แจกฟรีข้อสอบพนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ขอบคุณที่มา : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/52
1. เมื่อวันใดได้มีการประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
ก. วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข. วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ค. วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ง. วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ตอบ ข. วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ใน มาตรา ๒๕๖ มาตรา ๒๕๗
2. รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้แบ่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญออกเป็นกี่ประเภท
ก. แปดประเภท
ข. หกประเภท
ค. สี่ประเภท
ง. สองประเภท
ตอบ ง. สองประเภท
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้แบ่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มี ๔ องค์กร ดังนี้
๑.๑ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
๑.๒ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
๑.๓ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๑.๔ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
๒. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ มี ๓ องค์กร ดังนี้
๒.๑ องค์กรอัยการ
๒.๒ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒.๓ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ มิได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน
3. องค์กรใดต่อไปนี้คือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ก. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
4. องค์กรใดต่อไปนี้คือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
ก. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ง. คณะกรรมการส่วนราชการ
ตอบ ก. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
5. ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
ข. ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี
ง. จำคุกไม่เกินสองปี
ตอบ ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี
มาตรา ๓๕ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๒ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีชื่อย่อว่าอย่งไร
ก. คกช.
ข. กสม.
ค. กมช.
ง. คกม.
ตอบ ข. กสม.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีชื่อย่อว่า กสม.
7. จากเดิมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด ๑๑ คน ปัจจุบันได้มีการปรับให้เหลือเพียงเท่าใด
ก. ห้าคน
ข. เจ็ดคน
ค. เก้าคน
ง. สิบเอ็ดคน
ตอบ ข. เจ็ดคน
องค์ประกอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
กำหนดใคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำนวนลดลง จากเดิมที่มีรวมทั้งสิ้น ๑๑ คน ให้เหลือเพียงเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกหกคน
8. กระบวนการสรรหาและเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แตกต่างจาก รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ในขั้นตอนใด
ก. องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา
ข. วิธีการสรรหาและคัดเลือก
ค. จำนวนผู้ได้รับเลือกเพื่อเสนอชื่อให้วุฒิสภา
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
กระบวนการสรรหาและการเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แตกต่างจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทั้งในขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหา คือองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา วิธีการสรรหาและคัดเลือก รวมทั้งจำนวนผู้ได้รับเลือกเพื่อเสนอชื่อให้วุฒิสภา และในขั้นตอนของวุฒิสภาจากเดิมที่ต้องมีมติเพื่อคัดเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อจากจำนวนยี่สิบสองคนให้เหลือสิบเอ็ดคน เป็นมีมติให้ความเห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาจำนวนเจ็ดคน
9. บุคคลใดต่อไปนี้ที่สามารถเป็นคณะกรรมการสรรหากรรมการได้
ก. รองประธานศาลฎีกา
ข. รองประธานศาลปกครองสูงสุด
ค. อัยการสูงสุด
ง. ทนายความ
ตอบ ค. อัยการสูงสุด
คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย
๑. ประธานศาลฎีกา
๒. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
๓. ประธานศาลปกครองสูงสุด
๔. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
๕. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
๖. บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก จำนวนหนึ่งคน
๗. บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก จำนวนหนึ่งคน
ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จำนวนเจ็ดคน ด้วยมติที่มีการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากโดยวิธีลงคะแนนลับ
10. การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือข้อใด
ก. การลาออก
ข. ลาพักร้อนเกินกำหนด
ค. อายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ง. หยุดงานเกินสามวัน
ตอบ ค. อายุครบเจ็คสิบปีบริบูรณ์
การพ้นตำแหน่ง
นอกจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระและเหตุอื่นแล้ว รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้กำหนดเพิ่มเติมให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ด้วย
11. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือข้อใด
ก. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ข. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลยุติธรรม
ค. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลแรงงาน
ง. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลฎีกา
ตอบ ก. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
อำนาจหน้าที่
กำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ใน ๓ เรื่อง ดังนี้
๑. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีเห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รัฐธรรมนูญ
สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามวรรคหนึ่งนั้น หมายถึงกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น
๒. การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาที่เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
๓. การฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง รวมทั้งการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายได้ โดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และที่กฎหมายบัญญัติตามลำดับ
12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชใด ที่เป็นฉบับแรกที่บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง รวมทั้งการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายได้
ก. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๙
ข. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ค. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๑
ง. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๒
ตอบ ข. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
13. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรกมีตำแหน่งครบวาระเมื่อวันที่เท่าใด
ก. วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ค. วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ง. วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๑๕๕๐
ตอบ ง. วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
14. คณะกรรมการสรรหา ตำแหน่งประธานศาลฎีกาคือใคร
ก. นายวิรัช สิ้มวิชัย
ข. นายชัช ชลวร
ค. นายอัขราทร จุฬารัตน
ง. นายชัย ชิดชอบ
ตอบ ก. นายวิรัช ลิ้มวิชัย
องค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา
1. ประธานศาลฎีกา นายวิรัช ลิ้มวิชัย
2. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายชัช ชลวร
3. ประธานศาลปกครองสูงสุด นายอักขราทร จุฬารัตน
4. ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชัย ชิดชอบ
5. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
6. บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก นายประยูร มูลศาสตร์
7. บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก นายธงชัย ลำดับวงศ์
15. บุคคลใดต่อไปนี้มิใช่คณะกรรมการสรรหา
ก. นายชัย ชิดชอบ
ข. นายชัช ชลวร
ค. นายแท้จริง ศิริพานิช
ง. นายธงชัย ลำดับวงศ์
ตอบ ค. นายแท้จริง ศิริพานิช