รายผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ของโ
ของโรงเรียนบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ผู้รายงาน นายเกียรติศักดิ์ คำทอง
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
รายผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ของโรงเรียนบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รายผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ของโรงเรียนบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2554 และ 2555 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ของโรงเรียนบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางละมุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 185 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางละมุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 160 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 345 คน โดยจำนวน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คำนวณหาโดยวิธีประมาณขนาดกลุ่มของทาโรยามาเน (Taro.Yamane) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05..เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ประกอบด้วย โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ของโรงเรียนบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 8 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการดำเนินงานตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 นักเรียนร้อยละ 87.48 มีศักยภาพการอ่าน คิด เขียน สื่อสาร มีความสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดขั้นสูง รวมทั้งทักษะชีวิตและทักษะ การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
1.2 นักเรียนร้อยละ 92.13 มีจิตสาธารณะ รักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 ผู้บริหารและครูร้อยละ 100 เป็นผู้บริหารและครูมืออาชีพ มีสมรรถนะตามมาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษาและครูตามประกาศของคุรุสภา
1.4 สถานศึกษามีระบบมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มีความพร้อมในการบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนสู่มาตรฐานสากล พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และรับการประเมินภายในจากหน่วยงานต้นสังกัดและการประเมินภายนอกจาก สมศ. ในรอบที่สี่ ระดับคุณภาพดีมาก
1.5 สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความช่วยเหลือเกื้อxxxลในการดำเนินการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับคุณภาพดีมาก
1.6 สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบูรณาการ ICT ให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลาย ระดับคุณภาพดีมาก
1.7 สถานศึกษามีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้สร้างสรรผลงาน เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ระดับคุณภาพดีมาก
1.8 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างยั่งยืน มีระบบการนิเทศภายในที่เข้มแข็ง รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ระดับคุณภาพดีมาก
2. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2555
2.1 ผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2555 พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 45.82 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับจังหวัด เท่ากับ 43.97 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เท่ากับ 44.66 และระดับประเทศ เท่ากับ 42.43 สรุปว่า คะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับจังหวัด ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และระดับประเทศ
2.2 ผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2555 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 38.75 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับจังหวัด เท่ากับ 39.10 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เท่ากับ 38.84 และระดับประเทศ เท่ากับ 36.70 สรุปว่า คะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ แต่ต่ำกว่าระดับจังหวัด และระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
2.3 ผลการเปรียบเทียบผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างปีการศึกษา 2554 กับปีการศึกษา 2555 โดยรวมพบว่า มีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2554 เท่ากับ 1.70 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า มีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้น 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนามากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ค่าพัฒนาเท่ากับ 6.54 รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าพัฒนาเท่ากับ 6.31 และ 5.63 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาลดลง คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาลดลงมากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าพัฒนาลดลงเท่ากับ -4.23 รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีค่าพัฒนาลดลงเท่ากับ -3.65 และ -1.87 ตามลำดับ
2.4 ผลการเปรียบเทียบผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2554 กับปีการศึกษา 2555 โดยรวมพบว่า มีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2554 เท่ากับ 2.43 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า มีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้น 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยกลุ่มสาระ การเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนามากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าพัฒนาเท่ากับ 6.51 รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีค่าพัฒนาเท่ากับ 6.44 และ 4.40 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาลดลง คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาลดลงมากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าพัฒนาลดลงเท่ากับ -1.60 รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา มีค่าพัฒนาลดลงเท่ากับ -1.21
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.62)