LOAD FREE>>แนวข้อสอบนิติกร กรมควบคุมโรค
แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
1. การกระทำความผิดข้อใดในต่อไปนี้ ไม่ถือว่าได้กระทำลงในราชอาณาจักร
ก. นายเอกได้ชกต่อยนายโท บนเครื่องบินสัญชาติไทย
ข. นายเอได้ยิงนายบี ซึ่งเป็นคนไทยในประเทศอังกฤษ
ค. นายจันทร์ยิงปืนจากฝั่งพม่า มาถูกนายอังคารในฝั่งไทย
ง. นาย ก อยู่ประเทศ จีน ได้ใช้ให้นาย ข ยิง นาย ค ในประเทศไทย
คำตอบ : ข้อ ข. เพราะการกระทำในเรือ/ อากาศยานไทย (ไม่ว่าอยู่ที่ใด) ผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน กระทำนอกราชอาณาจักร แต่ความผิดหลักกระทำในราชอาณาจักร ก็ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
2. นายอาทิตย์ ทำงานเป็นเลขานุการทูตที่ประเทศสิงคโปร์ ได้ยักยอกเงินซึ่งตนมีหน้าที่ดูแลไป ผู้บังคับบัญชาทราบจึงเรียกพบ แต่นายอาทิตย์ กลับเสนอเงินเพื่อปิดปาก ต่อมากระทรวงต่างประเทศร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดี กรณีนี้ต้องรับโทษในราชอาณาจักร หรือไม่
ก. รับโทษในความผิดฐานยักยอก
ข. รับโทษในความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน
ค. รับโทษทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ข
ง. ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร
คำตอบ : ข้อ ก. ความผิดฐานเป็นเจ้าของพนักงานยักยอกเงินตาม ม. 147 เป็นความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 9 เมื่อกระทำผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามที่ระบุได้ย่อมต้องรับโทษในราชอาณาจักร ( มาตรา 9)
3. นายหนึ่งได้ขอยืมเงิน นายสองในขณะที่อยู่ในขณะที่อยู่บริเวณห้องผู้โดยสารขาออกของประเทศอินเดีย นายสองไม่ให้จึงทะเลาะกันขณะนั้นเอง นายหนึ่งได้ถือโอกาสล้วงเอาเงินนายสองไปเมื่อมาถึงประเทศ นายสองได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบถาม นายหนึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักร หรือไม่
ก. ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะไม่ได้กระทำในประเทศไทย
ข. ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะไม่ได้กระทำในอากาศยานไทย
ค. ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะนายหนึ่งเป็นคนไทย และนายสองได้ร้องทุกข์แล้ว
ง. ต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร เพราะห้องผู้โดยสารขาออกถือเป็นเขตสากล
คำตอบ : ข้อ ค. เป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นอกราชอาณาจักร เมื่อผู้กระทำความผิดเป็นคนไทยและผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนผู้กระทำความผิดจึงต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร มาตรา 8 (ก) (8)
4. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการ “ รอการลงโทษ ”
ก. ศาลฟ้องต้องโทษจำคุก เป็นรายกระทง ไม่เกิน 3 ปี
ข. ต้องไม่เคยจำคุกจริงๆมาก่อน
ค. ต้องไม่เคยรอลงโทษจำคุกมาก่อน
ง. ศาลจะใช้ดุลยพินิจเป็นเรื่องๆไป
คำตอบ : ข้อ ค. การรอลงโทษ นั้นแม้จำเลยละเลย รอการลงโทษมาก่อนศาลก็สามารถที่จะรอการลงโทษได้อีกในคดีหลัง
5. ในกรณีใดต่อไปนี้ ศาลไม่สามารถเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน
ก. เคยต้องโทษจำคุกในคดีเจตนา
ข. เป็นคดีลหุโทษ
ค. ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน
ง. เป็นคดีประมาท
คำตอบ : ข้อ ก. หากเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังแทนจำคุกก็ได้
6. ข้อใดมิใช่ความหมายของการกระทำโดยเจตนาทางกฎหมายอาญา
ก. เจตนาประสงค์ต่อผล
ข. เจตนาเล็งเห็นผล
ค. เจตนากระทำต่อผล
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ค. การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สึกในการกระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
7. นายเอก เป็นครูสอนว่ายน้ำ มีหน้าที่ดูแล นักเรียนที่มาเรียนว่ายน้ำ นายเอกเห็นเด็กชายบี กำลังจะจมน้ำ แต่ก็ไม่ได้เข้าไปช่วยเพราะมีเรื่องโกรธเคืองกับบิดาของเด็กชาย บี ดังนั้นนายเอกกระทำความผิดเพราะเหตุใด
ก. ประมาท
