ผลการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ รายวิชาภาษาจีน โดยใช้สื่อประสม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา
ชื่อผู้วิจัย นายสมชนก หลอดคำ ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
จากการดำเนินการวิจัยเรื่อง ผลการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ รายวิชาภาษาจีน โดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพในการพัฒนาจดจำคำศัพท์รายวิชาภาษาจีน โดยใช้สื่อประสม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลัง ในพัฒนาการจดจำคำศัพท์รายวิชาภาษาจีน ด้วยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการรู้ในพัฒนาการจดจำคำศัพท์รายวิชาภาษาจีน ด้วยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทางผู้วิจัยใช้ในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมดเป็นจำนวน 6 เครื่องมือ ดังนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนเรื่อง你喜欢什么动物? จำนวน 9 แผน แบบประเมินคุณภาพและแบบบประเมินความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน เรื่อง你喜欢什么动物?โดยผู้เชี่ยวชาญ (2) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน จำนวน 5 ชุด และแบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินความสอดคล้องของแบบฝึกหัดระหว่างเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ (3) แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน 30 ข้อ จำนวน 1 ชุด และแบบประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (4) นวัตกรรมการสอนสื่อประสมที่ใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้รวมทั้งแบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ชุด ได้แก่ (4.1) สื่อบัตรคำศัพท์ป๊อบอัพผีเสื้อ จำนวน 1 ชุด (4.2) สื่อบัตรคำศัพท์การ์ดสไลด์ จำนวน 1 ชุด (4.3) สื่อเพลงแรป 动物 จำนวน 1 ชุด (4.4) สื่อเกมเปิดแผ่นป้าย (4.5) สื่อมัลติมีเดีย จำนวน 1 ชุด และ (5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง你喜欢什么动物?จำนวน 15 ข้อ และแบบวัดสอดคล้องของของข้อคำถามความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การหาค่า IOC การทดสอบการเปรียบเทียบค่าเฉลยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired-Sample T-Tests) การคำนวณหาประสิทธิภาพ การคำนวณหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพในการพัฒนาจดจำคำศัพท์รายวิชาภาษาจีน โดยใช้สื่อประสมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.08/85.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ซึ่งผลของค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลัง ในพัฒนาการจดจำคำศัพท์รายวิชาภาษาจีน ด้วยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.27 คะแนน และแบบทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 25.62 คะแนน และผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าทีเท่ากับ 20.41 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้คะแนนที่สูงกว่าแบบทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการรู้ในพัฒนาการจดจำคำศัพท์รายวิชาภาษาจีน ด้วยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ซึ่งมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด