LASTEST NEWS

02 ธ.ค. 2567มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับสมัครอาจารย์ทางด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เงินเดือน 28,630 หรือ 41,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 20 ธันวาคม 2567 02 ธ.ค. 2567มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ทางด้านการเงิน เงินเดือน 28,630 หรือ 41,000 บาท  02 ธ.ค. 2567มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 21,250 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 9 ธ.ค.2567 02 ธ.ค. 2567“คุรุสภา” เร่งออกข้อบังคับมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย 02 ธ.ค. 2567ครูจบใหม่โอด! อยากมีโอกาสเรียกบรรจุ หลังพบเขตพื้นที่กำหนดรับย้ายเกือบ 100% 30 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ รับสมัครพนักงานราชการครู ตั้งแต่ 11-27 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 129 อัตรา วุฒิ ม.3, ม.6, ปวช. ปวส. ขึ้นไป สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 7 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท และพนักงานธุรการ 1 อัตรา เงินเดือน 13,800.-บาท ระหว่างวันที่ 6 - 12 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาแก้วประชารัฐ รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก (ยกเว้น ปฐมวัย) เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567สพฐ. พร้อมเปิดพื้นที่โรงเรียน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้

วิธี/หลักการอ่านหนังสือฝึกจำ + ทำข้อสอบให้ได้

usericon

 วิธี/หลักการอ่านหนังสือฝึกจำ + ทำข้อสอบให้ได้
 

วิธี/หลักการอ่านหนังสือฝึกจำ + ทำข้อสอบให้ได้

 
 

วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำแล้วได้ผลจริงนะครับ ถ้าท่านทำตามนี้ผมรับรองว่าเห็นผลแน่นอน (ถ้าท่านตั้งใจทำจริง) เพราะวิธีนี้ผมเคยทำตอนเรียนสมัยก่อนนู้น... มันก็ได้ผลจริง ๆ นั่นแหละ ถ้าท่านทำแล้วไม่ได้ผลจงถามตัวเองว่า "เราทำดีที่สุด และตั้งใจมากพอแล้วหรือยัง?"

 

 

การอ่านอย่างเป็นระบบจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ

1. อ่านสารบัญ ดูและศึกษาสารบัญให้ละเอียด เนื่องจากสารบัญคือ ตัวแทนของเนื้อหาในหนังสือทั้งเล่ม

2. บันทึกสารบัญไว้ในสมุด แยกตามบท

3. จากสารบัญ เราจะได้ หัวข้อหลักของแต่ละบท

4. ต่อมาให้ดูหัวข้อรองในสารบัญ ถ้าไม่มีให้พลิกดูในบทนั้นๆ ( ถ้าเป็นtext ต่างประเทศ จะมีหัวข้อรองให้เสมอ)

5. จดบันทึกหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย ลงในสมุดให้เป็นระบบ

6. สร้างภาพการ์ตูน หรือวาดภาพอย่างง่ายๆ เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของ หัวข้อหลัก ในแต่ละบท
ให้ครบทุกหัวข้อ

7. หลังจากนั้น ให้นำหัวข้อหลัก หัวข้อที่หนึ่ง มาเขียนเป็นผัง ที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อรองทุกหัวข้อ แล้ววาดภาพ อย่างง่ายประกอบ ต่อมาให้ทำเช่นเดียวกันในหัวข้อที่สองและหัวข้ออื่นๆ ต่อไปจนครบ

8. นำหัวข้อรองมาเขียนเป็นผังที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อย่อยทุกหัวข้อ แล้ววาดภาพอย่างง่ายประกอบ

9. นำภาพที่วาดแล้ว มาผูกเป็นเรื่องราวง่ายๆ ที่จะทำให้จำได้ง่าย

10. ฝึกทำบ่อยๆ อีกไม่นานจะทำได้ง่ายขึ้น

11. ต่อไปหลังจากได้หัวข้อ หลัก---รอง---ย่อย แล้ว ให้อ่านเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วสรุปใจความสำคัญมาเพียงหนึ่งประโยค หรืออย่างมากไม่เกินสามประโยค นำประโยคที่สรุปได้นั้นมาเขียน
อธิบายเสริมในหัวข้อแต่ละหัวข้อที่เราได้ทำมา แล้วในข้อ 7. ข้อ 8.

12. หลังจากทำได้ครบแล้ว พยายามนึกถึงภาพและความสัมพันธ์ที่ได้สร้างไว้แล้ว ถ้ายากเกินไป ให้แก้
ไขให้ง่ายลง กระทั่งจำได้ดี ฝึกจำบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงเข้านอน ให้ลองหลับตานึกถึงภาพและเรื่องราวที่ได้ผูกไว้

ต่อ มาในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอนแล้วให้ทบทวนอีกครั้งก่อนลุกจากเตียง ให้นึกถึงภาพหรือข้อความที่เราผูกเป็นเรื่องราวไว้ก่อนนอนว่า มีอะไรบ้าง ทำเช่นนี้ทุกวัน ไม่เกินหนึ่งเดือนจะเห็นผลว่าจำได้โดยไม่ต้อง
ท่อง และมีรายละเอียดครบถ้วน นักเรียนส่วนใหญ่จะเห็นผลในระยะเวลาเพียง 7 วันแรกเท่านั้น

วิธี นี้ทำให้เราสามารถอ่านหนังสือได้เป็นระบบ และจะรู้โครงสร้างของหนังสือทั้งเล่ม หรือทั้งบทได้ในครึ่งชั่วโมงแรกที่เริ่มอ่าน ทำให้มองเห็นภาพรวมได้ง่าย ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ เพียงแต่อ่าน หัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และทำโน้ตย่อไว้ แล้วทบทวนโดยการนึกถึงภาพจนจำขึ้นใจ ก็จะได้คะแนนเกินครึ่งแล้ว



เนื้อหาสำคัญในแต่ละบท ดูได้ที่ไหน

กรณีการศึกษาระดับ มหาวิทยาลัย เราจะทราบถึงเนื้อหาสำคัญในแต่ละบทได้จาก Course out line ที่
อาจารย์แจกให้ในวันต้นภาคเรียน การอ่านcourse out line จะ ทำให้รู้ว่า ต้องสนใจในเนื้อหาจุดใดเป็น
พิเศษ ส่วนในชั้นมัธยมศึกษาอาจารย์จะบอกเป็นวัตถุประสงค์ประจำบท หรือผลการเรียนที่คาดหวัง นี่คือ ส่วนสำคัญที่ต้องรู้และจะต้องจดจำ

หลัง จากทราบแล้ว เรามีหน้าที่หาคำตอบตามหัวข้อสำคัญนั้นๆ ให้ครบทุกข้อ ถ้าอาจารย์ไม่บอก ผู้เรียน
จะต้องค้นหาเอง จากคู่มือของวิชานั้นๆ ที่มีจำหน่ายในร้านหนังสือทั่วไป

จุดสำคัญคือcourse out line หรือ วัตถุประสงค์ประจำบทเป็นที่มาของเนื้อหาที่ครูจะนำไปออกข้อสอบ
ถ้าเราตอบได้ถูกทุกข้อทุกบท เราจะได้ คะแนน 3.0 หรือ 3.5 ในวิชานั้นๆ ได้โดยไม่ยาก ถ้าต้องการเพิ่มระดับคะแนนให้ถึง 4.0 จะต้องขยันอ่านหนังสือ และสนใจรายละเอียดให้มากขึ้น บวกกับการที่มีระบบการ
จำแบบใช้รูปภาพประกอบ จะทำให้คะแนนสอบออกมาดี ส่งผลให้ได้คะแนนระดับ 4.0 ในที่สุด

การ ทำตามหลักการอ่านหนังสือในหน้าแรก การฝึกฝนอ่านหนังสืออย่างเป็นระบบ ตามที่ได้บอกมานั้น
จะใช้เวลาเพียง 1ใน4 หรือ 1 ใน5 ของเวลาที่เคยอ่านมาเท่านั้น แต่ผล ต่างกันมาก คือแบบเดิมใช้เวลา
มากจำไม่ได้ แบบใหม่ที่ใช้รูปภาพ และการนึกถึงภาพประกอบไปด้วยจะใช้เวลาน้อย ทำครั้งเดียวจำได้แม่นโดยไม่ต้องท่อง




หลักการตอบข้อสอบ ปรนัย (แบบกา ก. ข. ค. ง.)

1. อ่านคำสั่งให้ชัดเจน ทำความเข้าใจกับคำสั่งอย่างถ่องแท้ การอ่านคำสั่งนี้สำคัญอย่างยิ่ง นักเรียนกว่า
ครึ่งจะอ่านคำสั่งไม่ละเอียด บางคนอ่านไม่ครบ ทำให้ทำข้อสอบผิดพลาด ส่งผลให้ได้คะแนนสอบน้อยลงไปมากอย่างน่าเสียดาย

2. แบ่งเวลาให้พอดีกับคะแนน โดยแบ่งเวลาช่วงต้นชั่วโมงไว้ 5-7 นาที ท้ายชั่วโมงไว้ 15 นาที ประโยชน์คือเพื่อทำความเข้าใจคำสั่งของข้อสอบ ส่วนท้ายชั่วโมงสำหรับการทบทวน

3. ถ้าข้อสอบมี Part เดียวให้เริ่มลงมือทำได้ ถ้ามีสอง Part ต้องแบ่งเวลาให้สัมพันธ์กับคะแนน และให้
ถือปฏิบัติเรื่องเวลานี้อย่างเคร่งครัด

4. ในการทำข้อสอบ พอเริ่มลงมือทำ ถ้าทำข้อ. 1 ไม่ได้ ให้ข้ามไปทำข้ออื่น ข้อสอบข้อที่ 1 มักจะยากเสมอไม่ต้องเสียดายคะแนน ถ้าทำไม่ได้ 10 ข้อ ไม่ต้องตกใจ ให้เลื่อนไปเรื่อยๆ จนพบข้อที่ทำได้ ทำข้อใดเสร็จให้ระบายดินสอ 2B ใน วงกลมทันทีไม่ต้องรอระบายทีหลัง สำหรับข้อที่ข้ามไปนั้นให้ทำเครื่องหมายไว้หน้าข้อในกระดาษคำตอบด้วย ภายหลังจะได้กลับมาเติมได้ถูกต้อง

5. ขณะลงมือทำข้อสอบให้ดูเวลาและจับเวลาไปด้วย ว่า 5 ข้อแรกที่ทำได้นั้นใช้เวลาเฉลี่ยข้อละเท่าใด
ถ้ามากเกินกว่าที่ได้แบ่งไว้ ให้เร่งมือขึ้น ถ้าเร็วให้รักษาระดับความเร็วนั้นไว้ ทำให้เรามีเวลาเหลือ สำรอง
ไว้เพื่อเอาไปแก้ไขข้อที่ยากภายหลัง

6. หลังจากทำไปได้ครบเวลาที่แบ่งไว้แล้ว ให้หยุดทำทันที แม้ทำไม่เสร็จก็ตาม ตรงนี้เราจะมีเวลาเหลือ
ประมาณ 15 นาที ไม่ต้องเสียดายข้อที่ยังทำไม่ทัน ให้เริ่มเดาข้อที่ 1. หรือข้อที่ได้ข้ามไปในตอนต้น
ชั่วโมง และให้เติมทุกข้อที่เราข้ามไปทุกข้อ จนครบ

7. อย่าเว้นช่องว่างไว้แม้ข้อเดียว เพราะถ้าเราไม่ได้ใส่คำตอบโดยเฉพาะข้อที่ 1. เครื่องอาจจะไม่นับเป็นข้อแรกให้ แต่จะนับข้อสองเป็นข้อแรก ทำให้คำตอบผิดทั้งหมด

8. ข้อสุดท้ายก็เช่นกัน ต้องระบายคำตอบให้ได้ ถ้าไม่รู้คำตอบ ต้องเดาอย่าเว้นแม้แต่ข้อเดียว เพราะหากเดาเรามีสิทธิถูก 25 % ถ้าไม่เดาจะได้ศูนย์

9. ระหว่างคำตอบแต่ละข้อ ที่เป็นช่องว่างระหว่างบรรทัด ห้ามกาหรือเขียนเครื่องหมายใดๆ ลงไป เพราะ
คอมพิวเตอร์จะอ่านเป็นรอยเครื่องหมาย และจะให้คะแนนหรือไม่ให้คะแนนไปด้วย ส่งผลให้การอ่านในข้อถัดไป ไม่ตรงตามจริง

10. หลังจากระบายครบทุกข้อแล้ว ที่ว่างหลังจากข้อสุดท้ายห้ามทำเครื่องหมายใดๆลงไป เพราะ
คอมพิวเตอร์จะอ่านเป็นคะแนนได้ และอาจแปรผลเป็นลบ ไปหนึ่งคะแนน

