รายงานการพัฒนาแบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายศักดิ์ดา อุณหพิเชษฐวัฒนา
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดหลวงราชาวาส สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2554
การวิจัยการพัฒนาแบบฝึกคณิตศาสตร์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการสอน โดยการใช้แบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม
3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 37 คน ซึ่งกำลังเรียนอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาลวัดหลวงราชาวาส สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย1) แบบฝึกคณิตศาสตร์เรื่องระบบจำนวนเต็มซึ่งมีประสิทธิภาพ 82.16/80.38 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องระบบจำนวนเต็ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00
ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.35 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.65 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกคณิตศาสตร์
ที่มีค่าความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพ 82.03/80.45 ซึ่งเท่ากับเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการสอน
โดยการใช้แบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกคณิตศาสตร์ได้ค่าเท่ากับ 0.63 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.5
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกคณิตศาสตร์
พบว่านักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับ
พึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน