<LOAD FREE>แนวข้อสอบกรมปศุสัตว์ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล
ขอขอบคุณแนวข้อสอบดีๆจาก : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/354
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องของการบริหารงานบุคคล
ก. คือเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ข. คือการจัดงานด้านตัวบุคคล นับตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน
ค. คือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้คนดี มีคุณวุฒิและมีความสามารถ
เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่มาทำงานตามความสนใจพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ง. ทั้งข้อ ก. ข. ค.
ตอบ ง. ทั้งข้อ ก. ข. ค.
2. คำใดที่ใช้ในความหมายเดียวกับ “การบริหารงานบุคคล”
ก. การเจ้าหน้าที่
ข. บุคลาภิบาล
ค. การพนักงาน
ง. ข้อ ก. ข. และ ค.
ตอบ ง. ข้อ ก. ข. และ ค.
3. กิจกรรมใดไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล
ก. การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานในองค์การ
ข. การฝึกอบรม
ค. การจัดงบประมาณในองค์การ
ง. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ ค. การจัดงบประมาณในองค์การ
4. Max Weber มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามทฤษฎีของเขาอย่างไร
ก. สร้างระบบงานโดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
ข. สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการบริหารงานบุคคลมาก
ค. ให้ความสนใจกับ Informal Organization มาก
ง. ทั้งข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ ก. สร้างระบบงานโดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
5. แนวความคิดในการบริหารงานบุคคลที่เรียกว่าเป็นแนว Traditional นั้นคืออะไร
ก. คือแนวที่เรียกว่า Classical Organization
ข. คือการที่มิได้ให้คุณค่าของผู้ปฏิบัติงานในแง่ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์การได้โดยตรง
ค. เป็นเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานและมุ่งหาวิธีที่ดีที่สุด
ง. ข้อ ก. ข. และ ค. ถูก
ตอบ ง. ข้อ ก. ข. และ ค. ถูก
6. การพิจารณาองค์การบริหารโดยพิจารณาโดยตรงไปที่ “มนุษย์”และ “พฤติกรรมของมนุษย์” ในองค์การ
โดยไม่สนใจโครงสร้างขององค์การ เป็นการศึกษาแบบใด
ก. แบบ Neo Classical Theory
ข. แบบ Human Relations
ค. แบบ Scientific Management
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
7. การทดลองค้นคว้าของ Rlton Mayo ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในการบริหารงานบุคคลด้านใด
ก. ทำให้นักบริหารหันมาสนใจตัวบุคคล หรือประสิทธิภาพอันเกิดจากตัวบุคคลในการปฏิบัติงาน
ข. มีผลต่อการบริหารด้านขวัญและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ค. ทำให้นักบริหารเองเอาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารงานบุคคลเป็นส่วนใหญ่
เพื่อประสิทธิภาพการทำงานของคน
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
8. คำว่า “Administration” หมายถึงข้อใด
ก. การรับใช้
ข. การทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยใช้ให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทำ
ค. กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
9. Public Administration ในลักษณะที่เป็นศิลป์ (Art) หมายถึงอย่างไร
ก. การจัดเนื้อหาเป็นระบบระเบียบ สอนกันได้ถ่ายทอดความรู้กันได้
ข. เป็นการปฏิบัติงานหรือบริหารราชการ
ค. เป็นการทำให้นโยบายของรัฐบาลบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ง. ข้อ ข. และ ค.
ตอบ ง. ข้อ ข. และ ค.
10. ฝ่ายการเมือง คือใคร
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. ผู้ดำรงตำแหน่งตามวาระหรือวิถีทางการเมือง
ค. ผู้ดำรงตำแหน่งโดยยึดเป็นอาชีพจากผลการสอบ
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
ตอบ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
11. ฝ่ายประจำ คือใคร
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. ผู้ดำรงตำแหน่งตามวาระหรือวิถีทางการเมือง
ค. ผู้ดำรงตำแหน่งโดยยึดเป็นอาชีพจากผลการสอบ
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.
