((LOAD FREE))แนวข้อสอบ พรบ.ยา 2510
1. ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันได้ให้ผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยาประเภทใดบ้างที่สามารถ ขายยาแผนโบราณได้
1. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
2. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
3. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จฯ
4. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ หรือผู้ที่รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จฯ
2. นายสมชายเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทำการแจกยาแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการขายยาในงานนิทรรศการ เช่นนี้ นาย สมชายสามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
3. ได้ เพราะเป็นการแจก ไม่ได้ขายยา
4. ได้ เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยาแผนโบราณ
3. นายสมศักดิ์ขึ้นทะเบียนตำรับยาเม็ดลูกกลอนยาแผนโบราณไว้ตำรับหนึ่ง โดยระบุว่ามีน้ำหนักเม็ดละ 1 กรัม ต่อมาต้องการลดต้นทุน จึงเปลี่ยนทำน้ำหนักเม็ดยาเป็นเม็ดละ 0.8 กรัม ออกขายโดยไม่ได้แจ้งขอแก้ไขทะเบียนตำรับยา กรณีนี้ นายสมศักดิ์มีความผิดตามกฎหมาย ยาหรือไม่ อย่างไร
1. ไม่เป็นความผิด เพราะไม่ได้แก้ไขสูตรยา
2. เป็น ความผิดฐานทำยาปลอม
3. เป็น ความผิดฐานทำยาผิดมาตรฐาน
4. เป็น ความผิดฐานทำยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
4. ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อผู้อนุญาต เพื่อรับใบแทนใบอนุญาต ภายในกี่วัน
1. 5 วัน
2. 15 วัน
3. 20 วัน
4. 30 วัน
5. ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
1. 15 วัน
2. 20 วัน
3. 25 วัน
4. 30 วัน
6. การกระทำต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการ "ขาย" ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับในปัจจุบัน
1. การขายส่ง
2. การแจกยาเพื่อการค้า
3. การมีไว้เพื่อการขาย
4. ทั้งข้อ 1, ข้อ2, และข้อ 3
7. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
1. โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
2. โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
3. โดยผ่านอินเตอร์เนท
4. โดยแสดงภาพและคำรับรองสรรพคุณของผู้ประกอบโรคศิลปะ
8. ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาเสตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ถือว่าเป็นการผลิต
1. ยาผิดมาตรฐาน
2. ยาปลอม
3. ยาแผนปัจจุบัน
4. ยาอันตราย
9. นายวิบูลย์จะขายยาแผนโบราณที่จังหวัดนนทบุรี จึงได้มายื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต ให้วินิจฉัยว่านายวิบูลย์ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
1. ถูกต้องเพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาตสำหรับการออกใบอนุญาตทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
2. ถูกต้องเพราะการออกใบอนุญาตสำหรับการขายยาผู้อนุญาตอาจเป็นเลขาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
3. ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาในต่างจังหวัดต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
4. ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาคือปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
10. นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยด้วย จะผลิตยาแผนโบราณสูตร ซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีมาก จึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียน ตำรับยากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายสัญญาจะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้หรือไม่
1. ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยา
2. ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ มีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
3. ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
4. ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผู้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา
11. นาย ก. ทำการปรุงยาโดยใส่สเตียรอยด์ผสมด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นความหมายของเภสัชกรรมไทยหรือไม่
1. ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะนาย ก.ใส่เสตียรอยด์ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบัน
2. ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะวิธีดังกล่าวไม่ใช่กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
3. ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะเสตียรอยด์ เป็นยาอันตราย
4. ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะยาดังกล่าวไม่มีสรรพคุณตามหลักเภสัช
12. ข้อใดจัดเป็นยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ.ยา
1. ยาที่มุ่งหมายสำหรับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
2. ยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ
3. ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกต้องแล้ว
4. ยาสมุนไพรที่มุ่งหมายใช้บำบัดโรคสัตว์
13. ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาสเตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ถือว่าเป็นการผลิต
1. ยาผลิตมาตรฐาน
2. ยาปลอม
3. ยาแผนปัจจุบัน
4. ยาอันตราย
14. นายสุดหล้าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ปรุงยาเพื่อขายให้กับผู้ป่วยของตน กรณีใด สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผลิตยาตาม พ.ร.บ.ยา
1. ปรุงยาสูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นเอง
2. ปรุงยาตามตำรับแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
3. ปรุงยาตามหลักที่ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณใช้สืบต่อกันมา
4. ปรุงยาตามตำรับแบบไทย
15. ผู้รับอนุญาตผู้ใดเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ต้องแจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาต ทราบไม่เกินกี่วัน นับแต่วันเลิกกิจการและให้ถือว่าใบอนุญาตหมดอายุตั้งแต่วันเลิกกิจการตามที่แจ้งไว้นั้น
1. 10 วัน
2. 15 วัน
3. 7 วัน
16. พ่อหมอทองหล้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเก็บตัวยาสมุนไพรหลายชนิดมาหั่นและสับเป็นชิ้นๆ ใส่ถุงรวมกัน ปิดฉลากว่า "ยาโลหิตสตรี บำรุงร่างกาย ทำให้เลือดลมดี ประจำเดือนมาปกติ แก้มุตกิด" และนำไปขายในงานวัด พ่อหมอทองหล้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา หรือไม่
1. ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร กฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องขออนุญาตผลิตยา
2. ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร ยังไม่ปรุงเป็นยา
3. ผิด เพราะแสดงสรรพคุณบนฉลากว่าเป็นยา โดยไม่ได้รับอนุญาต
4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
17. การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
1. การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
2. การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
3. การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
4. การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
18. นายโชคขายสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้งๆที่ยังอยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้เพราะ
1. ขายยาโบราณที่เป็นอันตราย
2. นายโชคไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
3. ขายยาตำรับอันตราย
4. ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย
19. ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
1. 15 วัน
2. 20 วัน
3. 25 วัน
4. 30 วัน
20. ผู้ใดผลิตยาปลอมต้องระวางโทษสถานใด
1. จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงห้าหมื่นบาท
2. จำคุกตลอดชีวิต
3. จำคุกห้าปีและปรับห้าหมื่นบาท
4. จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
21. ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่เป็นการขายส่งจะมีโทษสถานใด
1. ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท
2. ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามพันบาท
3. ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
4. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ขอขอบคุณที่มา : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/385