11. การระบายเครื่องหมายให้ใช้เฉพาะดินสอ 2B หรือ 4B เท่านั้น ห้ามใช้เกินกว่านั้น และห้ามใช้ดินสอ
ถ่านเพราะเครื่องอ่านไม่ได้ ถ้าเป็น 6B หากระบายผิด จะทำให้ลบออกยากเสียเวลาข้ออื่น

12. การระบายให้ระบายจากจุดศูนย์กลาง แล้ววนออกมาด้านนอก เพราะเครื่องจะอ่านตรงจุดศูนย์กลาง
เสมอ ถ้าปล่อยให้ตรงกลางมีรอยจางๆ เครื่องอาจอ่านเป็นไม่ระบายได้ เพราะเป็นสีเทา ไม่ใช่ดำ อะไรที่
ไม่ใช่ดำเครื่องจะไม่อ่าน

13. การลบต้องลบให้สะอาด นุ่มนวล ถ้าลบแรงจะทำให้กระดาษฉีก และไม่สามารถเปลี่ยนกระดาษได้
หรือถ้าเปลี่ยนได้จะทำเวลาไม่ทัน




หลักการตอบข้อสอบอัตนัย (ข้อสอบบรรยาย)

1. อ่านคำสั่งให้ละเอียด การอ่านคำสั่งอย่างละเอียดทำให้เรารู้ว่าข้อสอบมีวัตถุประสงค์จะวัดอะไร
ให้คะแนนเท่าใด จะแบ่งเวลาอย่างไร ข้อสอบมี่กี่Part ถ้าไม่อ่านจะทำให้การตอบไม่ตรงตามความต้องการของครูผู้ออกข้อสอบ ทำให้ได้คะแนนน้อยกว่าคนอื่น

2. แบ่งเวลาให้สัมพันธ์กับคะแนน โดยแบ่งเวลา ต้นชั่วโมงไว้ 5- 10 นาที และเวลาท้ายชั่วโมงไว้ 10-15 นาที เวลาที่เหลือคือเวลาที่ใช้ตอบจริง หลังจากนั้นให้แบ่งเวลามาที่แต่ละข้อตามคะแนน ที่ระบุไว้ใน
กระดาษคำถาม

3. อ่านคำถามอย่างคร่าวๆ ให้ครบทุกข้อ เสร็จแล้วอย่ารีบลงมือตอบข้อแรก แต่ให้เขียนแนวตอบไว้ที่ท้ายคำถามในกระดาษคำถามไว้ก่อน พอเสร็จให้ข้ามไปอ่านข้อสองและเขียนแนวตอบไว้เช่นกัน ทำ เช่นนี้จนครบทุกข้อ แนวตอบนั้นให้นำมาจากสารบัญ หัวข้อหลัก รองย่อย ที่ได้ทำเป็นรูปภาพช่วยจำไว้แล้วช่วงดูหนังสือ

4. เสร็จแล้วจึงเริ่มทำข้อหนึ่ง โดยใช้เวลาให้พอดีกับคะแนนและเวลาที่แบ่งไว้ช่วงต้นชั่วโมงถ้าเวลาหมดแต่ เขียนไม่เสร็จ ให้ทิ้งไว้แล้วเริ่มทำข้อต่อไป ที่สำคัญ อย่ารีบขีดเส้นใต้ปิดข้อนั้นๆ ไปก่อน แต่ให้เว้น
บรรทัดไว้ 5-8 บรรทัด เพื่อจะได้มาเติมช่วงท้ายชั่วโมง

5. ทำเช่นเดียวกันทุกข้อ โดยระวังเรื่องเวลาอย่างเคร่งครัด พอเขียนคำตอบเสร็จ อย่ารีบขีดเส้นใต้ปิดข้อ แต่ให้ทิ้งบรรทัดว่างไว้ 3-4 บรรทัดเสมอ

6. หลังจากทำครบทุกข้อแล้วให้กลับมาทวนข้อหนึ่ง หรือข้อที่ทำไม่ทันให้เสร็จ หรือเห็นว่าน่าพอใจแล้ว ต่อไปให้อ่านทวนข้อที่ทำไปแล้วทุกข้อ อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ จากที่เราได้ทิ้งบรรทัดว่างไว้ในทุกข้อตอนต้น หลังจากเห็นว่าดีแล้วจึงค่อยขีดเส้นกั้นแต่ละข้อด้วยหมึกสีแดง

