แจกแนวข้อสอบ พรบ. แร่ พ.ศ.2510
1. พรบ. แร่ พ.ศ.2510 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. 30 ธันวาคม 2510
ข. 31 ธันวาคม 2510
ค. 26 ธันวาคม 2510
ง. 27 ธันวาคม 2510
ตอบ ข. 31 ธันวาคม 2510
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2510/129/1พ/31 ธันวาคม 2510]
2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “แร่”
ก. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์ที่ไม่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ข. แร่ต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้
ค. แร่รวมถึงถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์ที่ไม่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
แร่ หมายความว่า ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ไม่ว่าจะต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จาก โลหกรรม
3. การเจาะหรือขุด หรือกระทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี เพื่อให้รู้ว่าในพื้นที่มีแร่อยู่หรือไม่เพียงใด คืออะไร
ก. สำรวจแร่
ข. ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน
ค. ทำเหมือง
ง. ขุดหาแร่รายย่อย
ตอบ ก. สำรวจแร่
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
สำรวจแร่ หมายความว่า การเจาะหรือขุด หรือกระทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี เพื่อให้รู้ว่าในพื้นที่มีแร่อยู่หรือไม่เพียงใด
4. ข้อใดไม่ใช่การขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน
ก. การกระทำแก่พื้นที่บกเพื่อให้ได้เกลือใต้ดิน
ข. การกระทำแก่พื้นที่ทางน้ำเพื่อให้ได้เกลือใต้ดิน
ค. การทำเหมืองแร่เกลือหินด้วยวิธีเหมืองละลายแร่
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. การทำเหมืองแร่เกลือหินด้วยวิธีเหมืองละลายแร่
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำเกลือใต้ดิน แต่ไม่รวมถึงการทำเหมืองแร่เกลือหินด้วยวิธีเหมืองละลายแร่
5. ใครเป็นผู้ประกาศเขตอำนาจเหมืองแร่
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค. อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
ง. รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ ง. รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
เขตควบคุมแร่ หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งรัฐมนตรีประกาศเป็นเขตควบคุมแร่
6. ข้อใดคืออาชญาบัตรสำรวจแร่
ก. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อผูกขาดสำรวจแร่ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น
ข. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อสำรวจแร่ภายในท้องที่ซึ่งระบุในหนังสือสำคัญนั้น
ค. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำเหมืองก่อนได้
ง. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำเหมืองภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น
ตอบ ข. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อสำรวจแร่ภายในท้องที่ซึ่งระบุในหนังสือสำคัญนั้น
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
อาชญาบัตรสำรวจแร่ หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อสำรวจแร่ภายในท้องที่ซึ่งระบุในหนังสือสำคัญนั้น
7. ข้อใดคือ ตะกรัน
ก. สารประกอบหรือสารพลอยได้อื่นใดที่เกิดจากการประกอบโลหกรรม
ข. เปลือกดิน
ค. ทราย กรวด
ง. หินที่เกิดจากการทำเหมือง
ตอบ ก. สารประกอบหรือสารพลอยได้อื่นใดที่เกิดจากการประกอบโลหกรรม
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
ตะกรัน หมายความว่า สารประกอบหรือสารพลอยได้อื่นใดที่เกิดจากการประกอบ โลหกรรม
8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัด
ก. ต้องเป็นพื้นที่อยู่ในตำลบเดียวกัน อำเภอเดียวกัน และจังหวัดเดียวกัน
ข. ต้องเป็นพื้นที่จังหวัดที่อยู่ในภาคเดียวกัน
ค. ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่อยู่ในตำลบเดียวกัน อำเภอเดียวกัน และจังหวัดเดียวกัน
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่อยู่ในตำลบเดียวกัน อำเภอเดียวกัน และจังหวัดเดียวกัน
มาตรา 5 การจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหรือสำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอโดยจะให้มีเขตอำนาจตลอดเขตใด ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
ในการกำหนดเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัด จะกำหนดให้ตำบล หรืออำเภอใดรวมอยู่ในเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหนึ่ง ก็ให้กระทำได้โดยมิต้องคำนึงว่าตำบลหรืออำเภอนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกันหรือไม่
9. คุณสมบัติของผู้ขอ หลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนไขการขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตรและใบอนุญาต ตลอดจนการต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่และใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใด
ก. กฎหมายใบอนุญาต
ข. กฎกระทรวง
ค. กฎอธิบดีทรัพยากรธรณี
ง. กฎรัฐมนตรี
ตอบ ข. กฎกระทรวง
มาตรา 6 วรรคสอง
คุณสมบัติของผู้ขอ หลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนไขการขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตรและใบอนุญาต ตลอดจนการต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่และใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
10. ในมาตรา 4 พรบ.แร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามใด
ก. สถานที่ฝากแร่
ข. มีแร่ไว้ในครอบครอง, เรือขุดหาแร่ , เขตควบคุมแร่ และ ผู้อำนวยการ
ค. แร่ และ ทำเหมือง
ง. น้ำเกลือใต้ดิน
ตอบ ก. สถานที่ฝากแร่
ขอบคุณที่มา : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/25