสภาพความเป็นจริง ความเชื่อปรากฏเช่นนี้อาจเป็นผลมาจากการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ หรือจากความไม่รู้ไม่ใส่ใจของพ่อแม่ผู้ปกครอง ตัวนักเรียนเอง ความไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะจะไม่มีแรงกดดันในทุกระดับเพื่อให้คุณภาพของการศึกษาดีขึ้น”
 
    การพัฒนาคุณภาพระบบการศึกษาไทยในอนาคตจึงไม่ได้มีคำตอบอยู่ที่เรื่อง “เม็ดเงิน” แต่เป็นการจัดการระบบบริหารการศึกษา ที่ทุกฝ่ายจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่ระบบโรงเรียน แต่ยังหมายถึงระบบครอบครัว
 
 
  • 08 มิ.ย. 2557 เวลา 09:10 น.
  • 2,131

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ปฏิรูปการศึกษา ถึงเวลาฉุดเด็กไทยยืนหัวแถว

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^