LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567

เรื่องสั้น "ได้ใจ...ได้งาน"

usericon

เรื่องสั้น
“ได้ใจได้งาน”
วันหนึ่งประมาณเดือนมีนาคม เวลาประมาณสิบโมงเช้าขณะที่ข้าพเจ้ากำาลังสอนนักเรียนอยู่นั้น จู่ๆ ก็ได้รับจดหมายน้อย ซึ่งมีผู้ส่งสาส์นมายื่นให้เป็นกระดาษสี่เหลี่ยมใบเล็กๆ มีใจความในจดหมายว่า “วิเชียรที่นับถือเธอช่วยเขียนคำาร้องขอย้ายไปดำารงตำาแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนวังปลาชุม ( ชื่อสมมุติ ) เพื่อประโยชน์ของ
ทางราชการ อะไรทำานองนี้” ทั้งตื่นเต้นและสงสัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในขณะนั้นข้าพเจ้าดำารงตำาแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนแห่งหนึ่ง เมื่อพิจารณาความแล้วก็ยังไม่ทราบต้นสายปลายเหตุที่แท้จริงของการย้ายครั้งนี้ แต่ด้วยความเป็น “คนว่านอนสอนง่าย” “ย้ายก็ย้ายครับ” เมื่อยื่นคำาร้องขอย้ายแล้ว ต่อมาไม่นานเท่าไหร่ ผลการ
ย้ายก็เป็นไปตามที่คาดหมาย คือได้ย้ายไปโรงเรียนวังปลาชุมเป็นที่เรียบร้อย และต้องเดินทางไปดำารงตำาแหน่งในต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีคำาถามเกิดขึ้นในใจว่า “มีอะไรเกิดขึ้นกับโรงเรียนแห่งนี้กันแน่” จากนั้นจึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเพื่อนๆและคนที่รู้จัก เมื่อได้ทราบข้อมูลพื้นฐานจึงได้นำามาวิเคราะห์สรุปประเด็นปัญหา ดังนี้
ประการที่หนึ่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำาอยู่ใต้เส้นแดงจากผลการทดสอบระดับชาติ
ประการที่สอง ความขัดแย้งภายในโรงเรียนและชุมชลบางกลุ่ม
ประการที่สาม บรรยากาศในโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ประการที่สี่ นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการศึกษาเล่าเรียน
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ลำาดับความสำาคัญของปัญหาอย่างลุ่มลึก ก็พบว่าแก่นแท้ของปัญหา คือ “ครู” เพราะเป็นตัวแปรต้นหรืดตัวแปรหลัก ถ้าแก้ปัญหาที่ครูได้สำาเร็จปัญหาอื่นๆ ที่จะดีขึ้นแน่นอน ดังนั้นก่อนที่ข้าพเจ้าจะเดินทางไปดำารงตำาแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวังปลาชุม จึงได้กำาหนดและวางแผนการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ดังนี้
๑. เทคนิคการประวิงเวลา
๒. เทคนิคการพูดให้น้อยทำาให้มาก
๓. เทคนิคการคิดข้าวหม้อเดียวกัน
๔. เทคนิคการนิเทศแบบธรรมชาติ
๕. เทคนิคการอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข
๖. เทคนิคการมีส่วนร่วม
๗. เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำานักเรียน
๘. เทคนิคการสร้างจิตสำานึกในการเป็นเจ้าของ
๙. เทคนิคการประสานกาย ใจ ให้เป็นหนึ่งเพื่อพลังกลุ่ม
เพื่อให้มองเห็นภาพกระบวนการคิด และกระบวนการทำางานในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจึงใคร่ขอสาธกยกตัวอย่าง ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง เทคนิคการประวิงเวลา การซื้อเวลาหรือการชะลอเวลาเป็นวิธีการที่ต้องการให้ครูเกิดความตระหนักในบทบาท และความสำาคัญของผู้บริหารในสภาพความเป็นจริงว่า “ระหว่างมีผู้บริหารกับไม่มีผู้บริหารดำารงตำาแหน่งอยู่ในโรงเรียน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร” และประการต่อมาต้องการให้ครูทุกคน