อุปกรณ์ที่สำคัญ และสามารถนำเข้าห้องสอบได้

1. ปากกา 4 สี คือน้ำเงิน แดง ดำ เขียว น้ำเงินนั้นควรมีสองด้ามและควรค่อนข้างใหม่ ถ้าซื้อใหม่ ต้องซื้อมาก่อน 7 วัน และได้เขียนมาจนหมึกคล่องดีแล้ว

2. ไม้บรรทัด หรือไม้โปรแทรกเตอร์ ควรเป็นไม้โปรแทรกเตอร์ เพราะมีองศาอยู่ด้วย มีประโยชน์ในการ
สร้างภาพเพื่อแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

3. ดินสอ 2B ชนิดมีใส้ 2 mm. ขึ้นไป ที่ฝนให้ทู่แล้ว สองด้าม และใส้สำรอง2 แท่งใช้สำหรับระบาย
กระดาษคำตอบ

4. ยางลบดินสอ อย่างธรรมดา ห้ามใช้อย่างมีกลิ่นหอม ก่อนใช้ให้ทดลองดูหลายๆอย่าง แล้วเลือกอย่างที่ดีที่สุด คือลบง่าย ลบเร็ว และสะอาด ไม่กินกระดาษ ไม่จำเป็นต้องแพง เพราะที่แพงจริงๆ นั้น ใช้ลบ
กระดาษไขเขียนแบบ ใช้กับกระดาษธรรมดาไม่ได้เพราะแข็งเกินไป

5. ดินสอชนิดกด 2B ขนาด 0.5 mm. หนึ่งด้าม ใช้สำหรับวาดรูป (กรณีข้อสอบให้วาดภาพประกอบ)

6. วงเวียนหนึ่งอัน ใช้ช่วยในการสร้างรูปเรขาคณิต เพราะโจทย์จะให้รูปที่เพี้ยนมา ทำให้แปรผลผิด ดังนั้นต้องสร้างใหม่ จะช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้น และขณะสร้างอาจพบคำตอบไปในตัวด้วย

7. กระดาษทิชชู สองสามแผ่น ใช้สำหรับเช็ดหัวปากกาเพราะขณะเขียนจะมีหมึกเลอะออกมาบ้าง ป้องกันไม่ให้หมึกเลอะกระดาษคำตอบ

8. ผ้าเช็ดหน้า ชนิดแจกบนรถทัวร์ 1 ผืน ชุบน้ำพอหมาด ใช้เช็ดโต๊ะ เก้าอี้ที่เปื้อนฝุ่น จะทำให้นั่งสบาย
และถ้าโต๊ะ หรือเก้าอี้ขาเก จะใช้รองโต๊ะได้

9. น้ำยาลบคำผิด Liquid paper ชนิดคล้ายปากกา 1 อัน ควรเป็นของใหม่หรือค่อนข้างใหม่

10. ทุกอย่าง จะต้องอยู่ในกล่องดินสอ ป้องกันการตกหล่นระหว่างเขียนข้อสอบ

11. ปากกาสีแดง ประโยชน์ของปากกาสีแดงคือใช้ขีดเส้นเพื่อเน้นหัวข้อต่างๆ โดยการขีดสองเส้นเป็นการบอกว่านี่คือหัวข้อหลัก ขีดเส้นเดียวใช้เน้นหัวข้อรอง ส่วนปากกาสีน้ำเงินใช้เน้นหัวข้อย่อยโดยขีดหนึ่ง
เส้น สีดำใช้เติมหรือเน้นคำบางคำ หรือช่วยในการวาดรูป สีเขียวใช้แต่งรอบข้อความสำคัญ

12. ให้ใช้ปากกาแต่ละสีทำหน้าที่เน้นข้อความและหัวข้อต่างกันเสมอ และเป็นระบบเดียวกันเท่านั้น
ห้ามใช้ข้ามสีข้ามระบบ ผู้ตรวจจะเห็นและเข้าใจง่าย และเห็นว่าความคิดของเราเป็นระบบ


การ ใช้เทคนิควิธีการ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้บอกมานี้จะช่วยให้มีพัฒนาการขึ้นอีกลำดับหนึ่ง แต่ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว จะไม่ได้ผลเลย ถ้าไม่ขยัน  ขอให้โชคดี.




17 มิ.ย. 2554 เวลา 22:32 น. 0 32,768
usericon

 วิธี/หลักการอ่านหนังสือฝึกจำ + ทำข้อสอบให้ได้
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ #1 09 มี.ค. 2556 เวลา 19:39 น. 158.108.xxx.xxx
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^