ตอบ ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.
12. ในการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำนั้นมีหลักการอย่างไร
ก. ฝ่ายการเมืองกำหนดนโยบายและควบคุมการทำงานของฝ่ายประจำให้เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้
ข. ฝ่ายการเมืองต้องขอคำปรึกษาชี้ขาดจากฝ่ายประจำเสียก่อนจึงจะกำหนดนโยบายในการทำงานได้
ค. ฝ่ายการเมืองต้องปล่อยให้ฝ่ายประจำเป็นผู้ชี้ขาดในการกำหนดนโยบายเพราะฝ่ายประจำมี
ความชำนาญงานมากกว่า
ง. ฝ่ายการเมืองต้องรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายประจำเสียก่อนจึงจะกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานได้
ตอบ ก. ฝ่ายการเมืองกำหนดนโยบายและควบคุมการทำงานของฝ่ายประจำให้เป็นไปตามนโยบายที่
วางไว้
13. ฝ่ายประจำมีส่วนช่วยกำหนดนโยบายของฝ่ายการเมืองได้โดยวิธีใด
ก. ช่วยชี้ขาดในการกำหนดนโยบาย
ข. ช่วยให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ สถิติข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ในการทำงานเพื่อให้ฝ่ายการเมืองพิจารณา
แก้ไขปรับปรุงนโยบายที่กำหนดไว้เดิม
ค. ช่วยให้ความคิดเห็นก่อนฝ่ายการเมืองกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงาน
ง. ช่วยให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายการเมืองก่อนกำหนดนโยบาย
ตอบ ข. ช่วยให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ สถิติข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ในการทำงานเพื่อให้ฝ่ายการเมือง
พิจารณาแก้ไขปรับปรุงนโยบายที่กำหนดไว้เดิม
14. สิ่งที่เหมือนกันในการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจก็คือข้อใด
ก. วัตถุประสงค์
ข. ทุนในการดำเนินงาน
ค. กระบวนการปฏิบัติงาน
ง. การคงอยู่
ตอบ ค. กระบวนการปฏิบัติงาน
15. สิ่งที่ต่างกันในการบริหารรัฐกิจ และการบริหารธุรกิจ ก็คืออย่างไร
ก. วัตถุประสงค์
ข. ทุนในการดำเนินงาน
ค. กระบวนการปฏิบัติงาน
ง. ข้อ ก และ ข
ตอบ ง. ข้อ ก และ ข
16. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
ก. ผู้บริหารระดับกลาง – เน้นทักษะในการประสานงาน
ข. ผู้บริหารระดับสูง – กำหนดนโยบาย
ค. ผู้บริหารระดับกลาง – นำเทคโนโลยีเข้ามาในหน่วยงาน
ง. ผู้บริหารระดับต้น – พิจารณาความต้องการของสังคม
ตอบ ง. ผู้บริหารระดับต้น – พิจารณาความต้องการของสังคม
17. สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานของรัฐได้แก่
ก. ค่านิยมของสังคม
ข. เทคโนโลยีของสังคม
ค. ทรัพยากรของหน่วยงาน
ง. การเมือง
ตอบ ค. ทรัพยากรของหน่วยงาน
18. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจต่อผลงานขององค์การเรียกว่า
ก. Feedback
ข. Motivator Factors
ค. Incentive
ง. Outputs
ตอบ ก. Feedback
19. “กิจกรรมที่สังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาและมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกทางใจของ
ผู้ประพฤติ” เรียกว่า
ก. ค่านิยมของสังคม
ข. ประเพณี
ค. ปทัสถานทางสังคม
ง. เทคโนโลยี
20. การสั่งงานตามสายการบังคับบัญชา จัดเป็นการสื่อการเข้าใจแบบใด
ก. upward communication
ข. downward communication
ค. horizontal communication
ง. Two-way communication
ตอบ ข. downward communication
21. ตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ถ้า นาย ก. ได้รับการตอบสนองทางด้านอาหารเต็มที่แล้ว
เขาจะมีความต้องการอะไรต่อไป
ก. ความต้องการทางด้านสังคม
ข. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย
ค. ความต้องการยกย่องสรรเสริญ
ง. ความต้องการที่ได้รับความสำเร็จ
ตอบ ข. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย
22. แนวคิดที่สำคัญของสำนักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ในเรื่องการจูงใจคือ
ก. เงิน
ข. เพื่อน
ค. คำชมเชย
ง. การขู่ลงโทษ
ตอบ ก. เงิน
23. สมมติฐานต่อพนักงานตามแนวทฤษฎี Y นั้น มีทัศนะต่อพนักงานว่าอย่างไร
ก. มนุษย์มีธรรมชาติเป็นคนเกียจคร้าน
ข. มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้
ค. มนุษย์สนใจแต่ตนเอง
ง. มนุษย์ชอบถูกนำมากกว่าที่จะเป็นผู้นำ
ตอบ ข. มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้
24. การที่นักบริหารจูงใจพนักงานโดยการให้ความสำคัญกับเนื้องานศักยภาพและความสามารถของบุคคล
และการมีอิสระในการทำงานนั้น จัดว่าเป็นการจูงใจแบบใด
ก. โดยการใช้ไม้นวมและไม้แข็ง
ข. โดยการใช้ปัจจัยภายนอกงาน (Extrinsic Factor)
ค. โดยการใช้ปัจจัยภายใน (Intrinsic Factor)
ง. โดยการใช้กระบวนการสั่งสมทางสังคม (Socialization)
ตอบ ค. โดยการใช้ปัจจัยภายใน (Intrinsic Factor)
25. การจะวินิจฉัยสั่งการให้ได้ดีนั้น ต้องอาศัยสิ่งใดบ้างต่อไปนี้
ก. สัญชาตญาณ
ข. ความสมถะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลัก
ค. สัมผัสที่หก
ง. การมีความคิดสร้างสรรค์ / จินตนาการ
ตอบ ง. การมีความคิดสร้างสรรค์ / จินตนาการ
26. การวินิจฉัยสั่งการในยุคปัจจุบัน (Behavior Theory) เป็นการตัดสินใจแบบใด
ก. แบบรวมอำนาจ
ข. แบบยึดเอาความพอใจของผู้มีอำนาจเป็นหลัก
ค. แบบยึดถือระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด
ง. แบบการนำเอาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้
ตอบ ง. แบบการนำเอาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้
27. ภารกิจหลักของการบริหารงานบุคคล คืออะไร
ก. กำหนดความต้องการด้านบุคลากรของหน่วยงาน
ข. การตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน
ค. การธำรงรักษา พัฒนาและบริการ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
28. การพรรณนาลักษณะงาน (job description) หมายถึง
ก. กระบวนการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานกิจกรรม วิธีปฏิบัติงาน คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน
ข. ข้อความที่แสดงว่าผู้ปฏิบัติงาน ทำงานอะไร ทำอย่างไรและทำไมจึงทำอย่างนั้น
ค. กระบวนการที่จัดทำขึ้น เพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่างๆ ในองค์การ
ง. ข้อความที่แสดงคุณสมบัติอย่างต่ำของบุคคลที่จะทำงานนั้น
ตอบ ข. ข้อความที่แสดงว่าผู้ปฏิบัติงาน ทำงานอะไร ทำอย่างไร และทำไมจึงทำอย่างนั้น
29. ทรัพยากรการบริหารได้แก่อะไรบ้าง
ก. คนและการจัดการ
ข. เงิน
ค. วัสดุอุปกรณ์
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
30. ในบรรดาทรัพยากรการบริหารทั้งหลายจากข้อ 29 ทรัพยากรใดถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด
ก. วัสดุอุปกรณ์
ข. เงิน
ค. การจัดการ
ง. คน
ตอบ ง. คน