ได้เยียวยาสภาพจิตใจของตนเองเพื่อความพร้อมที่จะต้องทำางานร่วมกัน นี่คือเป้าหมายของ “การประวิงเวลา”
ประเด็นที่สอง เทคนิคการพูดให้น้อยทำาให้มาก สภาพบรรยากาศที่มีความอ่อนไหวง่ายและสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งได้ง่าย การพูดมาก โอกาสผิดพลาดมากกว่าการพูดน้อย “ความสงบมีพลัง”
ประเด็นที่สาม เทคนิคการกินข้าวหม้อเดียวกัน การรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน จะสร้างความคุ้นเคยและไว้เนื้อเชื่อใจเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน “มีทุกข์ ร่วมทุกข์ มีสุข ร่วมเสพ”
ประเด็นที่สี่ เทคนิคการนิเทศแบบธรรมชาติ การนิเทศแบบนี้เป็นการนิเทศความบริบท หลักการสำาคัญคือ คุยได้ทุกเวลา ได้ทุกที่และเป็นธรรมชาติไร้มายา ซึ่งจะได้ “ความจริง” มากกว่าข้อเท็จจริง เมื่อทุกคนกล้าพูดกล้าคุย กล้าแสดงออก การสอดแทรก “เชิงวิชาการ” ก็สามารถกลมกลืนกับ “วงจรการทำางาน” อย่างเป็น
ธรรมชาติ ปรัชญานี้เชื่อว่า “ครูทุกคนเก่งอยู่แล้ว”
ประเด็นที่ห้า เทคนิคการอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข หลักสำาคัญคือ “ผู้บริหารต้องอยู่โรงเรียน” ประมาณว่า“ทำาให้ดูอยู่ให้เห็น”
ประเด็นที่หก เทคนิคการมีส่วนร่วม หลักการสำาคัญทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนรับรู้ รับทราบเป้าหมายขององค์กรร่วมกันเพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อน
ประเด็นที่เจ็ด เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำานักเรียน หลักคิดคือ นักเรียนคือ “ตัวเอก” ที่จะชี้ผลแพ้-ชนะ
ในรูปแบบของการแข่งขัน และการประเมิน ดังนั้น เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ต้องสร้าง หล่อหลอม บ่มเพาะ และปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยที่ดี และมีภาวะผู้นำาที่ดีพร้อมรับ “การเปลี่ยนแปลง”
ประเด็นที่แปด เทคนิคการสร้างจิตสำานึกในความเป็นเจ้าของแยวคิดนี้เชื่อว่า “ถ้าทุกคนมีความรู้สึกว่า มีส่วนในความเป็นเจ้าของในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะรู้สึกหวงแหนและดูแลเป็นอย่างดี”
และประเด็นสุดท้าย เทคนิคการประสานกาย ใจ ให้เป็นหนึ่งเพื่อพลังกลุ่ม ปรัชญานี้เชื่อว่า “ต่างร่างกาย
แต่ใจเดียวกัน” จะเกิดพลังอำานาจและการขับเคลื่อนโรงเรียนอย่างมหัศจรรย์เมื่อได้แนวคิดทิศทางในการแก้ไขปัญหา และฤกษ์งามยามดี ข้าพเจ้าก็เดินทางไปรับตำาแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนวังปลาชุม เมื่อก้าวไปถึงโรงเรียนที่รับรู้ได้ทันทีว่า “ครูใหญ่คนนี้ จะเอาอย่างไรกันแน่?” และประกอบกับข่าวลือ ลมๆ แล้งๆ ว่า “ข้าพเจ้าเป็นคนเข้มงวด กวดขันมาก” ซึ่งปัญหาซ่อนเร้นเหล่านี้ ถ้าหากรับรู้ไม่ทันการก็จะพัฒนาและก่อตัวเป็นปัญหาใหญ่ทันที เนื่องด้วยบรรยากาศที่อ่อนไหวง่ายและไวต่อการเกิดปัญหา การสงบนิ่งดูเหตุการณ์น่าจะเกิดผลดีมากกว่า การกินข้าวหม้อเดียวกันก็ได้ผลจริงทันตา วันหนึ่งครูสตรีท่านหนึ่งได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า “ก่อนหน้านี้พวกหนูเตรียมพร้อมที่จะต่อต้านครูใหญ่แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วค่ะ” “ครูใหญ่เป็นคนดี” ข้าพเจ้ายิ้มและพยักหน้ารับ พลางนึกในใจว่า นี้…คือจุดเริ่มต้นที่ดีจริงๆ “ได้ใจได้งาน”
