การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่ง
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นายเชาวลิต สาตร์นอก ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม( Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “MRACPE Model” โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1 การสร้างแรงบันดาลใจ(Motivation) 2) การแสวงหาความรู้ (Research 3)การวิเคราะห์และออกแบบ (Analysis and Design)4)การสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Create)5)การนำเสนอและวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์(Present and Constructive critism) และ 6) การประเมินและส่งเสริม (Evaluate and Promote) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน (IOC=1.00)และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2)แบบกลุ่มใหญ่(Field Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 84.26/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ยอมรับสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยอมรับสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2
3. ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยอมรับสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 3
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เท่ากับ 0.57
**ท่านใดที่สนใจ คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ติดต่อได้ที่ chao2010@hotmail.com