FREE>>แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข (อาชีวอนามัยและความปลอด
1.การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพ คือ ข้อใด
1. Acceptable risk
2. Health Risk Assessment
3. Health Risk Management
4. White Paper on Chemicals
ตอบ ข้อ 3.
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ ใคร
1. นายวิทยา บุรณศิริ
2. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
3. นายมานิต ธีรตันติกานนท์
4. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
ตอบ ข้อ 1.
3. .ในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพควรคำนึงถึงสิ่งใกมากที่สุด
1. ความเป็นธรรมและทั่วถึง ทั่วประเทศ
2. การเข้าถึงการรักษาประชาชนอย่างทั่วถึง
3. การขาดทุนของรัฐบาล
4. ความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
ตอบ ข้อ 4.
4.พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ให้ไว้ ณ วันที่ใด
1. วันที่ 12 มกราคม 2554
2. วันที่ 12 เมษายน 2554
3. วันที่ 12 มิถุนายน 2554
4. วันที่ 12 กรกฎาคม 2554
ตอบ ข้อ 1.
5.กรณีมีเรื่องเกี่ยวกับ โรคระบาด หรือพบเห็น ควรแจ้งกรมควบคุมโรค เบอร์กลางใด
1. 1550
2. 1422
3. 1332
4. 1134
ตอบ ข้อ 2.
6.ข้อใดคือยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่
1. การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ
2.การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3. การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
4. ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ ข้อ 4.
7.ข้อใดไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
1. โรคไข้เหลือง
2. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
3. บาดทะยัก
4. โรคซึมเศร้า
ตอบ ข้อ 4.
8.มีอาการไข้นำมาก่อน ต่อมามีเยื่อบุหนังตาอักเสบ มีอาการคล้ายเป็นหวัด หลอดลมอักเสบและมีจุดสีแดงที่เยื่อบุแก้ม หลังจากมีไข้ประมาณ 3-7 วัน จะมีผื่นปรากฎที่บริเวณหน้า ต่อมาผื่นจะปรากฏทั้งตัวอยู่นาน 4-6 วัน แล้วจะลอกออกไป ปรากฎเป็นสีแดงคล้ำอยู่หลายวัน เป็นโรคอะไร
1. ไข้หัด
2.ไข้หัดเยอรมัน
3. ไข้รากสาด
4. ไข้เหลือง
ตอบ ข้อ 1.
9. โรคติดต่อใดที่กรมอนามัยโลกได้กำหนดให้ประเทศหรือเขตดินแดนติดต่อโรคดังกล่าว ต้องมีความแจ้งข่าวเมื่อมีการเกิดระบาดหรือเป็นโรคประจำท้องถิ่น
1. ไข้หัด
2.ไข้หัดเยอรมัน
3. ไข้รากสาด
4. ไข้เหลือง
ตอบ ข้อ 4.
10. . การป้องกันบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานสารเคมี คือ ข้อใด
1. ไม่ควรให้ผู้ดื่มสุราหรือของมึนเมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี
2. เจ้าของสวนส้มควรส่งพนักงานผู้รับผิดชอบในการปฐมพยาบาล
3. คนงานที่ฉีดพ่นสารเคมีต้องสวมเสื้อผ้า หมวก ถุงมือ
4. มีระบบประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษา
ตอบ ข้อ 1.
11. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากประเทศใดเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ควบคุมและการรักษาพยาบาลด้านโรคจากการประกอบอาชีพโดยเฉพาะโรคพิษสารเคมี
1. สิงคโปร์
2. จีน
3. ญี่ปุ่น
4. เกาหลี
ตอบ ข้อ 2.
12. ในพื้นที่มาบตาพุด พร้อมเก็บพิกัดทางภูมิศาสตร์ พบว่า ประชาชนที่อยู่ในชุมชนดังกล่าวอยู่ในภาวะที่เสี่ยงภัยสุขภาพต่อสารใด ซึ่งมาจากอุตสาหกรรม การจราจรและการขนส่ง
1. สารกัมมันตรังสี
2.ควันพิษจากโรงงาน
3. สารเบนซีน
4. สารตะกั๋ว
ตอบ ข้อ 3.
13.จำนวนประชากรของประเทศ ปี 2550 มี 71 ล้านคน ประกอบไปด้วยผู้มีงานทำร้อยละเท่าไร
1. ร้อยละ 50
2. ร้อยละ 53
3. ร้อยละ 60
4. ร้อยละ 63
ตอบ ข้อ 2.
14. ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
1. ขนาดของปัญหา
2. ความรุนแรงของปัญหา
3. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา
4.การมีส่วนร่วมของหน่วยงานเฉพาะภาครัฐเท่านั้น
ตอบ ข้อ 4.
15.ในภาคเกษตรกรรม โรคใดเป็นอันดับ 1 ของโรคประกอบวิชาชีพเกษตรกรรม
1. สารก่อโรคภูมิแพ้
2. โรคพยาธิใบไม้
3. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
4. โรคไข้มาลาเลีย
ตอบ ข้อ 3.
16.จากภาคเกษตรกรรม ผู้เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีใด มีถึงร้อยละ 29.4
1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
2. สารตะกั่ว
3. สารออร์กาโนฟอสเฟต
4. สารหนูปนปรอท
ตอบ ข้อ 3.
17. ผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม ที่กำลังเป็นปัญหา คือข้อต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
1. สารเคมีรั่วไหลที่คลองเตย มีผู้เสี่ยง 105 ราย
2. การปนเปื้อนสารตะกั่วที่ห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี ผู้เสี่ยง 5,000 ราย
3. การปนเปื้อนของแคดเมียม จ.ลำปาง ผู้เสี่ยง 6,802 ราย
4. สารหนูปนเปื้อน จ.นครศรีธรรมราช ผู้เสี่ยง 28,000 ราย
ตอบ ข้อ 3. แคมเมียมอยู่จ. ตาก
18.ในภาคอุตสาหรรมและภาคบริการ มีผู้ทำงานร้อยละเท่าไรของประเทศ
1. ร้อยละ 50
2. ร้อยละ 53
3. ร้อยละ 57
4. ร้อยละ 60
ตอบ ข้อ 3.
19.ในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายในการเกิดการเสี่ยงในการประกอบอาชีพในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก คือข้อใด
1. ฝุ่นหินดินทราย และสารตะกั่ว
2. สารตะกั่ว สารปรอท และเสียงดัง
3. สารตะกั่ว และสารโคบอลต์
4. ฝุ่นหิน ดินทราย สารตะกั่ว และเสียงดัง
ตอบ ข้อ 4.
20.ในภาคบริการ กลุ่มเป้าหมายในการเกิดการเสี่ยงสำคัญในการให้บริการคือข้อใด
1. เจ้าหน้าที่แพทย์และสาธารสุข
2. ผู้ให้บริการตามสถานที่บันเทิง
3. ผู้ให้บริการนวดแผนไทย
4. ผู้ให้บริการร้านอาหาร โรงแรม
ตอบ ข้อ 1.
21. สารติดเชื้อจากสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย เป็นปัญหาต่อสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลด้านใด
1. ด้านชีวภาพ
2. ด้านกายภาพ
3. ด้านเคมี
4. ด้านจิตสังคม
ตอบ ข้อ 1.
22. เสียง แสงสว่าง ความร้อน การสั่นสะเทือน ฝุ่น เป็นปัญหาต่อสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลด้านใด
1. ด้านชีวภาพ
2. ด้านกายภาพ
3. ด้านเคมี
4. ด้านจิตสังคม
ตอบ ข้อ 2.
23.ข้อใดคือการจัดการด้านสุขภาพ
1. การตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวัง การประสานหน่วยงานภายนอก การรักษา
2. บันทึกข้อมูล การเฝ้าระวัง การตรวจสุขภาพ การรักษา การส่งเสิรม
3. บันทึกข้อมูล การเฝ้าระวัง การตรวจรักษา รักษา การส่งเสริมสุขภาพ
4. การตรวจสุขภาพ การประสานหน่วยงานภายนอก การตรวจรักษา รักษา การส่งเสริมสุขภาพ
ตอบ ข้อ 3.
24.ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของงานบริการอาชีวอนามัย
1. การให้บริการในสถานประกอบการ สถานที่ทำงาน
2. การจัดทีมงานเข้าไปให้บริการในสถานประกอบการ สถานที่ทำงาน
3.การให้บริการโดยแผนกผู้ป่วยนอกของสถานบริการสุขภาพ
4. การให้บริการที่ไม่จำกัดเฉพาะประเภท หรือลักษณะของการทำงาน
ตอบ ข้อ 4.
25. มาตรฐาน และเกณฑ์ชี้วัด กิจกรรมที่ต้องการสำหรับสถานบริการสุขภาพ คือ ข้อใด
1. ด้านบริหารจัดกากร
2. ด้านวิชาการ
3. ด้านบุคคลากร
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ 3.
ขอขอบคุณที่มาแนวข้อสอบ : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/389