การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ASEAN Toge
โดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่าน
เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางอารีรัตน์ ไตรทาน
ปีที่พิมพ์เผยแพร่ 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ASEAN Together โดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ASEAN Togetherโดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ASEAN Together โดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์และทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ตลอดจนศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน และปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ASEAN Together โดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๙ (วัดเขาคูบา) อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ASEAN Together โดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และแบบประเมินทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและครูต้องการสื่อเอกสารจริง นิทาน สื่อจากอินเทอร์เน็ต มาสร้างเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยต้องการเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มสมาชิกประเทศ ใน ASEAN และต้องการให้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีภาพประกอบที่สื่อความเข้าใจในบทอ่าน ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ รูปเล่มมีขนาดที่พอเหมาะ
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยคำอธิบายการใช้สำหรับครูและนักเรียน ชื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จุดประสงค์ กิจกรรมการเรียนการสอน แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน การสร้างแบบฝึกครั้งนี้ประกอบด้วยเนื้อหาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 เรื่อง มีจุดประสงค์ ของการอ่านแต่ละเรื่อง คือ สามารถอ่านคำศัพท์และบอกความหมายได้ อ่านประโยค ข้อความสั้น ๆ และสามารถบอกรายละเอียดได้ สามารถอ่านเรื่อง นิทาน และตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ สามารถอ่านและถ่ายโอนข้อมูลสู่คำบรรยายหรือเป็นภาพ แผนผัง แผนภูมิและข้อมูลต่าง ๆ ตาม ที่อ่านได้ ส่วนประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่า 84.91/86.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเรื่อง ASEAN Together เป็นเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง และทดสอบวัดผลการเรียนรู้ทางการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนเรียน 1 ชั่วโมง และทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ทางการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียน 1 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 22 ชั่วโมง พบว่านักเรียนรู้สึกชื่นชอบกิจกรรมที่มีอย่างหลากหลาย สนใจและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและรู้สึกสนุกเมื่อเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบศูนย์การเรียนเรื่อง ASEAN Together
4. นักเรียนมีผลการเรียนรู้ทางการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเรื่อง ASEAN Together โดยใช้ทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย หลังเรียนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ทางการอ่านสูงกว่าก่อนการเรียน นักเรียนมีทักษะทางการอ่านอยู่ในเกณฑ์ดี และมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ มีความคิดเห็นว่าภาพประกอบเนื้อเรื่องมีความสวยงาม น่าสนใจสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องที่อ่านมีความน่าสนใจ กิจกรรมที่ใช้ฝึกมีหลากหลาย รู้สึกชอบและสนุกในการเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องการให้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในทักษะอื่น ๆ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขภาษาในประโยคคำสั่งให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ปรับรูปแบบ ขนาดตัวพิมพ์และภาพให้เหมาะกับรูปเล่ม