[LOAD FREE]แนวข้อสอบ นักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ ส.ป.ก.
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/351
1. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่าที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ก. พื้นที่ดินทั่วไป
ข. คลอง
ค. ที่ชายทะเล
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หมายความถึงพื้นที่ดินทั่วไป และให้ความหมายรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่าที่ดินมีความหมายกว้างมาก เพราะนอกจากจะหมายความถึงพื้นที่ดินโดยทั่วๆ ไปที่ราษฎรใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพแล้วประมวลกฎหมายที่ดิน ยังให้ความหมายรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ด้วย ซึ่งแม้โดยสภาพจะไม่เป็นพื้นดินธรรมดา เช่น หนองน้ำ บึง ทะเลสาบ เป็นต้น สาเหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะเห็นว่าที่ดินเป็นทรัพย์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น พื้นที่ต่างๆ ดังกล่าวแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีสภาพเป็นพื้นดิน แต่ในอนาคตจะตื้นเขินกลายเป็นพื้นดินขึ้นมาในภายหลังได้ จึงได้บัญญัติครอบคลุมไปถึงไว้ด้วย
2. สิทธิในที่ดิน หมายถึงข้อใด
ก. เฉพาะสิทธิครอบครอง
ข. เฉพาะกรรมสิทธิ์
ค. ทั้งสิทธิครอบครอง และกรรมสิทธิ์
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. สิทธิในที่ดิน หมายถึง กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง
3. ที่ดินมือเปล่า คือที่ดินตามข้อใด
ก. ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดแผนที่
ข. ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดตราจอง
ค. ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น นส.3ก
ง. ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
ตอบ ค. ที่ดินมือเปล่า คือ ที่ดินที่เจ้าของยังไม่มีกรรมสิทธิ์ เช่น นส.3., ส.ค.1, น.ส. 3ก, ใบไต่สวน เหล่านี้เป็นที่ดินมือเปล่า เพราะเจ้าของยังไม่มีกรรมสิทธิ์
4. หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์มีกี่ชนิด
ก. 1 ชนิด
ข. 2 ชนิด
ค. 4 ชนิด
ง. 5 ชนิด
ตอบ ค. หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ มี 4 ชนิด คือ 1) โฉนดที่ดิน 2) โฉนดแผนที่ 3) โฉนดตราจอง 4) ตราจองที่ตราไว้ได้ทำประโยชน์แล้ว
5. บุคคลในข้อใดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว
ก. นาย ก มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นใบจอง
ข. นาย ข มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ค. นาย ค มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นโฉนดที่ดิน
ง. นาย ง มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ตอบ ค. มาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 บัญญัติว่า “ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ” จากมาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าว จะเห็นว่าที่ดินที่ ราษฎรยังมิได้มีกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่าราษฎรยังมิได้มีกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่าราษฎรจะมีสิทธิครอบครองโดยอาจจะหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่าง เช่น ใบจอง ตราจอง หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน หนังสือรับรอง การทำประโยชน์ เป็นต้น แต่มาตรา 2 แห่งกฎหมายที่ดินก็ยังถือว่าที่ดินที่ราษฎรมีสิทธิครอบครองนี้เป็นที่ดินของ รัฐ เพียงแต่รัฐอนุญาตให้ราษฎรมีสิทธิครอบครองแล้วรัฐจะไม่เข้าไปข้องเกี่ยว แต่สิทธิครอบครองที่กล่าวนี้จะต้องเป็นสิทธิครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
6. หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินข้อใด ที่ได้รับตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ก. โฉนดแผนที่
ข. โฉนดตราจอง
ค. ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว”
ง. โฉนดที่ดิน
ตอบ ง. การได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งอาจจะเป็นการได้โฉนดที่ดินโดย การ ที่ทางราชการประกาศออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล หรืออาจจะเป็นการยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย
7. หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามข้อใด ตั้งเมื่อทำประโยชน์ครบ 2 ปี หรือ 3 ปีแล้ว สามารถนำมาขอตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” จากทางราชการได้
ก. ใบเหยียบย่ำ
ข. นส.3
ค. ใบไต่สวน
ง. ส.ค.1
ตอบ ก. ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6)พุทธศักราช 2479 ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้มีการออกใบอนุญาตแก่ผู้มาขอจับจองทำประโยชน์ที่ดินของรัฐเป็นใบเหยียบย่ำหรือตราจอง ซึ่งมีอายุในการทำประโยชน์ 2 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่กรณี เมื่อผู้ขอจับจองได้ทำประโยชน์ครบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้แล้ว ผู้ที่มีตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” จากทางราชการได้
8. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อครองชีพนั้น เมื่อราษฎรทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ เรียกว่าอะไร
ก. ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว”
ข. หนังสือแสดงการทำประโยชน์
ค. หนังสือรับรองการทำประโยชน์
ง. หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน
ตอบ ข. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2551 นั้น ทางราชการได้จัดที่ดินให้ราษฎรเข้าทำกินในที่ดินตามเงื่อนไขและระเบียบของเจ้าหน้าที่ เมื่อราษฎรได้ทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ฉบับหนึ่ง เรียกว่า หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (ไม่ใช่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก) เป็นหนังสือรับรองที่เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์หรือเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แล้วแต่กรณีเป็นผู้ออกให้ เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิไปขอรับโฉนดที่ดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้)
9. ที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หากเจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เป็นระยะเวลาเท่าใด ที่ดินนั้นอาจกลับคืนมาเป็นของรัฐได้
ก. 1 ปี
ข. 3 ปี
ค. 5 ปี
ง. 10 ปี
ตอบ ง. มาตรา 6 นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับบุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนาดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
1. สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน
2. สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะ
ส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือที่ปล่อยให้เป็นที่ร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป”
10. ที่ดินที่ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นอาจกลับมาเป็นของรัฐอีกในกรณีใด
ก. เจ้าของที่ดินเวนคืนให้รัฐด้วยความสมัครใจ
ข. เจ้าของที่ดินที่มีโฉนดที่ดินทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เกิน 5 ปี
ค. เจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกิน 1 ปี
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. ถึงแม้ว่าราษฎรจะมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ดินนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นของรัฐได้อีก พอจะแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. เจ้าของที่ดินเวนคืนให้รัฐโดยความสมัครใจ
2. เจ้าของที่ดินทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า
2.1 สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกิน 10 ปีติดต่อกัน
2.2 สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกิน 5 ปีติดต่อกัน
3. เจ้าของที่ดินถูกทางราชการบังคับเวนคืน
11. ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากเจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เป็นระยะเวลาเท่าใด ที่ดินนั้นอาจกลับคืนมาเป็นของรัฐได้
ก. 1 ปี
ข. 3 ปี
ค. 5 ปี
ง. 10 ปี
ตอบ ค. มาตรา 6 นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับบุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
1. สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน
2. สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิ์ในที่ดิน เฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือที่ปล่อยให้เป็นที่ร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป
12. เมื่อราษฎรได้ครองรองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับได้ไปแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกเอกสารตามข้อใด
ก. หนังสือรับรองการทำประโยชน์
ข. หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน
ค. ใบไต่สวน
ง. ตราจองที่ตราว่า “ ได้ทำประโยชน์แล้ว”
ตอบ ข. หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน หรือ ส.ค. 1 ออกให้ในกรณีที่ราษฎรซึ่งได้ครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลที่ดินใช้บังคับได้ไปแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
13. หนังสือการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว คือข้อใด
ก. ใบเหยียบย่ำ
ข. ใบจอง
ค. ใบไต่สวน
ง. ส.ค.1
ตอบ ข. ใบจองหรือ น.ส.2 ตามมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้ให้ความหมายว่าเป็นหนังสือแสดงการยอมรับให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว ซึ่งรัฐออกให้แก่บุคคลผู้ประสงค์จะได้ที่ดินของรัฐเป็นของตน โดยบุคคลผู้นั้นได้เสนอความต้องการของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็จะอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดินและออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐาน
14. การออกใบจองมีกี่วิธี
ก. 1 วิธี
ข. 2 วิธี
ค. 3 วิธี
ง. 4 วิธี
ตอบ ข. การออกใบจองมีได้ 2 กรณีคือ
1. การจัดที่ดอนจองรัฐให้แก่ประชาชน เรียกว่า การจัดที่ดินผืนใหญ่
2. ที่ดินที่รัฐอนุญาตให้ราษฎรจับจองเรียกว่า การจับจองที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย
15. ผู้ได้รับใบจอง จะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายในเวลาใด
ก. 7 วัน
ข. 15 วัน
ค. 1 เดือน
ง. 6 เดือน
ตอบ ง. ราษฎรผู้ได้รับใบจองเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับใบจอง
ถ้าผู้ถือใบจองไม่เริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับใบจอง ให้เจ้าหน้าที่ในการจัดที่ดินสอบสวนรายงานตามลำดับไปยังอธิบดีกรมที่ดิน เพื่อพิจารณาสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่ดินตามมาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ ใหม่ล่าสุด