LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

"ยูเน็ต"...กลับมาแน่...จะฟื้นคืนชีพอย่างไรต้องรอดู

  • 04 มิ.ย. 2557 เวลา 10:03 น.
  • 2,484
"ยูเน็ต"...กลับมาแน่...จะฟื้นคืนชีพอย่างไรต้องรอดู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ถึงวันนี้กระแสคัดค้านและต่อต้านจากนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องอุดมศึกษาเกี่ยวกับการสอบแบบทดสอบทางการ ศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา (University National Education Test : U-NET )
 
ถึงวันนี้กระแสคัดค้านและต่อต้านจากนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องอุดมศึกษาเกี่ยวกับการสอบแบบทดสอบทางการ ศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา (University National Education Test : U-NET ) หรือ ยูเน็ต ที่จัดการทดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ดูจะหยุดและสงบลงไปแล้ว ด้วยเหตุว่า สทศ.ยึดมติให้ยกเลิกการจัดสอบยูเน็ตออกไปโดยไม่มีกำหนด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สทศ.จะยกเลิกจัดสอบยูเน็ตไปเลย ดังนั้นสถานการณ์ตอนนี้จึงเปรียบเสมือนภูเขาไฟที่รอวันปะทุขึ้นมาอีก
 
ฉะนั้นระหว่างที่รอเวลายูเน็ตจะฟื้นคืนชีพ ลองมารับฟังที่มาที่ไปของการจัดสอบยูเน็ตก่อนน่าจะดีกว่า โดยผู้ที่จะมาให้ความรู้เรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ก็คือ  ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมคิดการจัดทดสอบยูเน็ต หรือ ผู้เปิดทางยูเน็ตก็ได้
 
โดยประโยคแรกที่อาจารย์วิจิตรขอฟังธงทิศทางยูเน็ตในอนาคต คือ “ไม่ มีระบบไหนในโลกที่ไม่มีเครื่องมือวัด แล้วอยู่ๆจะไปปรับปรุงได้ เพียงแต่เครื่องมือวัดนัั้น วัดแล้วต้องไม่เป็นโทษ วัดก่อการพัฒนา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณ ในที่สุดความจำเป็นต้องมียูเน็ต แต่ยูเน็ตที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบหลายด้าน ต้องมีการวางแผนร่วมกันว่าใครจะทำ วางแผนร่วมกันจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร สำคัญที่สุดการใช้ประโยชน์หลายอย่าง บางเรื่องก็ไม่น่าจะไปกระทบตัวเด็ก"
 
ศ.ดร.วิจิตร เล่าให้ฟังว่า สทศ.ทำหน้าที่ตามกฎหมาย โดยจัดทำระบบ วิธีการทดสอบและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษาใน ทุกระดับ และปัจจุบัน สทศ. ได้วัดมาตรฐานการศึกษาระดับพื้นฐาน และ ระดับอาชีวศึกษาแล้ว ขาดแต่ระดับอุดมศึกษา จึงมีคำถามว่า แล้ว สทศ.จำเป็นต้องประเมินผลระดับอุดมศึกษาด้วยหรือไม่ ก็มีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายว่า จำเป็นแน่นอน แต่ต้องจัดสอบให้เหมาะสมกับอุดมศึกษา จึงเป็นจุดเริ่มยูเน็ต เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันต้องจัดสอบยูเน็ต จึงมีคำถามต่อมาว่าแล้วจะประเมินอะไร อย่างไร องค์ประกอบควรมีอะไรบ้าง และจะนำผลไปใช้ทำอะไร ทำให้นักวิจัยเริ่มศึกษาวิจัยและออกแบบการทดสอบว่าควรประกอบด้วยการวัดผล ด้านใดบ้างที่จะทำให้สามารถตอบโจทย์การวัดมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งในส่วนที่เป็นมาตรฐานกลางในระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานของแต่ละมหาวิทยาลัย
 
สุดท้ายสรุปว่าการทดสอบยูเน็ต เน้นการทดสอบความรู้ ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงานของบัณฑิต 3 ด้าน คือ1.ด้านการวัดทักษะพื้นฐาน 4 วิชา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) และ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญกับการทดสอบเหตุผลเชิงจริย-ธรรม (Moral Reasoning) และ3. ด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
 
ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า แล้วประเทศอื่น ๆ เค้ามียูเน็ตกันหรือไม่ ถ้ามีเค้าวัดอะไรกัน และนำผลไปใช้เพื่ออะไร ศ.ดร.วิจิตร ไขข้อข้องใจว่า ทั่วโลกมีการวัดผลที่คล้ายกับยูเน็ต แต่ก่อนที่จะวัดต้องรู้ก่อนว่าจะวัดอะไร เพื่ออะไร เช่นกัน อย่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งหน่วยงาน Organization for Economic Co-operation and Developmentหรือ OECD เป็นองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือของประเทศที่พัฒนาแล้วในการวิจัยและพัฒนา โดยคำนึงถึงผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ ในส่วนของการทดสอบระดับอุดมศึกษานั้นได้จัดโครงการทดสอบในระดับอุดมศึกษา ชื่อ Assessment of Higher Education Learning Outcomes หรือ AHELO นำร่องการทดสอบระดับอุดมศึกษา โดยจัดสอบ 3 วิชา คือ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ Generic skill  มีประเทศร่วมทดสอบนำร่อง 17 ประเทศ ได้แก่ อาบูดาบี ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม โคลัมเบีย อียิปต์ ฟินแลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ คูเวต เม็กซิโก เนเธอแลนด์ นอร์เวย์ รัสเซีย สโลวัค สวีเดน และสหรัฐอเมริกา (OECD, 2012)
 
