LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

แผน

usericon

แผนการจัดประสบการณ์
สอนโดย นางสาวนรินทร์ธร บุบผามะตะนัง
สาระที่ควรเรียนรู้ที่ 1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ประกอบการสอน วันที่ 5 หน่วย อาหารดีมีประโยชน์
เรื่อง การจำแนกอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 50 นาที
จัดประสบการณ์วันที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2566 เวลา 9.40 น. – 10.30 น.


สาระสำคัญ
เด็กควรรู้จัก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย มี
สารอาหารครบ 5 หมู่อยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน การที่ร่างกายจะได้รับสารอาหาร
ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ ทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง
สมวัย และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยได้ง่าย แต่หากร่างกาย
ได้รับสารอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่อย่างที่ควรได้รับ อาจทำให้เกิดความผิดปกติบางอย่างได้ เนื่องจากสารอาหาร
หลักในแต่ละหมู่ ก็มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันไป หากขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อ
การทำงานของร่างกาย

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ รักษาความปลอดภัย ของตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ใช้มือ – ตาประสานสัมพันธ์กัน
มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ช่วยเหลือตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เด็กสามารถบอกความสำคัญของการรับประทานให้ครบ 5 หมู่ได้
2. เด็กสามารถจำแนกอาหารที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ได้
3. เด็กสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิด

สาระการเรียนรู้
1. สาระที่ควรเรียนรู้ (เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก)
การเลือกรับประทานอาหาร ควรรับประทาน อาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาด ดื่มนมเป็น
ประจำ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายชนิด ไม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย
2. ประสบการณ์สำคัญ
2.1 พัฒนาการด้านร่างกาย
- การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี สุขนิสัยที่ดีในกิจวัตรประจำวัน
- การจำแนกสิ่งต่างๆ ตามลักษณะ
2.2 พัฒนาการด้านอารมณ์ – จิตใจ
- การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกขณะทำกิจกรรม
- การรู้จักการรอคอย
2.3 พัฒนาการด้านสังคม
- การทำงานร่วมกับเพื่อน
- การปฏิบัติตามกฎกติกาข้อตกลงร่วมกันในการทำกิจกรรม
- การเล่นบทบาทสมมติ
2.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา
- การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
- การฟังเพลง นิทาน ค้าคล้องจอง หรือเรื่องราวต่างๆ
- การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์องตนเอง
- การคัดแยก การจัดกลุ่มและการจำแนกสิ่งต่างๆตามลักษณะ
- การมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล

ชิ้นงาน/ผลงานหรือผลลัพธ์ของผู้เรียน
1.    ใบงานการระบายสีอาหารที่มีประโยชน์ (งานเดี่ยว)

กระบวนการจัดประสบการณ์
ขั้นการจัด
ประสบการณ์    เวลา
ที่ใช้    บทบาทของ
ครู/เด็ก    กระบวนการจัดประสบการณ์
1. ขั้นนำเข้าสู่
บทเรียน    10
นาที    ครู - เด็ก    1.1 ครูให้เด็กนั่งเป็นตัว U ครูเก็บเด็กโดยให้เด็กๆ ปฏิบัติ
ตามคำสั่ง ตบมือ 5 ครั้ง ครั้ง
1.2 ครูทักทายเด็กๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ กล้าพูดและตอบ
คำถาม และมีการสนทนาถึงเรื่องที่เด็กๆ เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
1.3 ครูพาเด็กๆ ท่องคำคล้องจองอาหารหลัก 5 หมู่ และ
ร่วมกันสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อน และครู ถึงอาหารที่เด็กๆ
รับประทานในเช้าวันนั้น หลังจากเด็กสนทนาโต้ตอบ คุณครู
กล่าวชื่นชมและนำเข้าสู่กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2. ขั้นสอน    30 นาที    ครู - เด็ก    2.1 ครูสอนเด็กๆ ถึงอาหารหลัก 5 หมู่ โดยให้เด็กๆ ได้
เรียนรู้ถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละหมู่
2.2 ครูนำสื่อผัก ผลไม้ อาหาร มาจำลองการขายของที่
ตลาด ให้เด็กๆ เลือกซื้อ ว่าเด็กๆ จะเลือกอะไร และสอบถาม
ทีละคนว่าเด็กๆ เลือกซื้ออะไร และสิ่งที่เด็กเลือกมีประโยชน์
หรือไม่
2.3 ครูเล่านิทานตัวอย่างของเด็กที่รับประทานอาหารที่ไม่มี
ประโยชน์ โดยนำตุ๊กตากระต่ายมาเป็นตัวหลักในการเล่านิทาน
เพื่อสร้างแรงกระตุ้นและแรงจูงใจ ให้เด็กๆตื่นเต้นและสนใจ
ในการร่วมทำกิจกรรม ทำให้เด็กๆ ได้ข้อคิดและรู้ถึงโทษของ
การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และข้อดีของการ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2.4 ครูทบทวนความรู้เด็กๆ ด้วยการให้เด็กๆ เลือกอาหาร
คนละ 2 อย่าง และหย่อนลงในกล่องสื่อจำแนกอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
3. ขั้นสรุป    10 นาที    ครู - เด็ก    3.1 เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกประเภทอาหาร
ของเด็กๆ ว่าถูกต้องหรือไม่
3.2 ครูนำบัตรภาพอาหารกลางวันที่ทางโรงเรียนจัดให้ มา
ให้เด็กๆ ดู และร่วมกันสนทนาโต้ตอบถึงสารอาหารที่จะ
ได้รับในอาหารแต่ละมื้อ และร่วมกันสรุปความรู้ โดยให้เด็กๆ
ร่วมแสดงความคิดเห็น และเน้นน้ำให้เด็กๆ ทานอาหารที่
หลากหลายและมีประโยชน์
3.3 ครูให้เด็กๆ ไปเข้าห้องน้ำ และเตรียมตัวทำกิจกรรมอื่นต่อไป
หมายเหตุ เวลาในการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความ เหมาะสม

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. คำคล้องจองอาหารหลัก 5 หมู่
2. สื่อผัก ผลไม้ อาหาร
3. สื่อจำแนกอาหารที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์
4. บัตรภาพอาหารกลางวัน
5. ใบงาน

กระบวนการวัดและประเมินผล
ที่    จุดประสงค์การเรียนรู้    วิธีการวัด    เครื่องมือที่ใช้วัด    เกณฑ์การประเมิน
1    เด็กสามารถบอกความสำคัญของการ
รับประทานให้ครบ 5 หมู่ได้    - สังเกต
- การใช้คำถาม    คำถามสะท้อน
ความคิด    ประเมินจากการตอบ
คำถาม
ผู้ประเมิน
- ครูผู้สอน
2    เด็กสามารถจำแนกอาหารที่มีประโยชน์
และไม่มีประโยชน์ได้    - สังเกต
- การใช้คำถาม
- การนำเสนอ
ชิ้นงาน    - คำถามสะท้อน
ความคิด
- ชิ้นงาน    ประเมินจากการนำเสนอ
ผลงานการจำแนก
ผู้ประเมิน
- ครูผู้สอน
3    เด็กสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ได้หลากหลายชนิด    - สังเกต
- การสนทนา
โต้ตอบ    - คำถามสะท้อน
ความคิด
- ชิ้นงาน    ประเมินจากการสังเกต
การรับประทานอาหารที่
โรงเรียน
และการทำใบงาน
ผู้ประเมิน
- ครูผู้สอน

คำชี้แจง แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การกรอกแบบบันทึกการประเมินผลมาตรฐานการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้ครูผู้สอนประเมิน
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลของนักเรียนที่ถูกต้องจริง เชื่อถือได้ โดยปฏิบัติ ดังนี้
1. ใช้เครื่องมือในการให้คะแนนดังนี้
- การสังเกตฤติกรรมการร่วมกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- กิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รายวัน
2. ให้อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วเขียนตัวเลขลงในช่องที่ตรงกับระดับคุณภาพในแต่ละสภาพที่พึงประสงค์โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนน แบบสังเกตพฤติกรรม
หน่วย อาหารดีมีประโยชน์เรื่อง การจำแนกอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์
พฤติกรรมที่สังเกต    เกณฑ์การตัดสินการผ่านการประเมินผล
    ระดับคะแนน 3
(ระดับคุณภาพดี)    ระดับคะแนน 2
(ระดับคุณภาพพอใช้)    ระดับคะแนน 1
(ระดับคุณภาพควร
ส่งเสริม)
1.เด็กสามารถบอก ความสำคัญของการ รับประทานให้ครบ 5 หมู่ได้    เด็กสามารถบอก
ความสำคัญของการ
รับประทานให้ครบ 5
หมู่ได้ด้วยตัวเอง    เด็กบอกความสำคัญของ
การรับประทานให้ครบ
5 หมู่ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง    เด็กไม่สามารถบอก
ความสำคัญของการ
รับประทานให้ครบ 5
หมู่ได้
2. เด็กสามารถจำแนก
อาหารที่มีประโยชน์
และไม่มีประโยชน์ได้    เด็กสามารถจำแนก
อาหารที่มีประโยชน์
และไม่มีประโยชน์ได้
ด้วยตนเอง และมีความ
มั่นใจ    เด็กสามารถจำแนก
อาหารที่มีประโยชน์
และไม่มีประโยชน์ได้
แต่ยังขาดความมั่นใจ    เด็กสามารถจำแนก
อาหารที่มีประโยชน์
และไม่มีประโยชน์ได้
โดยมีครูคอยกระตุ้นและ
ชี้นำ
3.เด็กสามารถเลือก
รับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ได้หลากหลาย
ชนิด    เด็กสามารถเลือก
รับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ได้หลากหลาย
ชนิด ได้ด้วยตัวเอง    เด็กสามารถเลือก
รับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ได้ด้วยตัวเอง
บ้าง บางชนิด    เด็กสามารถเลือก
รับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อครู
แนะนำ






































ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^