ภูมิหลังโรงเรียนวังปลาชุม เปิดทำาการสอนแปดห้องเรียนมีครูน้อยครูใหญ่รวมกันหกคน ส่วนข้าพเจ้าก็สอนและเป็นครูประจำาชั้นหนึ่งห้องเรียน ทำางานไปคุยกันไปมีปัญหาอะไรก็นำามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกวันจนกลายเป็นวัฒนธรรมในการทำางาน ปัญหาต่างๆก็แคบลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายได้ข้อสรุปร่วมกันของคณะครู
นักเรียน และชุมชน คือ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นนั่นคือเป้าหมายหลัก และแน่นอนที่สุดครับ กระบวนการคิดและกระบวนการทำางานของทีมงานต้องชัดเจนจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ ในที่สุดปรากฏการณ์ที่เหลือเชื่อในแวดวงของการศึกษาในชนบทห่างไกลก็เกิดขึ้น ณ โรงเรียนวังปลาชุมแห่งนี้ ครูทุก
คนทุ่มเท เสียสละ ขยันขันแข็งในการจัดการเรียนการสอนและดูแลนักเรียนทุกคนเป็นอย่างดียิ่ง ส่วนนักเรียนทุกคนก็ขยันเรียนกระตือรือร้น ใฝ่รู้ใฝ่เรียนดีมาก ดังเหตุการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้
ครูสมใจ (ชื่อสมมุติ)สอนกลุ่ม ป.พิเศษ (ภาษาอังกฤษ) พอถึงเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน คุณครูที่สอนภาษาอังกฤษท่านนี้จะรีบกุลีกุจอไปรับประทานอาหารกลางวัน ใช้เวลาไม่เกินสามสิบนาทีในแต่ละวัน จากนั้นคุณครูท่านก็จะมานั้งที่โต๊ะทำางาน ซึ่งในขณะนั้นนักเรียนก็มายืนรอต่อแถวทิองคำาศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำาอย่างนี้ทุกวัน และปรากฏว่า ผลการสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ วิชาภาษาอังกฤษ (ป.พิเศษ)จากเดิม ๑๗% เพิ่มขึ้น ๗๖% และครูท่านอื่นก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน “ตามธรรมชาติของวิชานั้นๆ” ในที่สุดแล้ว๑๙อานิสงส์ จากความมุ่งมั่น วิริยะ อุตสาหะ และตั้งใจจริง ก็ทำาให้พวกเราบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้กล่าวคือ ผลการสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้คะแนนเป็นอันดับที่ ๑ ในสมัยนั้น เฉลี่ยทุกกลุ่มประสบการณ์ ( x ) เฉลี่ย ๖๗% และนักเรียนสามารถสอบเรียนต่อในโรงเรียนประจำาจังหวัดได้ “เรื่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่อิงนิยาย”

ที่มาจากหนังสือ "ผลึกชีวิต กษิณานุสรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน นายวิเชียร เกตุทอง" หน้า 18-20
ครูวิเชียร เกตุทอง เป็นผู้เรียบเรียงเรื่องราวจากชีวิตจริงของการบริหารงาน
“คิดด้วยปัญญา พัฒนาด้วยใจ คือต้นทุนที่ยิ่งใหญ่ ของนักบริหาร”
25 ต.ค. 2557 เวลา 03:19 น. 0 1,411
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^