ข. ละเว้น
ค. งดเว้น
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ค. นายเอกมีหน้าที่จะต้องดูแลนักเรียนแต่ไม่ช่วย ถือว่าเป็นการกระทำโดยงดเว้น
8. บุคคลใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง ถือว่าเป็นการกระทำประเภทใด
ก. โดยสำคัญผิด
ข. โดยพลาดไป
ค. โดยประมาท
ง. โดยจำเป็น
คำตอบ : ข้อ ข. โดยพลาด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 60
9. นายเอกเห็นรถไฟ บรรทุกคนเต็มโบกี้ นึกสนุกจึงใช้ปืนยิงขึ้นไปบนโบกี้รถไฟ การกระทำของนายเอก ถือว่าเป็นเจตนาประเภทใด
ก. เจตนา โดยประสงค์ต่อผล
ข. เจตนา โดยประมาทเลินเล่อ
ค. เจตนาเล็งเห็นผล
ง. เจตนาโดยพลาดไป
คำตอบ : ข้อ ค. การที่เห็นคนอยู่เต็มโบกี้รถไฟนั้น นายเอกยิงปืนขึ้นไปย่อมที่จะถูกคนได้แน่นนอนดังนั้นจึงเป็นเจตนาเล็งเห็นผล
10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดิน
ก. ลักทรัพย์
ข. ฉ้อโกง
ค. ยักยอก
ง. บุกรุก
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะความผิดฐาน ฉ้อโกง ยังยอก บุกรุก เป็นความผิดอันยอมความกันได้ (เป็นความผิดต่อส่วนตัว) แต่ความผิดฐานลักทรัพย์นั้นยอมความไม่ได้ เพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
11. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
ก. บุคคลที่ถูกกล่าวหา ย่อมถือว่าบริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาว่าผิด
ข. ในกรณีที่ไม่มีหมายจับ ห้ามจับบุคคลใดแม้เป็นความผิดซึ่งหน้า
ค. กฎหมายอาญาที่เป็นโทษแก่จำเลย ไม่มีผลย้อนหลัง
ง. ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้ทนายเข้าฟังการสอบสวน
คำตอบ : ข้อ ข. ในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีอำนาจที่จะจับได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายจับ
12. นาย ก และ นาย ข เป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันหนึ่ง นาย ก โกรธ นาย ข จึงจุดไฟเผ่ารถยนต์คันดังกล่าว ดังนั้น นาย ก ทำความผิดฐานใด
ก. มีความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์
ข. มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ค. มีความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ในส่วนที่คนอื่นเป็นเจ้าของ
ง. ไม่มีความผิด
คำตอบ : ข้อ ง. การที่จะมีความผิด ตาม ม. 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น หากทรัพย์ที่เผานั้น ตนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ก้ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
13. ในกรณีใดต่อไปนี้ที่กฎหมายกำหนดให้การกำหนด ให้การกระทำนั้นเป็นความผิดแต่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
ก. การกระทำโดยพลาด
ข. การกระทำด้วยความจำเป็น
ค. การกระทำเพื่อป้องกัน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำตอบ : ข้อ ข. ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ถ้ากระทำนั้น ม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้วผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
14. แดง ต้องการฆ่า ดำ แต่แดงไม่กล้ายิงดำเอง แดงจึงหลอกขาว ว่าปืนไม่มีลูก ให้ขาวเอาไปยิงดำ เพื่อจะได้ดูว่าดำจะตกใจมากน้อยเพียงใด ขาวไม่ตรวจตราให้ดีก็หลงเชื่อว่าปืนไม่มีลูกจึงเอาไปยิงดำ ปรากฏว่าดำถูกยิงตาย ขาวมีความผิดฐานใด
ก. เจตนาฆ่าดำ
ข. กระทำโดยสำคัญผิด
ค. ฆ่าโดยประมาท
ง. กระทำโดยพลาด
คำตอบ : ข้อ ค. การที่ขาวหลงเชื่อแดง โดยไม่ตรวจตราให้ดี ขาวมัดฐานฆ่าดำโดยประมาท
15. นางสดศรี ต้องการขโมยร่ม นายสุดสวย แต่ไม่กล้าหยิบเอง นางสมศรี จึงหลอกนาง สดใส ว่าร่มนางสุดสวยเป็นร่มของนางสดศรี นางสดใสหลงเชื่อจึงส่งให้ร่มของนางสุดสวยให้นางสุดศรี ดังนั้นนางสดศรีมีความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. ยักยอก
ค. รับของโจร
ง. ไม่มีความผิด
คำตอบ : ข้อ ก. การกระทำของนางสดศรีมีความผิดฐานลักทรัพย์ โดยเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม
ขอขอบคุณที่มาแนวข้อสอบ : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/396