เมื่อศึกษาการจัดการทดสอบในเชิงวิชาการของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีหน่วยงานหลัก Educational Testing Service หรือ ETS ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริการจัดสอบในระดับโลกทุกระดับ โดยเป็นข้อสอบที่มีมาตรฐาน ถือว่าเป็นStandardized Test และหากstakeholder ใดที่ต้องการนำผลสอบไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น การสมัครศึกษาต่อ การสมัครงาน หรือการทดสอบในคุณลักษณะต่างๆ สามารถมาใช้บริการจาก ETS และนำไปประกอบเพื่อรับรองในการใช้เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ ได้โดยไม่ได้เป็นบังคับใดๆ ทั้งสิ้น  
 
ตัวอย่างการใช้การทดสอบในระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบนั้น ในรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา มีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบว่า นักศึกษาทุกคนจะต้องสอบใน 2 ส่วน ได้แก่ 1. General Education เป็นการสอบด้าน Critical Thinking ซึ่งเป็นแบบสอบที่ชื่อว่า California Critical Thinking Skills Test (CTTST)จัดสอบโดย Office of Institutional Effectiveness, Planning and Research (IEPR)และ 2.Major Field Test  จะเป็นการทดสอบความรู้ในเชิงวิชาการที่เป็นเฉพาะของสาขาของนักศึกษาแต่ละคน โดยจะมีการสอบที่เป็นมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยยอมรับ
 
"เด็กไทยไม่ได้กลัวหรือว่าอะไร ถ้าต้องสอบยูเน็ต  ปัญหาอยู่ที่ว่าจะประเมินอะไร เพื่ออะไร ถ้าประเมินแล้วเป็นโทษกับตัวเค้าๆก็ไม่เอา ถ้าประเมินแล้วบอกว่าจะเอาผลไปใช้กับการผลิตบัณฑิตในอนาคตเป็นอีกเรื่อง หนึ่ง แน่นอนว่า สทศ.จะต้องทำความเข้าใจทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถ้าเข้าใจแล้วไม่น่าจะมีปัญหา ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า สทศ.ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ ทั้งที่เป็นเรื่องใหม่ต้องยิ่งทำให้เข้าใจตรงกัน เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องทำแผนร่วมกันด้วย ถ้าทำจริงๆเชื่อว่า 1ปีก็น่าจะสร้างความเข้าใจให้ตรงกันได้  อย่างผมทำเรื่องประกันคุณภาพการศึกษากว่าจะออกได้ ต้องเดินสายทั่วประเทศเป็นปี เดินสายแล้วยังมีลูกติดคนไม่เข้าใจอีก ต้องชี้แจงอีกระยะหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ไปวิเคราะห์กฎหมายที่ร่างมาว่าเจตนาเป็นอย่างไร แล้วก็สรุปออกมาและพิมพ์เป็นหนังสือออกมาแจกเป็น 1แสนเล่ม ทุกอย่างจบ"ศ.ดร.วิจิตรฝากเป็นข้อคิด
 
ตบท้ายฟังความคิดเห็นจากตัวแทนนักศึกษาที่ต่อต้านยูเน็ต บิ๊ก หรือ ศักรินทร์ ไกรสิทธิ์ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(อมธ.) ยืนยันว่า นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศไม่ขัดข้องที่จะต้องสอบยูเน็ต เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาอุดมศึกษาไทยให้ดีขึ้น แต่ สทศ. ต้องอธิบายให้ชัดว่าจะจัดสอบอะไร จะนำผลไปใช้อะไร ผลสอบมีผลต่อนิสิตนักศึกษาหรือไม่ อย่างไร และที่สำคัญการจัดสอบต้องแม่นยำ มีมาตรฐานจริงๆ ไม่จัดสอบในสิ่งที่ซ้ำซ้อนหรือสอบกันอยู่แล้ว และข้อสอบ สทศ. ต้องไม่ผิดพลาดเหมือนที่เคยผิดมาตลอด กลุ่มนิสิตนักศึกษาจะจับตาดูเรื่องนี้ต่อไป หากสทศ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากนิสิตนักศึกษา เรื่องการจัดสอบ เพราะเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนที่จะออกเป็นมติใดๆออกมาเป็นเรื่องน่ายินดี เชื่อว่าถ้าทุกฝ่ายเข้าใจและเห็นตรงกันแล้วสามารถดำเนินการได้ทันที
 
สรุปว่ายูเน็ตกลับมาแน่ และไม่มีใครปฎิเสธ เพียงแต่ทุกอย่างต้องชัดเจน จากนี้ต้องจับตา สทศ.ว่าจะจัดการอย่างไรให้ยูเน็ตกลับมาโดยไม่มีเสียงคัดค้านและสร้างความ มั่นใจให้ทุกฝ่ายกลับคืนมาได้
 
พูนทรัพย์ ทองทาบ 
 
 
  • 04 มิ.ย. 2557 เวลา 10:03 น.
  • 2,484

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "ยูเน็ต"...กลับมาแน่...จะฟื้นคืนชีพอย่างไรต้องรอดู

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^